วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

หัวข้อรายงานส่วนบุคคล(สวนสุนันทา : มรดกวัฒนธรรมบนเกาะรัตนโกสินทร์)

ให้นักศึกษาแต่ละคนส่งหัวข้อรายงานส่วนบุคคลตามรูปแบบต่อไปนี้
"..............................." (ชื่อเรื่อง) โดย(นาย/นางสาว)........................................... รหัส...............................
กำหนดส่งภายใน 18.00 น. ของวันจันทร์ที่ 22 กันยายน 2551 หากเลยกำหนดหรือมีหัวข้อซ้ำกับคนที่ส่งก่อนจะตัดคะแนนวันละ 2 คะแนน
หากนักศึกษาคนใดจัดทำรายงานส่วนบุคคลเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรุณานำส่งผ่าน blog ในหัวข้อ หนังสือ สวนสุนันทา : มรดกวัฒนธรรมบนเกาะรัตนโกสินทร์ ได้เลยค่ะ หลังจากอาจารย์ตรวจให้เรียบร้อยแล้ว ให้จัดการรวมเล่มกันทั้งช้นเรียน เป็นหนังสือ 1 เล่ม ออกแบบปก จัดทำ คำนำ สารบัญ บรรณานุกรม เข้าเล่มแล้วนำส่งอาจารย์ในวันสอบ หากใครนำส่งช้าและเป็นภาระของห้องอาจต้องโดนตัดคะแนน และถ้าใครส่งเร็จจะได้รับการพิจารณาคะแนนเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ รายงานชิ้นนี้มีทั้งคะแนนเดี่ยว และคะแนนรวมทั้งห้อง คะแนนเดี่ยวจะพิจารณาบทความเป็นรายบุคคล ส่วนรายงานรวมทั้งห้องจะพิจารณารูปเล่มเอกสาร ขอให้นักศึกษาร่วมมือร่วมใจกันจัดทำให้เป็นหนังสือที่น่าอ่าน และสมบูรณ์ทั้งการจัดรูปเล่ม เนื้อหา ภาพประกอบ โดยจัดกองบรรณาธิการรับผิดชอบการจัดทำหนังสือด้วย เพื่อช่วยพิจารณาแต่ละเนื้อหาพร้อมภาพประกอบ และแหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมด ขอให้เอกสารเล่มนี้เป็นความภาคภูมิใจของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม รุ่น 5 ด้วยค่ะ

68 ความคิดเห็น:

gift กล่าวว่า...

อาหารในวังสุนันทา(น้ำพริกมะขามสดผัด)โดย
น.ส จิราภรณ์ อ่วมพรม รหัส51123407028

อาหารในวังสุนันทา(ปลาทูต้มเค็มอย่างเนื้อแข็งก้างเปื่อย) โดย น.ส ศิริพร เสื้อยศ
รหัส 51123407017

siriporn กล่าวว่า...

น้ำพันช์แก้วเจ้าจอม
โดย น.ส ชญานี สรสมศักดิ์
รหัส 51123407014

Jutharat กล่าวว่า...

เครื่องหัตถกรรมชาววัง

โดย : นส. ปภัสรา อุ่นเอมใจ[51123407030]
= เครื่องปั้นดินเผา
โดย : นส.จุฑารัตน์ ชยประสิทธิ์[51123407030]
= เครื่องสังคโลก

*ปล. เครื่องหัตถกรรมชนิดอื่นๆ สืบค้นข้อมูลร่วมกัน

siriporn กล่าวว่า...

น้ำพันช์แก้วเจ้าจอม
โดย น.ส ชญานี สรสมศักดิ์
รหัส 51123407014

boazz กล่าวว่า...

นางสาว ชญานี สรสมศักดิ์
รหัส : 51123407014
เรื่อง : ไทยเล็งให้สัตยาบันคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม
เนื้อหา : นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการฝ่ายวัฒน ธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ (Unesco) เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาอนุสัญญาของยูเนสโก 3 ฉบับ ได้แก่ 1. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทาง วัฒนธรรมที่อยู่ใต้น้ำ 2. อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมหรือจับต้องไม่ได้ และ 3.อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม
ซึ่งที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าการจะ ให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคีของยูเนสโกในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อดีและข้อเสียก่อน โดยจะมีการทำประชาพิจารณ์และจัดเสวนารับฟังความคิด เห็นจากนักวิชาการก่อน หลังจากนั้นจะส่งให้กระทรวงการต่างประเทศนำไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจต่อไป

ปลัด วธ.กล่าวต่อไปว่า ข้อดีของการให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวจะช่วยคุ้มครองสมบัติของชาติ โดยเฉพาะสมบัติที่อยู่ใต้ทะเล ซึ่งแต่ละประเทศก็มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่จะปกป้องน่านน้ำของตน เมื่อเรือสินค้าของประเทศนั้น ๆ จมลงในอีกประเทศหนึ่งที่อยู่ในภาคีก็จะได้รับการคุ้มครองสมบัติในเรือ แต่ข้อเสียเปรียบก็คือบางประเทศที่อยู่ในภาคีอาจเรียกร้องศิลปวัตถุของตนกลับคืน ทั้งนี้ปัจจุบันมี 60 ประเทศที่ให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว จากจำนวนสมาชิกของยูเนสโกที่มีกว่า 160 ประเทศ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา กลับยังไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวแต่อย่างใด

“ทางกระทรวงวัฒนธรรมยังแจ้งต่อที่ประชุมด้วยว่า กำลังเตรียมเสนอชื่อนายเอื้อ สุนทรสนานต่อทางยูเนสโกเพื่อยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นสำคัญทางวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล อันเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ในวาระครบรอบ 100 ปีครูเอื้อ ในปี 2552 ทั้งนี้ครูเอื้อมีผลงานการแต่งเพลงไทยสากลมากกว่า 1,000 เพลง เช่น เพลงวันลอยกระทง และเพลงวันสงกรานต์ เป็นต้น นอกจากนี้ทาง วธ.ยังให้การสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ได้เสนอพระนามพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท (ต้นราชสกุลสนิทวงศ์) ให้ยูเนสโกประกาศยกย่องในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสำคัญที่มีพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองในด้านวรรณกรรม การศึกษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การแพทย์ การสาธารณสุข และการให้คำปรึกษาราชการแผ่นดิน เนื่องในวาระครบรอบ 200 ปีวันประสูติในปี 2551” ปลัดวธ.กล่าว...
ที่มา : ข้อมูลจาก เดลินิวส์

BebeekunG กล่าวว่า...

ผู้ก่อตั้ง (รัชกาลที่ 5)โดย นางสาว รมิดา ดุสิตดำรงศีล
รหัส 51123407024

อาหารในวังสุนันทา(ข้าวแช่)โดย นางสาว ศิริรัตน์ ศศิพงศาธร รหัส 51123407020

เครื่องแต่งกาย(หญิง)โดย นางสาว เนตรทราย จิตรักมั่น รหัส 51123407021

Fenrin กล่าวว่า...

ความเชื่อเรื่องการไหว้แม่
โดย นายเอกสิทธิ์ วูฒิประเสริฐพงศ์
รหัส 51123407035

ภวิศา กล่าวว่า...

พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
น.ส.ภวิศา สงคราม
51123407019

น.ส.รุ่งทิวา แห่สันเทียะ กล่าวว่า...

พระประจำมหาวิทยาลัย
โดย น.ส.รุ่งทิวา แห่สันเทียะ รหัส 51123407037

NuOuMiiZ กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ตำหนักที่ 12 เจ้าจอมเอิบ บุนนาค
โดย นายณัฐกฤษณ์ นิตย์แสวง
รหัส 51123407005

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ตำหนักที่ 15 เจ้าจอมอาบ บุนนาค
โดยนายณัฐกร พวงทอง
รหัส 51123407006

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ตำหนักที่ 19 เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค
โดย นายสมาธิ ปานทอง
รหัส 51123407007

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ตำหนักที่ 17 เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค
โดย น.ส.ฉวีวรรณ ประดับบรรจง
รหัส51123407013

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ตำหนักที่ 22 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระเจ้าพิศมัยพิมลสัตย์ โดย น.ส.เพ็ญนภา โกจำนงค์
รหัส 51123407016

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ตำหนักที่ 28 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงมาลินีนพดารา สิรินิภาพรรณวดี
โดย น.ส.อารีรัตน์ กุศลศิลป์
รหัส 51123407018

ตำหนักที่ 27 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงนิภานพดลวิมลประภาวดี
โดย นายกฤตยศ ปี่บัว
รหัส 51123407029

ตำหนักที่ 20 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพยนิภา
โดย นายพงศธร พันธ์จินดา
รหัส 51123407031

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ตำหนักที่ 24 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์หญิงวรลักษณาวดี
โดย นายสุชาติ ศรีสว่าง
รหัส 51123407009

ลูกปลา กล่าวว่า...

"เนินแม่"

โดย นางสาว ปนัดดา นิ่มนวล

รหัส 51123407002

ลูกปลา กล่าวว่า...

"หอพระ"

โดย นางสาว ภัทราภรณ์ ศรีเจริญ

รหัส 51123407003

NuT กล่าวว่า...

อาหารในวังสุนันทา(ขนมทองเอก)โดย

นายณัฐวุฒิ แฝงคด รหัส 51123407015

nanniiez กล่าวว่า...

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

น.ส.พรประภา ทรัพย์โภค รหัส 51123407010
นาย วาสุเทพ รหัส 51123407008

nanniiez กล่าวว่า...

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ตำหนักที่ 9

นางสาวพณิตา อุ่นกาศ
รหัส 51123407026

nanniiez กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
nanniiez กล่าวว่า...

น.ส.กุลธิดา เพ็ชรโปรี
รหัส : 51123407011
จาก : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
ตำหนักที่ 25

แก้ไขเป็น:เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์
ตำหนักที่ 26

sasiwan muangwong กล่าวว่า...

พระนางเรือล่ม

โดย นางสาวศศิวรรณ เมืองวงษ์

รหัส 51123407027

sasiwan muangwong กล่าวว่า...

น้ำพริกลงเรือตำรับพระราชวังสวนสุนันทา

โดย นางสาวรังสิยา อโณทัยนาท

รหัส 51123407023

nam_club กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
nam_club กล่าวว่า...

พระพุทธสุนันทากร
โดย น.ส ฐิติธร เต็มวรพิศุทธิ์
รหัส 51123407025

nam_club กล่าวว่า...

สีประจำสถาบัน
โดย น.ส. วัชราภรณ์ วงศ์สุวรรณ
รหัส 51123407022

ToN กล่าวว่า...

ที่ตั้ง โดย นายศราวุธ นามขันธ์
รหัส 51123407001

ToN กล่าวว่า...

ดอกแก้วเจ้าจอม
โดย นายศิวรุจ โปร่งจิต
รหัส 51123407038

Tae SoSaD กล่าวว่า...

นาย ณัฐกฤษณ์ นิตย์แสวง
รหัส 51123407005

หัวข้อ หนังสือ สวนสุนันทา : มรดกวัฒนธรรมบนเกาะรัตนโกสินทร์

หัวข้อเรื่อง : เจ้าจอมเอิบ บุนนาค
เนื้อหา :เจ้าจอมเอิบ บุนนาค (22 เมษายน พ.ศ. 2422 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2487) เป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออที่ทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ
เจ้าจอมเอิบ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2422 เป็นบุตรคนที่ 11 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่(สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน
เจ้าจอมเอิบเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2434 เมื่ออายุได้ 12 ปี เนื่องจากเจ้าจอมเอิบนั้นเป็นผู้ที่มีสิริโฉมงดงาม(ดูได้จากภาพถ่ายของท่าน เจ้าจอม ที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน มีอยู่หลายภาพที่เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ท่านเป็นผู้ที่หน้าตาและรูปร่างงดงามเพียงใด)กล่าวกันว่า ท่านเจ้าจอมเอิบนั้นมีคุณสมบัติตรงตามตำราหญิงงามอันเป็นที่นิยมแห่งยุคสมัย นั้นทีเดียว กล่าวคือที่หน้าตาที่อ่อนหวาน งดงามเยือกเย็น กล่าวกันอีกว่าท่อนแขนของท่านเจ้าจอมเอิบ นั้นงดงามกลมกลึง ราวกับลำเทียน เนื่องจากท่านเป้นคนที่มีรูปร่างไม่ผอมไป หรืออ้วนเกินไป หากแต่อวบและมีน้ำมีนวล กล่าวโดยสรุปคือ ท่านเจ้าจอมเอิบนั้น มีความงามแห่งรูปโฉม และกิริยาที่สอดคล้องกับความนิยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก) จึงเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิเศษ ได้ตามเสด็จไปแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 เป็นผู้ถวายงานอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งสิ้นรัชกาล เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอี่ยม ผู้เป็นพี่สาวแท้ๆ
เจ้าจอมเอิบ มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพ และล้างรูปได้ด้วยตัวเอง เป็นช่างภาพสมัครเล่นในราชสำนัก ซึ่งได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายหลายพระองค์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมเอิบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนสามเสน โดยท่านได้สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กออ(รวมทั้งตัวท่านด้วย ต่างได้รับพระราชทานกันคนละแปลง เป็นสัดส่วน เรียกว่า "สวนนอก"(แต่ละสวนจะมีชื่อเรียกต่างๆกันไป วังของเสด็จพระองค์หญิงทั้งสองพระองค์พระราชธิดาในท่านเจ้าจอมมารดาอ่อนนั้น มีชื่อเรียกอย่างเป้นทางการว่า วังสวนปาริจฉัตก์ หรือ สวนท่านอ่อน ส่วนที่เป็นของท่านเจ้าจอมน้องๆทั้งสี่ท่านที่เหลือ ก็เรียกว่า สวนท่านเอิบ สวนท่านอาบ สวนท่านเอื้อน และสวนท่านเอี่ยม ตามลำดับ
ท่านเจ้าจอมเอิบ(พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๕) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ที่บ้านราชบูรณะ สิริอายุ 65 ปี

อ้างอิง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

• กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕ -- กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. (ISBN 974-7383-97-7)
• วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก -- กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. (ISBN 874-341-471-1)
• กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ -- กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. (ISBN 974-93740-5-3)

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

นาย อนุชา สายอรุณ
รหัส : 51123407004
จาก : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
ตำหนักที่ 25

Jaydar กล่าวว่า...

นาย อนุชา สายอรุณ
รหัส 51123407004

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
ข้อมูล
วันประสูติ 12 มกราคม พ.ศ. 2435
วันสิ้นพระชนม์ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515
พระอิสริยยศ พระองค์เจ้า
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดา เจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุล
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี


แถวล่างพระองค์ที่3พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี ประสูติวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2435 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุล เดิมพระองค์ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้ามัณฑนาภาวดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี เมื่อวันที่ 8 มกราคม ร.ศ. 117 ขณะพระชันษาได้ 6 ปี[1] [2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี สิ้นพระชนม์วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ด้วยพระโรคพระวักกะพิการ [2] พระชันษา 80 ปี

Jaydar กล่าวว่า...

นาย อนุชา สายอรุณ
รหัส 51123407004

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
ข้อมูล
วันประสูติ 12 มกราคม พ.ศ. 2435
วันสิ้นพระชนม์ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515
พระอิสริยยศ พระองค์เจ้า
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดา เจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุล
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี


แถวล่างพระองค์ที่3พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี ประสูติวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2435 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุล เดิมพระองค์ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้ามัณฑนาภาวดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี เมื่อวันที่ 8 มกราคม ร.ศ. 117 ขณะพระชันษาได้ 6 ปี[1] [2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี สิ้นพระชนม์วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ด้วยพระโรคพระวักกะพิการ [2] พระชันษา 80 ปี

จาโบ้ฮวง กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
จาโบ้ฮวง กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
watt กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
watt กล่าวว่า...

นาย ศิวรุจ โปร่งจิต
รหัส 51123407038
หัวข้อ ดอกแก้วเจ้าจอม

เนื้อเริ่อง ดอกไม้สัญลักษณ์ประจำสถาบัน คือ ดอกแก้วเจ้าจอม ต้นแก้วเจ้าจอมเป็นไม้ดอก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมาปลูกในบริเวณสวนสุนันทา ได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศชวา (อินโดนีเซีย) ลักษณะดอกเหมือนดอกแก้ว แต่กลีบดอกเป็นสี ม่วงน้ำเงิน เกสรสีเหลือง ใบเหมือนใบแก้ว แต่กลมและป้อมกว่า
ต้นแรกปลูกไว้บนเนินดิน หน้าอาคาร 1 ในปัจจุบัน ขนาดต้นสูง ประมาณ 15 เมตร
ดอกแก้วเจ้าจอม (Lignum Vitae) เป็นถึงดอกไม้ IMPORT มาจากต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และหมู่เกาะเวสต์อินดีส นำมาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันปลูกอยู่ในเขตพระราชวังดุสิตเพียง 1 ต้น สภาพต้นไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร จึงสมควรจะได้มีการอนุรักษ์ไว้เพราะนอกเหนือจากคุณค่าทางประวัติศาสตร์แล้ว แก้วเจ้าจอม ยังถูกจัดลำดับของการเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชีที่ 2 ภายใต้พระราชบัญญัติ พันธุ์พืช พ.ศ.2525 และเชื่อกันว่า ถ้านำไปปลูกดูแลรักษาจนออกดอกจะเป็น สิริมงคลแก่ครอบครัวสืบไป กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้รับมาขยายพันธุ์ด้วย วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการคงลักษณะพันธุ์เดิมไว้
เหตุที่ชื่อ “แก้วเจ้าจอม” เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ โดยในสวนดัง กล่าวแวดล้อมไปด้วยไม้นานาพรรณ และมีต้นแก้วเจ้าจอมซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงนำมาปลูกไว้ในวังแห่งนี้ด้วย ลักษณะดอกจะเหมือนดอกแก้ว แต่ กลีบดอกเป็นสีม่วงเงิน เกสรสีเหลืองเหมือนใบแก้ว แต่กลมและป้อมกว่า ม.ร.ว.พาส์นพูนศรี กฤษณะจันทร์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า ในสมัยนั้นยังไม่เคยมีใครเห็นดอกแก้วเจ้าจอม จนกระทั่งเมื่อผู้เชี่ยวชาญทั้ง หลวงบุเรศ บำรุงการ และศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันท์ ได้เข้ามาศึกษาพันธุ์ ไม้ในสวนสุนันทา ศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันท์ จึงเป็นผู้ตั้งชื่อแก้วเจ้าจอม หรือน้ำอบฝรั่งต้นนี้ ต้นแก้วเจ้าจอม เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกอยู่ในวังสวนสุนันทาเป็น แห่งแรก เป็นไม้ที่มีความงามแปลกกว่าไม้ดอกอื่นๆ คุณหญิงกรองแก้ว ปุทุมานนท์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสมัยนั้น จึงเลือกให้ต้นแก้วเจ้าจอมเป็นไม้ ประจำสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นแก้วเจ้าจอม มีชื่อทางวิทยา ศาสตร์ว่า Guaiacum officinale linn. ลำต้นเป็นไม้ขนาดเล็กถึงกลางสูง 10- 15 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นคดงอ กิ่งก้านเป็นปุ่มปม ไม้เนื้อแข็งมาก ต้นแตกใบพุ่มแผ่กว้าง เหมาะเป็นไม้ปลูกในสนาม เปลือกสีเทาเข้ม กิ่งมีข้อพองเห็นเป็นปุ่มทั่วไปใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ มีใบย่อย 2-3 คู่ เรียงตรงข้ามดู แกนกลาง ใบประกอบยาว 1-1.5 ซ.ม. ก้านใบประกอบยาว 0.5-1.0 ซ.ม. ใบย่อยไม่มีก้านรูปไข่กลับ รูปไข่กว้างหรือรูปรีเบี้ยวเล็กน้อยมี 2 ชนิด คือ ใบย่อย 2 คู่ ออกดอกง่ายและชนิดใบย่อย 3 คู่ ออกดอกน้อยกว่า ผิวของใบ มันดอก เป็นดอกเดี่ยวสีฟ้าม่วงหรือสีฟ้าคราม และจะจางลงเมื่อ ใกล้โรย มีกลิ่นหอมออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน และเดือนสิงหาคม- ตุลาคม ผลมีขนาดเล็กรูปหัวใจกลับ กดแบนลงสีเหลืองสดในหรือส้ม เมล็ดแข็งรูปไข่มองในแง่ประโยชน์นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และส่วนต่างๆ โดยเฉพาะแก่นไม้มีสารที่นิยมนำมาทำเป็นสมุนไพร แก่นไม้เนื้อไม้ละเอียด เป็นเส้น ประสานกันแน่นหนักมาก เป็นสีน้ำตาลถึงดำ แข็งเป็นมัน และหนักมาก จึงนิยมนำมาทำกรอบประกับแลเรือเดินทะเล เนื่องจากทรหด ทนต่อแรงอัดและน้ำเค็มได้ดี นอกจากนี้ยังนำมาทำกรอบประกับเพลาเครื่อง จักรในโรงงานต่างๆ ทำรอก ด้ามสิ่ว ทำลูกโบว์ลิ่ง ไม้บรรทัด และอุปกรณ์ ต่างๆ ที่ต้องการความแข็งแรงมากๆยางไม้ใช้ประโยชน์เป็นยาขับเสมหะ ยาระบาย แก้ท้องเฟ้อ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ข้ออักเสบ โรคเกาต์ ใช้ร่วมกับยาฟอกเลือด ทำเป็นยาอมแก้ต่อมทอนซิลและหลอดลมอักเสบ หรือละลายในเหล้ารัมและ เติมน้ำเล็กน้อยใช้อมกลั้วคอ แก้เจ็บคอ แก้ปวดท้อง และใช้ใส่แผล ซึ่งสารเคมีที่พบในยางไม้ ประกอบด้วย Guaiaconic acid ประมาณร้อยละ 70 Guaiaretic acid ประมาณร้อยละ 11 นอกจากนี้ยังมีGuaiacic
แก้วเจ้าจอม เป็นหนึ่งในดอกไม้ในดวงใจ ฟังแค่ชื่อก็ประทับใจ การรู้จักแก้วเจ้าจอมจริงๆ ครั้งแรกรู้จักในหนังสือ รู้จักชื่อแล้วเห็นดอกก็สวยน่ารัก ได้มีโอกาศเห็นต้นจริงๆ ตอนออกดอกสวยสะพรั่ง ตอนที่ไปวัดปัญญานันทาราม ในความรู้สึกต้นแก้วเจ้าจอมต้นที่โตเต็มที่แล้วมีทรงต้นที่สวยมีเสน่ห์ ดอกที่ออกสะพรั่งนั้นสวยมาก ตัดสินใจหามาปลูก แต่ถามราคาต้นที่โตแล้วนั้นต้องยอมยกธง เพราะแพงเหลือเกินด้วยความเป็นต้นที่โตเช้า จึงได้เป็นกิ่งชำมาสูงประมาณฟุต ตอนนี้เวลาผ่านไปสักเกือบสามปี ต้นยังโตไม่ถึงเมตรเลยแต่ก็เป็นพุ่มโตขึ้นมาก เคยอ่านข้อมูลเกี่ยวกับต้นแก้วเจ้าจอม ได้รู้จักแก้วเจ้าจอมว่า แก้วเจ้าจอมมีสองชนิดคือ ชนิดสี่ใบ และชนิดหกใบ จากภาพที่เห็นคือชนิดหกใบ ชนิดสี่ใบเป็นชนิดแรกที่มีการนำเข้ามาปลูกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชนิดสี่ใบนี้เป็นชนิดที่ออกดอกยากมาก มีน่าล่ะเพราะตัวเองปลูกชนิดต้นสี่ใบนั่นเองจึงต้องรอเวลานาน หากเป็นชนิดหกใบจะโตเร็วและออกดอกง่ายกว่า ช่วงที่ดอกแก้วเจ้าจอมจะบานคือ เดือนธันวาคม-เมษายน อืมชักจะอยากลองปลูกแบบชนิดหกใบบ้างเผื่อจะได้มีกำลังใจได้ชื่นชมดอกไวมากขึ้น

แหล่งอ้างอิง
www.maipradabonline.com/weekly/keawjj.htm - 24k
learners.in.th/blog/flower50/66403 - 43k
www.ssru.ac.th

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ตำหนักที่ 23 พระเจ้าบรมวงศ์เธอศศิพงศ์ประไพ
โดย น.ส.อัญชนา ขำมะโน
รหัส 51123407034

กันยายน 22, 2008 4:25 ก่อนเที่ยง

***เปลี่ยนเป็น
ตำนาน-ความเชื่อต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย

จาโบ้ฮวง กล่าวว่า...

เรื่อง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา
นางสาว ชฏาพร รัตนวิจิตร
รหัส 51123407036

จาโบ้ฮวง กล่าวว่า...

นางสาว ชฎาพร รัตนวิจิตร
รหัส 51123407036

หัวข้อ หนังสือ สวนสุนันทา : มรดกวัฒนธรรมบนเกาะรัตนโกสินทร์

หัวข้อเรื่อง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา

เนื้อหา

ประวัติ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523 ตามประกาศที่ ศธ 1303/ว 2807 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 ได้เปิดทำการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2523 ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ 5 ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 120 พรรษา ในระยะแรกได้ใช้พื้นที่ชั้นบนของตำหนักสายสุทธานนภดลเป็นที่ทำการ จวบจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2531 ได้มีการบรูณะปฏิสังขรณ์ตำหนักครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จ และได้ขอใช้พื้นที่ทั้งตำหนักเป็นที่ตั้งของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา
วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ มาทรงเปิดสวนศิลปวัฒนธรรม
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2536 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร เสด็จมาทรงเปิดงานเฉลิมพระเกียรติ 130 พรรษาพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินินาฎฯ
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากรเสด็จมาเยี่ยมชมตำหนักพระวิมาดาเธอฯ และต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ ฯพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เสด็จมาทรงเปิดงาน “ใต้ร่มพระบารมี 70 ปีสวนสุนันทา”

ตำหนักสายสุทธานภดลในอดีต

ตำหนักสายสุทธานภดลได้สร้างขึ้นในต้นรัชกาลที่ 6 พร้อมกับตำหนักอื่นๆ สวนสุนันทาเมื่อปี พ.ศ. 2454 ชาววังเรียกกันว่า “ตำหนักใหญ่” เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนมะนิลาซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้นเพดานและใต้ถุนยกสูงตามแบบอย่างโบราณ เป็นลักษณะตำหนักแฝด มีเฉลียงทางเดินชั้นล่างและชั้นบนเชื่อมต่อถึงกันภายนอกตำหนักมีลวดลายปูนปั้นเป็นประปราย เน้นความเรียบง่าย ประตูหน้าต่างเป็ฯบานเกล็ด ช่องลมมีการสลักลวดลายฉลุงดงามวิจิตร หน้าต่างเป็นบานกระทุ้งรับลมรอบด้าน ตำหนักน้เดิมใช้เป็นที่ประทับของพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏฯ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอัครชายาในรัชการที่ 5 และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทอง เขตรขัติยนารี พระราชธิดาพร้อมด้วยพระญาติวงศ์ ตราบจนกระทั่งภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ตำหนักนี้ได้ร้างราไป 5 ปี ต่อมาใน พ.ศ. 2480 ได้ใช้เป็นตึกเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนสุนันทาวิทยาลัย และวิทยาลัยครูสวนสุนันทาสืบมา จวบจนกระทั่งได้ใช้เป็นสำนักงานอธิการบดี ก่อ นที่จะมาเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมในปัจจุบัน
การจัดแสดงในศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
ศิลปวัตถุที่นำมาจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นสมบัติมรดกของตำหนักนี้ เช่น ภาพเขียนสีน้ำโดยคุณค่าหลวงในตำหนักพระวิมาดาเธอฯ มีจำนวน 117 ภาพ ชุดเฟอร์นิเจอร์ศิลปะจีน สมุดไทยโบราณ กระดานชนวน ตะเกียง พระรูปเจ้านาย และอุปกรณ์เครื่องใช้ในยุคแรกของโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เป็นต้น

วัตถุประสงค์

1. เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมของกรุงรัตนโกสินทร์
2. เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัตถุและโบราณวัตถุเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืนของชุมชน
3. ให้บริการข้อมูลทางวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม
4. เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมและโบราณสถานในวังสวนสุนันทาและกรุงเทพมหานคร
5. เพื่อเผยแพร่พระประวัติและพระเกียรติคุณของพระราชวงศ์จักรี
6. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร
ห้องจัดแสดงภายใน
- ห้องแสดงพระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ 5
- ห้องแสดงพระรูปและพระประวัติ พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้าจอในรัชกาลที่ 5
- ห้องแสดงพระประวัต พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
- ห้องแสดงภาพเขียนสีน้ำโดยคุณข้าหลวงในตำหนักพระวิมาดาเธอฯ จำนวน 117 ภาพ
- ห้องแสดงประวัติวังสวนสุนันทา
- จัดแสดงแฟชั่นการแต่งกายของสาวชาววังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- จัดแสดงหุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก โขน
- จัดแสดงศิลปวัตถุโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย-รัตนโกสินทร์ และของใช้ส่วนพระองค์
- จัดแสดงสมุดไทยโบราณ(สมุดข่อย) นับร้อยเล่ม เช่น หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นแบบเรียนภาษาไทยสมัยอยุธยา ประถมมาลา พระราชพงศาวดาร และวรรณกรรมสุนทรภู่ ฯลฯ
- จัดแสดงภาพวาดฝีพระหัตถ์พร้อมอุปกรณ์ทรงวาดและเครื่องทรงดนตรีไทยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- จัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้และเครื่องแบบชุดนักเรียน นักศึกษาฝึกหัดครูสวนสุนันทาในอดีต
- ห้องวีดีทัศน์

ชั้นล่าง

พื้นที่ส่วนหนึ่งจัดทำเป็นศูนย์สุขภาพแพทย์แผนไทยประยุกต์ ประกอบด้วยห้องนิทรรศการ และเปิดให้บริการนวดแผนโบราณ ตำหรับชาววัง


อ้างอิง
สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โทร 0-26687702
www.ac.ssru.ac.th

Srifah กล่าวว่า...

เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 - 29 มกราคม พ.ศ. 2512) เป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประสูติพระราชธิดา 2 พระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา และยังมีพระเจ้าลูกเธอที่ตกพระโลหิต ยังไม่เป็นพระองค์ อีก 2 พระองค์
เจ้าจอมมารดาอ่อน เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่(สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้รับราชการเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน ทั้งหมดเป็นที่รู้จักในนามว่า เจ้าจอมก๊กออ
เมื่อเจ้าจอมมารดาอ่อนอายุได้ 12 ปี ได้เข้าร่วมขบวนแห่โสกันต์ของ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ)ผู้เป็นพระสนมเอกผู้ใหญ่ ทรงยกย่องเป็นหัวหน้าพระสนมทั้งปวง และได้รับการฝากฝังโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วงบุนนาค) ผู้มีศักดิ์เป็นลุง ให้อยู่กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ มีหน้าที่ช่วยตั้งเครื่องเสวย และได้ถวายตัวเป็นพระสนม เมื่อ พ.ศ. 2427 เมื่ออายุ 17 ปี
เจ้าจอมมารดาอ่อน พร้อมด้วยน้องๆ ทั้งสี่คน ในกลุ่มเจ้าจอมก๊กออ และพระราชธิดาทั้งสอง ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายงานใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งประทับที่พระบรมมหาราชวัง หรือเมื่อเสด็จไปประทับที่พระราชวังดุสิต พระที่นั่งวิมานเมฆ หรือเมื่อครั้งเสด็จแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมมารดาอ่อน และพระราชธิดา ได้ประทับอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่ตำหนักสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนราชสีมา สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ เรียกว่า "สวนนอก" ตำหนักนี้เรียกว่า วังสวนปาริจฉัตก์
ท่านเจ้าจอมมารดาอ่อน(พระสนมเอกในรัชกาลที่๕) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 สิริอายุ 102 ปี
โดย น.ส.ฉวีวรรณ ประดับบรรจง
รหัส 51123407013

nanniiez กล่าวว่า...

นายสมาธิ ปานทอง
รหัส 51123407007

หัวข้อเรื่อง : เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค ตำหนักที่ 19


เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค

เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค ประทับอยู่ตำหนักในที่ 19
เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค (พ.ศ. 2430 - พ.ศ. 2470) เจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้าจอมคนสุดท้องในเจ้าจอมก๊กออ แห่งสกุลบุนนาค
เจ้าจอมเอื้อน เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันศุกร์ พ.ศ. 2430 เป็นธิดาคนสุดท้องในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน
เนื่องจากเจ้าจอมเอื้อนเป็นธิดาคนสุดท้อง เป็นที่รักใคร่ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์และท่านผู้หญิงอู่ และตั้งใจเลี้ยงดู ไม่ถวายตัวเข้าวังเช่นเดียวกับพี่ๆ แต่แล้วเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีทางชลมารค และเสด็จไปยังจวนของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ และทรงพบกับเจ้าจอมเอื้อน ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 17 ปี ทรงพอพระทัยในรูปโฉมที่งามพิลาส หลังจากนั้นเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ท่านบิดา ได้นำตัวธิดาคนสุดท้อง ที่ตั้งใจจะให้อยู่ใกล้ชิด เข้าถวายตัวรับใช้ในราชการฝ่ายใน เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอมเอื้อน เป็นผู้มีฝีมือในการถ่ายภาพ และมีความสามารถในการล้างรูป เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอิบผู้พี่ อีกทั้งยังมีความสามารถในการเล่นไวโอลิน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมอาบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันอาคารนี้มีชื่อว่า "ตึกเอื้อนอาชว์แถมถวัลย์" ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ต่อมาได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก" ระหว่างเรือนเจ้าจอมเอี่ยม กับเรือนเจ้าจอมอาบ
ท่านเจ้าจอมเอื้อน(พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๕) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2470 ด้วยอาการลิ้นหัวใจรั่ว สิริอายุ 40 ปี

nanniiez กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
nanniiez กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
nanniiez กล่าวว่า...

นางสาว กุลธิดา เพ็ชรโปรี
รหัส 51123407011

หัวข้อเรื่อง : เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์

เนื้อหา : เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์
ประทับอยู่ตำหนักในที่ ๒๖
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ (๖ มีนาคม ๒๔๓๕- ๓ มิถุนายน ๒๕๒๖) เป็นเจ้าจอมคนสุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นท่านยังเป็นคนสุดท้ายที่ได้ร้องเพลง นางร้องไห้ และเจ้าจอมคนสุดท้ายของราชวงศ์จักรีที่ยังดำรงชีพและเสียชีวิตในยุคปัจจุบันนี้

วัยเยาว์
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ สดับ ลดาวัลย์ เกิดเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ เป็นธิดาใน หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ ซึ่งเป็นพระโอรสใน กรมหมื่นภูมินทรภักดี ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อท่านมีอายุได้ ๑๑ ปี หม่อมยายได้พาท่านไปถวายตัวเป็นข้าหลวงในตำหนัก พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ซึ่งพระองค์ได้ทรงอบรมเลี้ยงดูหม่อมราชวงศ์สดับในฐานะพระญาติ และยังโปรดให้เรียนหนังสือทั้ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รวมทั้งหัดงานฝีมือ ตลอดจนการอาหารคาวหวานจนเชี่ยวชาญ นอกจากความอัจฉริยภาพและความงามแล้ว ความมีเสียงอันไพเราะของท่าน ยังเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นด้วย ดังใน บทพระราชนิพนธ์เงาะป่า ว่า
"แม่เสียงเพราะเอย น้ำเสียงเจ้าเสนาะ เหมือนดังใจพี่จะขาด เจ้าร้องลำนำ ยิ่งซ้ำพิศวาท พี่ไม่วายหมายมาด รักเจ้าเสียงเพราะเอย"

ถวายตัว
เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ หม่อมราชวงศ์สดับได้เข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ท่านได้รับพระราชทาน "กำไลมาศ" จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกำไลทองคำแท้จากบางสะพาน หนักสี่บาท ทำเป็นรูปตาปูโบราณสองดอกไขว้กัน ปลายตาปูเป็นดอกเดียวกัน มีตัวอักษรซึ่งเป็นบทกลอนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสลักไว้บริเวณด้านบนของกำไลว่า
กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นย่อมยืนสี
เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเป็นเสี่ยงทาย
ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรัดไว้อย่าให้หาย
แม้รักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย
วันนี้ถือว่าเป็นวันที่ท่านมีความสุขมากที่สุด และทั้งตลอดชีวิตของท่าน เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมิได้ถอดออกจากข้อมือเลย จวบจนชีวิตท่านหาไม่แล้ว หม่อมหลวงพูนแสง สูตะบุตร ผู้เป็นหลานสาวจึงเป็นผู้ที่ถอดออกให้ และได้ถวาย "กำไลมาศ" แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในงานพระราชทานเพลิงศพของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับนั้นเอง

ร. ๕ เสด็จประพาสยุโรป
วันที่หม่อมราชวงศ์ได้เล่าว่าเป็นวันที่ทุกข์ที่สุดก็คือ วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เนื่องจากก่อนรัชกาลที่ ๕ จะเสด็จพระราชดำเนินนั้น ทรงมีพระราชดำริที่จะให้เจ้าจอมสดับตามเสด็จไปยุโรปด้วย ในฐานะข้าหลวง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตตินารี ถึงกับสอนภาษาอังกฤษพระราชทานเองก่อนเสวยพระกระยาหารทุกคืน แต่มีเหตุขัดข้อง จึงมิอาจเป็นไปตามพระราชดำรินั้นได้
แม้กระนั้น พระองค์ก็ได้มีพระราชหัตเลขามาถึงทุกสัปดาห์ เมื่อได้รับลายพระราชหัตถเลขาแล้ว ท่านก็แสดงอาการดีใจออกมาทุกครั้ง แต่อาการนั้นทำให้เกิดความรู้สึกริษยาจากคนรอบข้างโดยที่ท่านไม่รู้ตัว ทำให้พระวิมาดาเธอฯ ในฐานะผู้ปกครองจึงทรงต้องเข้มงวดกวดขันกิริยาอาการ ตลอดไปถึงข้อความในจดหมาย ด้วยเกรงว่าจะเขียนกราบทูลในเรื่องไม่สมควรไป
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงพระนคร ก็ทรงซื้อเครื่องเพชรมาพระราชทาน โปรดให้แต่งเครื่องเพชรแล้วให้ช่างถ่ายรูปชาวต่างชาติมาถ่ายรูป โดยทรงพระกรุณาจัดท่าพระราชทาน และโปรดพระราชทานตู้ที่ระลึก ยังทรงจัดของตั้งแต่งในตู้นั้นอีกด้วย อีกทั้งยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาท่านขึ้นเป็นพระสนมเอก อันเป็นตำแหน่งที่แม้เจ้าจอมมารดาบางท่านรับราชการมาช้านานยังไม่ได้รับพระราชทาน แต่ท่านซึ่งเป็นเพียงเด็กสาวรุ่น และเพิ่งเข้ามารับราชการไม่นานนักกลับได้รับพระเมตตาไว้ในตำแหน่งที่สูงถึงเพียงนี้ ยิ่งก่อให้เกิดความริษยาจากคนรอบข้าง ด้วยวัยเพียง ๑๗ ปี ท่านจึงได้เล่าถึงความรู้สึกครั้งนั้นว่า
"...เหลียวไปพบแต่ศตรู คุณจอมนั้นส่อเสียดว่าอย่างนั้น คุณจอมนี้ว่าอย่างนี้ ตรองดูทีหรือข้าพเจ้าจะย่อยยับแค่ไหน"
ด้วยความอายุยังน้อย ขาดความยั้งคิด ท่านจึงตัดสินใจทำลายชีวิตตนเองด้วยการดื่มน้ำยาล้างรูป

ปลายรัชกาล
ครั้นเมื่อท่านมีอายุได้ ๒๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ท่านมีความทุกข์ และเศร้าโศกอย่างยิ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า
"..ใจคิดจะเสียสละได้ทุกอย่าง จะอวัยวะหรือเลือดเนื้อ หรือชีวิตถ้าเสด็จกลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นใจที่คิดแน่วแน่ว่าตายแทนได้ไม่ใช่แค่พูดเพราะๆ ...คุณจอมเชื้อเอาผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่งมาให้ข้าพเจ้า บอกว่าท่านได้ประทานไว้ซับพระบาท ข้าพเจ้าจึงเอาผ้าที่ซับพระบาทนั้นแล้วพันมวยผมไว้ แล้วก็นั่งร้องไห้กันต่อไปอีก..."
ครั้งสุดท้ายที่เจ้าจอมสดับได้มีโอกาสสนองพระเดชพระคุณคือ การเป็นต้นเสียงนางร้องไห้หน้าพระบรมศพ
บทเพลง นางร้องไห้ มีอยู่ทั้งหมด ๕ บท ดังนี้
๑. พระร่มโพธิ์ทอง พระพุทธเจ้าข้าเอย
พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย
๒. พระเสด็จไปสู่สวรรค์ชั้นใด ละข้าพระบาทยุคลไว้ พระพุทธเจ้าข้าเอย
พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย
๓. พระยอดฟ้า พระสุเมรุทอง พระพุทธเจ้าข้าเอย
พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย
๔. พระเสด็จผ่านพิภพแห่งใด ข้าพระบาทจะตามเสด็จไป พระพุทธเจ้าข้าเอย
๕. พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย
พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย

สิ้นรัชกาล
เจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ ในวัยชรา
ในปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตนั้น เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมีอายุเพียง ๒๐ ปี ทำให้ท่านเป็นที่จับตามองจากคนรอบข้างว่าจะสามารถครองตัวครองใจเป็นหม้ายได้ต่อไปตลอดหรือไม่
หลังจากนั้นอีกไม่นาน ท่านได้ถวายคืนเครื่องเพชรทั้งหลายที่ได้รับพระราชทานมาแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯจนหมดสิ้น สมเด็จฯก็ได้ทรงรับไว้แล้วโปรดเกล้าฯให้นำไปขายที่ยุโรป แล้วนำเงินมาสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทั้งสิ้น นอกจากนั้นท่านยังหันไปยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วย จนเมื่อท่านเจ้าจอมนั้นมีวัยชราแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้ท่านกลับเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ในช่วงเวลานี้นี่เอง ที่ท่านได้มีโอกาสทำคุณประโยชน์อีกครั้ง โดยการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แก่ชนรุ่นหลัง เช่น
•วิธีถักตาชุนหรือ ถักสไบ ที่เรียกกันว่า กรองทอง
•วิธีทำน้ำอบ น้ำปรุง
•ยาดมส้มโอมือ ฯลฯ
ตลอดจนถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆในพระราชสำนักเมื่อครั้งกระนั้น ให้ชนรุ่นหลังได้ฟังและจดบันทึกไว้ นับเป็นประโยชน์มาก เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๖ สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

นางสาว อัญชนา ขำมะโน
รหัส 51123407034

หัวข้อ:ความเชื่องต่างๆในเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ตำนาน-ความเชื่อ เรื่องเล่าในรั้วราชภัฏ จากข่าวสด


สิ่งที่เหลือทิ้งไว้คือความทรงจำ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น บอกเล่าต่อๆ กันไปรุ่นสู่รุ่น บางเรื่องอาจจะถูกลบเลือนไปตามเวลา แต่บางเรื่องถูกหยิบยกมาเล่าขานต่อกันไปจนเป็น "ตำนาน" หรือเรื่องเล่าคู่คณะ หรือมหาวิทยาลัยของตัวเองหลายเรื่องอาจเป็นเรื่องที่ชาวมหาวิทยาลัยเคยได้ยินกันจนคุ้นหู หรือบางเรื่องอาจจะยังเพิ่งเคยได้ยินกันก็มี ซึ่งเรื่องราวต่อไปนี้ ได้รวบรวมมาจากทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ที่ถ่ายทอดให้ฟังพอเป็นสังเขป
เริ่มจาก "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" ที่เดิมในรัชสมัยพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนสุนันทาเป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดา และเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก และต่อมาเป็นสถานศึกษาสำหรับกุลสตรี ในชื่อโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย
ด้วยความเก่าแก่ของอาคารต่างๆ ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงเป็นต้นเหตุของเรื่องเล่ามากมายของเหล่านักศึกษา
โดยว่ากันว่า หากไปถามลูกสวนสุนันทาทุกคนว่าแม่ชื่ออะไร ทุกคนจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี" ซึ่งเป็นพระนามของพระมเหสีในรัชกาลที่ 5 ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาทุกคนนับถือเป็นแม่ ซึ่งคำตอบเดียวกันนี้ ยังเป็นสิ่งที่นักเรียนต้องท่องจำให้ขึ้นใจ เพราะเป็นคำตอบที่นักศึกษาปี 1 ต้องเจอในการสอบสัมภาษณ์ด้วย

ในส่วนอาคารเก่าแก่ หรือตำหนักเก่าที่เป็นที่พักของสนมในรัชกาลที่ 5 ซึ่งจากเดิมมีหลายอาคารแต่โดนรื้อทิ้งไปเรื่อยๆ จนกระทั่งขณะนี้เหลือเพียงตึกเดียวเป็นตึกที่อยู่บริเวณริมทางเดิน ที่เชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ซึ่งเป็นตึกเก่าริมรั้ว ปัจจุบันเป็นตึกของสาขาดนตรีไทย และมีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า บ่อยครั้งที่ในเวลากลางคืนจะมีเสียงระนาด หรือดีไม่ดี ก็จะเป็นเสียงดนตรีไทยเต็มวง ใครเดินผ่านไปผ่านมาก็ชวนขนลุกได้เหมือนกัน

นอกจากนั้นก็ว่ากันว่าที่ใต้อาคารเป็นคุกเก่า สำหรับขังข้าทาส วันดีคืนดีก็จะมีคนเห็นไฟเปิดอยู่ มีคนเดินไปมา ซึ่งตึกนี้แทบจะเป็นตึกเก่า แก่ตึกเดียวที่เหลืออยู่เพราะเล่ากันต่อๆ มาว่า มีอาถรรพ์ หากคิดจะรื้อทิ้งมักจะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเสมอ

และสถานที่ที่น่าจะรู้จักกันดีในสวนสุนันทาอีกแห่งคือ "เนินพระนาง" ซึ่งเป็นเนินดินลักษณะคล้ายภูเขา หลายคนบอกว่า เป็นหลุมหลบภัยสมัยสงครามโลก นอกจากนั้นยังมีอีกเนินด้านหลังอาคารคณะนิเทศศาสตร์ ซึ่งจะมีศาลพระภูมิอยู่ เล่ากันต่อมาว่า ใครไปบนที่นั่นต้องเอาผ้าแพรสีแดงกับมะพร้าวติดไปด้วย ส่วนใหญ่ที่นิยมกันคือบนให้เรียนจบให้สอบผ่าน

ถัดมาที่บึงใหญ่กลางมหาวิทยาลัย มีเรื่องน่าแปลกว่า ใครที่อุตริเล่นพิเรนทร์กระโดดลงไปเล่นน้ำในบึงดังกล่าวจะเรียนไม่จบ แต่ขณะเดียวกัน บึงนี้กลับเป็นบึงที่นักศึกษาหลายคนที่บนบานไว้ขอให้เรียนจบ นิยมมาโดดน้ำแก้บนหลังเรียนจบไปแล้ว

หนึ่งในนั้นเป็นดาราหนุ่มมาดกวนที่รู้จักกันดี "เต๋า สมชาย เข็มกลัด" ว่ากันว่าดาราหนุ่มโดดน้ำแก้บนในบึงนี้ด้วยเหมือนกัน
และที่บ่อน้ำ ซึ่งว่ากันว่ามักจะมีเต่ามาเดินเล่นให้เห็นอยู่บ่อยๆ แต่เชื่อว่า ใครเผลอไปทัก ดีไม่ดีจะเรียนไม่จบเอาง่ายๆ

ที่มา : www.phitsanulok.com

nanniiez กล่าวว่า...

นางสาวพณิตา อุ่นกาศ
รหัส 51123407026

หัวข้อเรื่อง : พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ตำหนักที่ 9

ตำหนักที่ 9 เป็นที่ประทับของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
วันอังคารเดือน 10 เหนือ ขึ้น 8 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2416 เป็นวันคล้ายวันประสูตของเจ้าดารารัศมี พระธิดาองค์สุดท้าย ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ประสูติจากแม่เจ้าทิพไกสร เจ้าดารารัศมีทรงมีเชษฐา ๖ ท่าน และเชษฐภคินีถึง ๕ ท่านด้วยกัน
ครั้นยังทรงพระเยาว์นั้น ได้ทรงศึกษาอักษรไทยเหนือและไทยกลาง ทรงเข้าพระทัยในขนบธรรมเนียมขัติยประเพณีเป็นอย่างดี เมื่อพระชนม์มายุ ๑๑ พรรษาเศษ พระบิดาโปรดให้มีพิธีโสกันต์ ภายหลังเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรขึ้นมาทรงจัดตั้งตำแหน่งเสนาทั้งหก ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระกุณฑลประดับเพชรมาพระราชทานเป็นของขวัญด้วย และโปรดเกล้าฯ ตั้งให้นางเต็มเป็นแม่นางกัลยารักษ์ ให้นายน้อยบุญทาเป็นพญาพิทักษ์เทวี ตำแหน่งพี่เลี้ยงทั้งสองคนตั้งแต่ครั้งนั้น
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๒๙ ปีจอ ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ ทรงอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรอง พระราช-ชายาฯ ได้รับพระราชทานตำหนักที่ประทับ ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ซึ่งต่อมาได้ทรงขอพระราชทานพระราชทรัพย์จากพระบิดา เพื่อมาต่อเติมพระตำหนัก สำหรับให้พระประยูรญาติที่ตามเสด็จไปพักอยู่ด้วย ต่อมาดูเหมือนภายในพระบรมมหาราชวังดูจะคับแคบลงไปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักที่ประทับพระราชทานแก่เจ้าจอม และพระราชวงศ์ในบริเวณพระราชวังสวนดุสิตมีชื่อว่า "สวนฝรั่งกังไส" ในระหว่างที่พระราชชายาเสด็จเยี่ยมนครเชียงใหม่ครั้งแรก ปัจจุบันตำหนักนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว
ตลอดเวลาที่ประทับรับราชการฝ่ายในที่กรุงเทพฯ พระราชชายาฯได้อนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนา ทรงโปรดให้ผู้ที่ติดตามจากเชียงใหม่แต่งกายแบบชาวเหนือ คือนุ่งผ้าซิ่นสวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบเฉียงและไว้ผมยาวเกล้ามวย ซึ่งต่างจากการนุ่งโจงกระเบนไว้ผมสั้นทรงดอกกระทุ่มของชาววัง แม้แต่ภายในพระตำหนักยังเต็มไปด้วยบรรยากาศล้านนา โปรดให้พูด "คำเมือง" มีอาหารพื้นเมืองรับประทานไม่ขาด แม้กระทั่งการ "อมเหมี้ยง" ซึ่งชาววังเมืองกรุงเห็นเป็นของที่แปลกมาก
พระราชชายาฯทรงเปิดพระทัยรับวัฒนธรรมอื่นด้วย โดยโปรดให้มีการเล่นดนตรีไทยและสากล ดำริให้มีการเรียนดนตรีไทยในพระตำหนัก ทรงตั้งวงเครื่องสายประจำตำหนัก และทรงดนตรีได้หลายอย่าง ทั้งซออู้ ซอด้วง และจะเข้ แต่ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถมากคือ "จะเข้" ทั้งยังสนพระทัยในการถ่ายรูปซึ่งเพิ่งเข้ามาจากต่างประเทศในรัชกาลที่ ๕ ทรงสนับสนุนให้พระญาติ คือ เจ้าเทพกัญญาได้เรียนรู้ และกลายเป็นช่างภาพอาชีพหญิงคนแรกของเมืองไทยไปด้วย
หลังจากทรงประสูติพระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี (ประสูติเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๒ พระชนม์มายุได้เพียง ๓ พรรษาเศษ ก็สิ้นพระชนม์) ทรงได้รับพระเกียรติยศสูงขึ้นตามโบราณราชประเพณีจากเจ้าจอมเป็นเจ้าจอมมารดา ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯสร้างตราปฐมจุลจอมเกล้า สำหรับพระราชทานแก่ผู้รับราชการฝ่ายใน พระราชชายาทรงได้รับพระราชทาน พร้อมกับพระมเหสี และพระราชธิดารวมทั้งหมด ๑๕ พระองค์เท่านั้น พ.ศ.๒๔๕๑ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น "พระ-ราชชายา" เป็นตำแหน่งพระมเหสีเทวี ที่เพิ่งจะมีการสถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยนั้น
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ พระเชษฐาของพระราชชายาฯ ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่พระบรมมหาราชวัง พระราชายาฯ จึงได้กราบบังคมทูลลาขึ้นมานครเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมเยียนมาตุภูมิ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๑ ได้เสด็จจากพระราชวังสวนดุสิตไปขึ้นรถไฟที่สถานีสามเสนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปส่งพระราชชายาฯ พร้อมบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนบรรดาข้าราชการเป็นจำนวนมาก ไปส่งถึงสถานีรถไฟปากน้ำโพ มณฑลนครสวรรค์ ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดทางรถไฟสายเหนือเวลานั้น และประทับลงเรือพระที่นั่งเก๋งประพาส มีขบวนเรือตามเสด็จกว่า ๕๐ ลำ ในการเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบัญชาให้บรรดาหัวเมืองที่เสด็จผ่าน จัดพิธีต้อนรับให้สมพระเกียรติ พระราช-ชายาฯ ทรงเห็นว่ามากเกินไป ได้มีพระอักษรกราบบังคมทูลขอพระราชทานรับสั่งให้เพลาพิธีการลงบ้าง ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด ๕๖ วัน จึงเสด็จถึงนครเชียงใหม่ ในวันที่ ๙ เมษายน
ระหว่างประทับอยู่ที่เชียงใหม่ ได้เสด็จไปเยี่ยมเจ้าผู้ครองนครลำพูน ลำปาง และพระประยูรญาติในจังหวัดนั้น ๆ และเสด็จไปนมัสการพระบรมธาตุ และปูชนียสถาน สำคัญ ๆ อีกหลายแห่ง ในการเสด็จนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเอาพระธุระโปรดเกล้าฯ ให้ทำแผ่นกาไหล่ทองมีสัญลักษณ์ของพระราชชายาฯ คือ รูปดาวมีรัศมี อีกทั้งพระราชทานข้อความที่โปรดเกล้าฯ ให้จารึกเป็นเกียรติยศแก่พระราชชายาฯ
ในระหว่างที่ประทับอยู่เชียงใหม่ พระราชชายาฯ ทรงดำริเห็นว่าบรรดาพระอัฐิของพระประยูรญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งบรรจุไว้ตามกู่ที่สร้างกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณข่วงเมรุ เป็นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพเจ้านายตระกูล ณ เชียงใหม่ จึงโปรดให้รวบรวม และอัญเชิญพระอัฐิไปสร้างรวมกันไว้ ณ บริเวณวัดบุบผาราม (วัดสวนดอก) ตำบลสุเทพ เมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้วได้จัดงานฉลองอย่างมโหฬาร มีคนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก มีการจัดมหรสพต่าง ๆ เช่น หนัง ละคร ซอ มวย ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ถึง ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญทองคำทำด้วยกะไหล่ทองและกะไหล่เงินมีตัวอักษร "อ" และ "ด" ไขว้กัน พระราชทานเป็นของแจกในงานเฉลิมฉลองกู่ พระราชชายาฯเสด็จกลับกรุงเทพฯ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ เสด็จโดยลงเรือพระที่นั่งที่ท่าหน้าคุ้ม มีกระบวนเรือรวม ๕๐ ลำ เมื่อถึงอ่างทอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรือยนต์พระที่นั่งเสด็จมารับถึงที่นั่นแล้วทรงพาไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน และพระราชทานสร้อยพระกรประดับเพชรเป็นของขวัญ ณ ที่นั่น
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๒๔๕๓ ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๗ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ ได้ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่กรุงเทพฯ พระราชชายาฯ ได้กราบถวายบังคมทูลลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อกลับมาประทับที่นครเชียงใหม่
วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๗พระราชชายาฯ เสด็จออกจากกรุงเทพฯ โดยขบวนรถไฟซึ่งวิ่งไปถึงเพียงสถานีผาคอ จังหวัดอุตรดิตถ์เท่านั้น จากนั้นเสด็จโดยขบวนช้างม้านับร้อย คนหาบหามกว่าพัน ข้าราชการจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง จัดไปคอยรับเสด็จ ถึงเชียงใหม่วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อพระราชชายาฯ ประทับอยู่ที่เชียงใหม่แล้ว ทรงมีพระตำหนักหรือคุ้มที่ประทับอยู่สี่แห่งด้วยกันคือ
ตำหนักแรก ตำหนักที่เจดีย์กิ่วเรียกว่า "คุ้มเจดีย์กิ่ว" ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำปิงเป็นอาคารสองชั้นทรงยุโรป ปัจจุบันเป็นสถานกงสุลอเมริกันประจำจังหวัดเชียงใหม่
ตำหนักที่สอง สร้างขึ้นที่ถนนห้วยแก้ว เรียกว่า "คุ้มรินแก้ว" เป็นอาคารสองชั้นทรงยุโรป เป็นตำหนักที่พระราชชายาฯ เสด็จมาประทับเป็นครั้งสุดท้าย และสิ้นพระชนม์ที่นั่น
ตำหนักที่สาม สร้างบนดอยสุเทพสำหรับประทับในฤดูร้อน เรียกว่า "ตำหนักพระราชชายา" เป็นอาคารไม้หลังใหญ่ชั้นเดียว ตำหนักนี้สร้างด้วยไม้ จึงได้ทรุดโทรมผุผังไปตามกาลเวลา และถูกรื้อถอนไปในที่สุด
ตำหนักที่สี่ ตั้งอยู่อำเภอแม่ริม พระราชชายาฯทรงโปรดตำหนักแห่งนี้ และทรงใช้เวลาประทับมากกว่าตำหนักอื่นๆ เรียกว่า "ตำหนักดาราภิรมย์" โปรดให้เรี่ยกชื่อว่า "สวนเจ้าสบาย" ตัวตำหนักเป็นอาคารก่ออิฐปนไม้ลักษณะค่อนไปทางทรงยุโรป
เมื่อพระราชชายาฯ เสด็จกลับมาประทับเป็นการถาวรที่นครเชียงใหม่พระองค์ได้ประกอบพระกรณียกิจหลายด้านตลอดเวลา ๑๙ ปี ที่ดำรงพระชนม์อยู่ สรุปได้ดังนี้
ทรงส่งเสริมการเกษตร
ทรงให้มีการทดลอง ค้นคว้า ปรับปรุง วิธีการปลูกพืชเผยแพร่แก่ประชาชน ณ ที่ตำหนัก สวนเจ้าสบายอำเภอแม่ริม ทรงควบคุมการเพาะปลูก และปลูกเพื่อขาย ทรงตั้งพระทัยที่จะให้เป็นตัวอย่างในการประกอบอาชีพในด้านการเกษตรแก่ราษฎร
ทรงทำนุบำรุงศาสนา
โดยปกติ พระราชชายาฯ จะถวายอาหารบิณฑบาต และถวายจตุปัจจัยสำหรับวัด และพระสงฆ์ สำหรับพระสงฆ์บางรูปได้รับการสนับสนุนเป็นรายเดือนตลอดพระชนม์ชีพ ทรงทำบุญวันประสูติและถวายกฐินทุกปี นอกจากนั้นยังทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียสถานเป็นจำนวนมาก อาทิ สร้าง และฉลองวิหารพระบรมธาตุ วัดพระธาตุจอมทองยกตำหนักบนดอยสุเทพถวายเป็นของวัดพระธาตุดอยสุเทพ
ทรงส่งเสริมการศึกษา
ทรงอุปการะส่งเสริมให้เจ้านายลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียน แม้กระทั่งส่งไปเรียนที่ทวีปยุโรป ทรงรับอุปถัมภ์โรงเรียนต่าง ๆ ในนครเชียงใหม่ อาทิเช่น โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ ได้ประทานที่ดินทั้งโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย กับทรงอุปถัมภ์โรงเรียนดาราวิทยาลัย
ทางด้านวรรณกรรม
ทรงสนับสนุนวรรณกรรมประเภท "คร่าวซอ" จนเป็นที่นิยมอย่างสูงในยุคนั้น พระองค์มีนักกวีผู้มีความสามารถประจำราชสำนักหลายคน เช่น ท้าวสุนทรพจนกิจ ได้ประพันธ์บทละครเรื่อง "น้อยไชยา" ถวาย พระองค์มีส่วนในการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ยังได้นิพนธ์บทร้องเพลงพื้นเมืองทำนองล่องน่าน เพื่อขับร้องถวายสดุดีพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งเสด็จประพาสเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๕
ทางด้านการหัตถกรรม
ทรงเห็นว่า ซิ่นตีนจก เป็นเครื่องนุ่งห่มตามประเพณีวัฒนธรรมล้านนามาแต่โบราณ เป็นผ้านุ่งที่ต่อชาย(ตีน) ด้วยผ้าจกอันมีสีสันลวดลายสวยงาม การทอตีนจกเป็นศิลปะชั้นสูงที่ต้องใช้ฝีมือในการทอมาก จึงทรงรวบรวมผู้ชำนาญการทอผ้าซิ่นตีนจกจากที่ต่างๆ เข้ามาทอในตำหนัก นอกจากจะทอไว้ใช้เป็นการส่วนพระองค์ และสำหรับประทานให้ผู้อื่นในโอกาสต่างๆ แล้ว วัตถุประสงค์ใหญ่เพื่อเป็นที่ฝึกสอนให้ลูกหลานได้มีวิชาติดตัวนำไปประกอบอาชีพได้
การทอผ้าซิ่นยกดอกศิลปะการทอผ้าอันสูงส่งของล้านนาอีกผลงานที่พระราชชายาฯ ทรงพบว่าผ้าซิ่นยกดอกทั้งผืนมีเหลืออยู่ผืนเดียว คือผ้าซิ่นยกดอกไหมทองของแม่เจ้าทิพไกสร ที่ พระราชชายาฯ ได้ไว้เป็นมรดก จึงได้ใช้ซิ่นไหมผืนนี้เป็นตัวอย่าง ในที่สุดพระองค์ก็ทรงประดิษฐ์คิดค้น การทอผ้ายกดอกชนิดเดียวกันนี้ได้สำเร็จ ศิลปะด้านนี้จึงได้ดำรงคงอยู่สืบมา
นอกจากนั้น ทรงรวบรวมผู้มีฝีมือในการเย็บใบตอง และบายศรีในเชียงใหม่ มาฝึกสอนแก่ผู้ที่มีความสนใจในตำหนัก ทรงจัดแบบอย่างระดับชั้นของบายศรี ให้เหมาะสมแก่การจัดถวายเจ้านายในชั้นต่าง ๆ และบุคคลทั่วไป นับเป็นต้นแบบที่ได้นำมาปฏิบัติจนกระทั่งในปัจจุบัน
ด้านการทำดอกไม้สดทรงสอนให้คนในตำหนักร้อยมาลัย จัดพุ่มดอกจัดกระเช้าดอกไม้ทั้งสดและแห้ง จัดแต่งด้วยดอกไม้สดทุกชนิด ตำหนักพระราชชายาฯ ในครั้งนั้น จึงเป็นแหล่งรวมแห่งศิลปวัฒนธรรม เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวเชียงใหม่ และส่งผลดีในการอวดแขกบ้านแขกเมืองอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
อนุเคราะห์พระประยูรญาติ
ทรงให้ความอุปการะแก่สมณะประชาชนทั่วไป และพระประยูรญาติแล้ว ทรงเปี่ยมไปด้วยความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ทรงสร้างกู่แล้วอัญเชิญพระอัฐิของพระประยูรญาติ มาไว้รวมกัน ณ บริเวณวัดสวนดอกในครั้งเสด็จเยี่ยมนครเชียงใหม่ และเมื่อเสด็จกลับมาประทับเชียงใหม่แล้วได้ทรงอัญเชิญพระอัฐิส่วนหนึ่งของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระบิดาไปบรรจุไว้ที่สถูปบนยอดดอยอินทนนท์ตามพระประสงค์
เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่พระองค์ท่านได้รับพระราชทาน ดังนี้
๑. ปฐมจุลจอมเกล้าฯ พร้อมด้วยดาราจุลจอมเกล้า
๒. มหาวชิรมงกุฎ
๓. ปถมาภรณ์มงกุฎสยาม
๔. เหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร. ลงยากรอบประดับเพ็ชร์ รัชกาลที่ ๕
๕. เหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร. ลงยากรอบประดับเพ็ชร์ รัชกาลที่ ๖
๖. เหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร. ลงยากรอบประดับเพ็ชร์ รัชกาลที่ ๗
๗. เข็มพระปรมาภิธัยรัชกาลที่ ๖ ประดับเพ็ชร์ล้วน


สิ้นพระชนม์
พระราชชายาฯ ได้เริ่มประชวรด้วยโรคพระปับผาสะ(ปอด)แต่ยังคงประทับอยู่ที่ตำหนักดาราภิรมย์ กระทั่งวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ เจ้าแก้วนวรัฐจึงเชิญเสด็จมาประทับที่คุ้มรินแก้ว และได้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ รวมพระชนมายุได้ ๖๐ พรรษาเศษ
ในการพระศพนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชโกษาเป็นหัวหน้านำพนักงาน ๒๕ นาย นำน้ำพระสุคนธ์สรงพระศพ กับพระโกศ และเครื่องประกอบอีกหลายประการ พระราชทานมาเป็นพระเกียรติยศ และโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ถวาย ๗ วัน





(จาก เจ้าหลวงเชียงใหม่ โดย เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ และคณะ, ๒๕๓๙)

ที่มาของข้อมูล
“ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี.” 2546. [ออนไลน์].

เข้าถึงเมื่อ:29กันยายน. จาก http://www.lannaworld.com/person/jdararat.htm

Pronprapa กล่าวว่า...

นางสาว พรประภา ทรัพย์โภค
รหัส 51123407010
หัวข้อเรื่อง
ประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ(ตอนที่1)
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ ๕ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์” เป็นพระราชธิดาลำดับที่ ๕๐ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ ๓ ในสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา(เปี่ยม) ซึ่งเป็นธิดาของหลวงอาสาสำแดง(แตง) กับท้าวสุจริตธำรงค์(นาค) ต้นราชินิกุล “สุจริตกุล” เสด็จพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๓ มีพระเชษฐา พระขนิษฐา และพระขนิษฐภคินี ร่วมพระชนนีรวมทั้งสิ้น ๖ พระองค์
๑. พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย
๒. พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงษ์ (สมเด็จฯ กรมพระยา
เทวะวงษ์วโรปการ ต้นราชสกุล “เทวกุล ณ
อยุธยา”)
๓. พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (สมเด็จพระนางเจ้า
สุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี)
๔. พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิรา
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)
๕. พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชริน
ทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง)
๖. พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จฯ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฏ์ ต้นราชสกุล “สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา”)
ในขณะมีพระชนมพรรษาได้ ๘ พรรษา ทรงกำพร้าพระบรมราชชนก พระนางฯ จึงทรงอยู่
ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพระบรมเชษฐาธิราช ได้ทรงศึกษาภาษาไทยกับพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) และทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับแหม่มแอนนาเลียวโนเวนส์ พระนางฯ ทรงเป็นที่รักและโปรดปรานยิ่งนักของพระพุทธเจ้าหลวง ได้ทรงรับราชการเบื้องพระยุคลบาทด้วยความซื่อสัตย์ภักดีต่อพระบรมราชสวามีจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “พระนางเธอ พระราชเทวี” จวบจนวาระสุดท้ายได้เสด็จสวรรคตอันเนื่องจากเรือพระประเทียบล่มที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ขณะมีพระชนมพรรษาได้ ๑๙ พรรษาเศษ พร้อมด้วยพระราชธิดา คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์และในพระครรภ์อีก ๑ พระองค์ นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจยิ่งนัก
อนึ่ง ก่อนที่พระนางฯ จะทรงประสบเหตุโศกนาฏกรรมที่กลางลำน้ำเจ้าพระยานั้น ได้ทรงพระสุบินไว้ว่า พระองค์และพระราชธิดาได้เสด็จไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ระหว่างทรงข้ามสะพาน พระราชธิดาได้พลัดตกลงไปในคลอง พระนางฯ ได้ทรงยื่นพระหัตถ์ลงไปช่วยแต่ไม่สำเร็จจึงได้ตกลงไปทั้งคู่ แต่ในพระสุบินนั้นไม่ได้ร้ายแรงถึงกับสวรรคต ได้ทรงปกปิดเรื่องนี้ไว้มีแต่ลางสังหรณ์ตลอดเวลา แม้กระทั่งในเช้าวันเกิดเหตุก่อนเสด็จฯ พระราชวังบางปะอิน มีพระพักตร์เศร้าหมองอย่างเห็นได้ชัด แต่แล้วสิ่งที่ไม่
คาดฝันก็บังเกิดขึ้นจริง นับเป็นดวงพระชะตาที่ทรงถูกลิขิตไว้แล้วมิอาจ
ฝืนได้ ภายหลังการเสด็จสวรรคต พระบรมราชสวามีได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบรมอัฐิเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา
กุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี”เป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกและทรง
สถาปนาพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวีเป็น “สมเด็จพระนางเจ้า
สว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี” ต่อจากพระนางฯ
อันเนื่องจากความรักความอาลัยที่ทรงมีต่อพระนางฯ จึง
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนสุนันทาลัยที่วังพระองค์เจ้า
อุณากรรณฯสำหรับเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของกุลสตรี ปัจจุบันคือโรงเรียนราชนี นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์อีก ๓ แห่งสำหรับบรรจุพระสรีรางคาร ได้แก่ ที่พระราชวังสราญรมย์ บริเวณ
น้ำตกพลิ้วจังหวัดจันทบุรี และที่พระราชวังบางปะอิน ล้วนแล้วเป็นสถานที่ซึ่งพระนางฯ เคยเสด็จประพาสมาก่อน คำจารึกที่ทรงเรียงร้อยทุกตัวอักษรล้วนสื่อถึงความรักและผูกพันของทั้ง ๒ พระองค์ พระบรมราชานุสรณ์สถานอีกแห่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนเนื้อที่ ๑๒๒ ไร่ในเขตพระราชวังดุสิตนั่นคือ “พระราชอุทยานสวนสุนันทา” เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ภายหลังจากพระนางฯ สวรรคตผ่านไปแล้ว ๒๘ ปี ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะใช้เป็นที่ประทับพระราชอิริยาบถ และสำหรับเป็นที่ประทับของพระมเหสีเทวี พระราชธิดา และเจ้าจอมในบั้นปลายพระชนมชีพ และประการสำคัญเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งความรักในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ นอก จากนี้ทางวิทยาลัยครูสวนสุนันทายังได้ร่วมแรงร่วมใจบริจาคทุนทรัพย์สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระนางฯ เพื่อเป็นศรีสง่าเป็นที่เคารพสักการะของชาวสวนสุนันทาและประชาชนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯ มาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ ๕

Pronprapa กล่าวว่า...

นาย วาสุเทพ ประกอบชาติ
รหัส 51123407008
หัวข้อเรื่อง
ประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ(ตอนที่ 2 พระนางเรือล่ม)
ว่ากันว่า อนุสรณ์แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก คือ "ทัชมาฮาล" ซึ่งเป็นสุสานแห่งความรักที่เจ้าชายชาห์ จะฮาน สร้างขึ้นเพื่อเก็บพระศพของพระนางมุมตัส มาฮาล พระชายา
ในประเทศไทยเองก็มีอนุสรณ์แห่งความรักระหว่างพระมหากษัตริย์และพระมเหสีเช่นกัน โดยเป็นความรักของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีต่อสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี นั่นเอง
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ผู้เป็นมเหสีที่รักยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ถวายตัวรับราชการในตำแหน่งพระราชชายาเจ้า เมื่อพระชนมายุได้เพียง 17 พรรษา
ศาลพระนางเรือล่มที่วัดกู้ จังหวัดนนทบุรี
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ มีพระราชธิดาพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา จนเมื่อเกิดเหตุการณ์น่าเศร้าขึ้นเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมยังพระราชวังบางปะอิน เมืองพระนครศรีอยุธยา
การเดินทางนี้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งทรงตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน เสด็จประทับบนเรือพระที่นั่งกับพระราชธิดา โดยมีพระพี่เลี้ยงตามเสด็จด้วย
เมื่อเรือที่ประทับแล่นตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็เกิดอุบัติเหตุถูกเรือลำอื่นแล่นแซง อีกทั้งนายท้ายเรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ เมาเหล้าขาดสติในการบังคับเรือ จึงทำให้เรือล่มลง แต่ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าไปช่วยเหลือ เนื่องจากเกรงกลัวกฎมณเฑียรบาลที่ว่า ห้ามผู้ใดแตะต้องพระวรกายพระมเหสีมิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งโคตร
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่กำลังทรงพระครรภ์ พร้อมด้วยพระราชธิดาอายุเพียง 1 พรรษาเศษ จึงสิ้นพระชนม์ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเหตุให้ประชาชนเรียกพระองค์ว่า "พระนางเรือล่ม" ในเวลาต่อมา
ความรักและความอาลัยในตัวสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ นี้ ทำให้พระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโศกสลดถึงที่สุด และได้ทรงสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นหลายแห่งตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระมเหสีอันเป็นที่รักของพระองค์
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ที่พระราชวังบางปะอิน
สถานที่แรกที่จะกล่าวถึงนี้ แม้ไม่ได้เป็นอนุสรณ์ที่รัชกาลที่ 5 สร้างขึ้น แต่ก็ถือเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมาก นั่นก็คือ “ศาลสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลพระนางเรือล่ม” ศาลแห่งนี้ตั้งอยู่ที่วัดกู้ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเดิมทีนั้น วัดกู้มีชื่อว่าวัดหลังสวน แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่ม และได้มีการกู้พระศพและซากเรือขึ้นที่วัดนี้ คนทั่วไปจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดกู้ตั้งแต่นั้นมา
ณ บริเวณที่เรือพระที่นั่งของล่มลงนี้ ชาวบ้านจึงร่วมใจช่วยกันตั้งศาลพระนางเรือล่มขึ้น โดยศาลพระนางเรือล่มที่วัดกู้นี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ศาล คือที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่ง และสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณวัดอีกแห่งหนึ่ง ภายในศาลซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำนี้ ภายในมีพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และรัชกาลที่ 5 มีดอกไม้และพวงมาลัยที่มีผู้นำมาบูชา อีกทั้งยังมีชุดไทยที่มีคนนำมาถวายอีกด้วย ซึ่งชุดไทยที่อยู่ในตู้กระจกด้านหน้านั้นเป็นชุดที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ทรงนำมาถวาย
ส่วนอีกศาลหนึ่งที่อยู่ในบริเวณวัดนั้น ภายในมีพระรูปของพระนางเรือล่มอยู่ และนอกจากนั้นก็ยังมีศาลาที่เก็บเรือเก่าแก่ลำหนึ่ง กล่าวกันว่าเป็นเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์อีกด้วย
สำหรับ "อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนั้น ก็มีอยู่ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยหลังจากที่รัชกาลที่ 5 ได้มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้าฯ และพระราชธิดาแล้ว ก็ได้ทรงโปรดฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงด้วยความอาลัยรัก พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ที่อนุสาวรีย์นั้นด้วย โดยมีข้อความอาลัยลึกซึ้งว่า
สถูปพระนางเรือล่ม เเปลกตากว่าที่อื่นด้วยรูปทรงปิรามิด
"ที่รฤกถึงความรัก แห่งสมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชาเทวีอรรคมเหษี อันเสด็จทิวงคตแล้ว ซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยมีความศุขสบายและเป็นที่เบิกบานใจ พร้อมด้วยผู้ซึ่งเป็นที่รัก แลที่สนิทยิ่งของเธอ อนุสาวรีย์นี้ สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์ บรมราช ผู้เป็นสวามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิต ถึงกระนั้นก็ยังมิได้หักหาย"
ส่วนที่จังหวัดจันทบุรี ก็มีอนุสาวรีย์แห่งความรักนี้เช่นกัน โดย "สถูปพระนางเรือล่ม" นี้ ตั้งอยู่ที่น้ำตกพลิ้ว ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ทรงโปรด หลังจากที่เคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วเมื่อปี พ.ศ.2417
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ที่สวนสราญรมย์
อนุสาวรีย์แห่งนี้มีลักษณะที่แปลกแตกต่างจากอนุสาวรีย์อื่นๆ ตรงที่เป็นสถูปทรงปิรามิด ที่ภายในบรรจุพระอังคารของพระนางเจ้าฯ ไว้ โดยเหตุที่สร้างสถูปเป็นรูปทรงนี้ก็มาจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ที่ว่า “ทำเป็นรูปอื่นอาจไม่คงทนถาวร เพราะตั้งอยู่กลางป่าเขาลำเนาไพร อันไม่มีผู้ดูแล ฉะนั้น เมื่อปิรามิดของอียิปต์ยืนยงคงทนอยู่ได้ฉันใด ปิรามิดน้อยนี้ก็จะยืนยงคงทนอยู่เช่นกัน ณ ท่ามกลางป่าเขาและเสียงไหลรินของธารพลิ้ว”
ในกรุงเทพมหานครเองก็มีอนุสรณ์ที่รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเช่นกัน โดย "อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์" นั้น ตั้งอยู่ภายในสวนสราญรมย์ สวนสาธารณะภายในเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ พระราชวังที่รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
สุนันทานุสาวรีย์ ภายในสุสานหลวงวัดราชบพิธฯ
สำหรับตัวอนุสาวรีย์นั้น สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ บริเวณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ เคยทรงพระสำราญเมื่อครั้งยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ตัวอนุสาวรีย์ทำด้วยหินอ่อนสีขาวมียอดเป็นปรางค์เป็นที่บรรจุพระอัฐิและมีคำจารึกแสดงความทุกข์โทมนัสของพระองค์บนแผ่นหินอ่อน อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ท่ามกลางต้นลั่นทมส่งกลิ่นหอมเย็น บรรยากาศสงบเป็นอย่างยิ่ง
และในสุสานหลวงของ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นสุสานหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา ตลอดจนพระราชโอรสธิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็มี "สุนันทานุสาวรีย์" ซึ่งเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สุนันทานุสาวรีย์นี้สร้างเป็นรูปแบบเจดีย์สีทอง โดยมีเจดีย์ที่มีลักษณะคล้ายกันอีก 3 องค์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สว่างวัฒนา) สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (เสาวภาผ่องศรี) และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
แม้อนุสรณ์แห่งความรักของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้นจะไม่ยิ่งใหญ่เทียบเท่าทัชมาฮาล แต่ก็แสดงออกถึงความรักและอาลัยในพระราชหฤทัยของพระองค์ได้เป็นอย่างดี

Ji Fan กล่าวว่า...

ตำหนักที่ 20 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพยนิภา
โดย นายพงศธร พันธ์จินดา
รหัส 51123407031

กันยายน 22, 2008 4:44 ก่อนเที่ยง

เปลี่ยนเป็น
เรื่อง พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย

Ji Fan กล่าวว่า...

เรื่อง พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย
โดย นายพงศธร พันธ์จินดา
รหัส 51123407031

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย หรือ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 3 แรม 13 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. 1218 ตรงกับ พ.ศ. 2399 ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอ ลำดับที่ 29 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์

พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย เป็นพระราชโอรสพระองค์โตที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนาม อุณากรรณ เนื่องจากเมื่อเจ้าจอมมารดาเปี่ยมเข้ามาอยู่ในวัง ได้เล่นละครเรื่องอิเหนาเป็นตัวอุณากรรณ (นางบุษบาปลอมตัวเป็นชาย) [1] พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย มีพระอนุชาพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดา 5 พระองค์ คือ
• พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ)
• พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์(สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์)
• พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)
• พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ)
• พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตน์วิศิษฎ์)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อที่ดินบริเวณต้นถนนเจริญกรุง เพื่อสร้างวังพระราชทาน แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ไปประทับที่วังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูบดีราชหฤทัย (พระองค์เจ้าอมฤตย์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3) อยู่ริมแม่น้ำใกล้กับป้อมมหาฤกษ์ บริเวณโรงเรียนราชินี และสร้างวังใหม่ให้บนที่ดินพระราชทาน เมื่อ พ.ศ. 2413 เรียกกันว่าวังสะพานถ่าน พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชยประทับอยู่ที่วังนี้ไม่นานก็สิ้นพระชนม์ และวังนี้ตกทอดมาสู่พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เมื่อพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ทรงย้ายไปประทับที่วังเทวะเวสม์ ในรัชกาลที่ 6 วังนี้ได้อยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และได้รื้อวังสร้างเป็นตลาดขายอาหาร ชื่อ ตลาดบำเพ็ญบุญ และเป็นโรงเรือนให้เช่าแสดงมหรสพ ปัจจุบันคือ ศูนย์การค้าดิโอลด์สยามพลาซา [2]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ทรงรับราชการเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก สิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีระกาเบญจศก จ.ศ. 1235 ตรงกับ พ.ศ. 2416 พระชันษา 18 ปี ยังไม่มีพระทายาท
อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2&action=history

Fenrin กล่าวว่า...

ความเชื่อเรื่องการไหว้แม่

เนื่อหา: หากจะกล่าวถึงวัฒนธรรมของสวนสุนันทานั้นก็มีมาอย่างยาวนานและ ต่างก็เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้คน และวัฒนธรรมของสวนสุนันทานั้นก็มีหลายอย่าง และยังคงดำรงสืบทอด ต่อกันมาจากอดีต จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงรักษาไว้เพื่อ ให้สิ่งเหล่านี้ยังคงดำรงสืบทอดต่อไปในอนาคต เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมหรือ ได้รู้จักว่าในอดีตมันเป็นยังไง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ต้องร่วมแรงร่วมใจกัน ช่วยอนุรักษ์ ไม่ให้สูญหายไป ในวัฒนธรรมของสวนสุนันทา ก็มีอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยเพราะถือว่ามันสิ่งที่สำคัญมากในการที่เข้ามาอยู่ในรั้วของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาซึ่งก็คือการไหว้แม่ ซึ่งแม่ในที่นี้หมายถึง พระนางเจ้าสุนันทากุมารรีตน์ เพราะการที่เราเข้ามาในรั้วของสวนสุนันทาแล้วเราก็ต้องนับถือพระนางเข้าสุนันทากุมารรีตน์ เปรียบเสมือนแม่ และในการไหว้แม่ นั้นก็ต้องใช้ดอกกุหลาบที่มีสีสวยงาม และใบก็ต้องสวยงามด้วย และก็ขอพรต่างๆได้และหลังจากไหว้ เสร็จแล้วก็ เด็ดกลีบดอกกุหลาบที่เราคิดว่าสวยทึ่สุดมา1กลีบและเก็บรักษามันไว้ให้ดี เพราะจะทำให้พรสมปรารถนา แต่เรื่องความเชื่อนี้ก็เป็นความเชื่อส่วนบุคคล หรือเป็นหมู่คณะ เพราะฉะนั้นหาก เราไม่เชื่อหรือไม่ ไม่ค่อยศรัทธาในด้านนี้ก็ไม่ควรที่จะมองคน ที่เขาเชื่อว่างมงาย เพราะเราว่ากันไม่ได้ แต่หากเราไม่เชื่อก็ไม่ควรลบหลู่ เพราะนี่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากๆ และการไหว้แม่นี่ก็มีมายาวนานเพราะมันเป็นสิ่ง ที่ทุกคนต้องทำในการเข้ามาในรั้วของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เพราะฉะนั้นเราควรจะรักษา วัฒนธรรมนี้ให้อยู่ต่อไป คู่กับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

โดย นายเอกสิทธิ์ วูฒิประเสริฐพงศ์
รหัส 51123407035

ToN กล่าวว่า...

โดย : นายศราวุธ นามขันธ์
รหัส : 51123407001

หัวข้อเรื่อง : สถานที่ตั้ง

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10300 โทรศัพท์ 0-2243-2240-6

พื้นที่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต เขตพระราชฐานใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดสร้างเป็นสวนป่าสำหรับเสด็จประพาส เพื่อสำราญอิริยาบถ และเป็นที่อยู่อาศัยในวันหน้าสำหรับเจ้าจอมของพระองค์ ได้พระทรงกรุณาโปรดเกล้าฯว่า "สวนสุนันทา"

การคมนาคม : ถนนราชวิถี 18 19 28 56 108
510 515 ปอ.พ.4 539
ถนนสามเสน 3 9 16 19 30 32 49 64 65 99 110 505 524

ToN กล่าวว่า...

หัวข้อเรื่อง : ตำหนักที่ 27 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงนิภานพดลวิมลประภาวดี

เนื้อหา : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 3 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติ ณ วันเสาร์ ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2429 เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้านิภานภดล"

เมื่อปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า[1] ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล" หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามาภิไธยสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี"[2] หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี"[3] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสเรียกพระองค์ว่า "หญิงเล็กนิภา" และชาววังเรียกพระองค์ว่า "สมเด็จหญิงน้อย"

พระองค์มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระมารดาอีก 3 พระองค์ ซึ่งมีพระนามที่คล้องจองกัน ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร สมเด็จเจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา และสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล

พระองค์เป็นพระราชธิดาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงไว้วางพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง ได้รับการโปรดเกล้าให้รับราชการในหน้าที่ราชเลขานุการิณีและเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2450 ก็ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขากลับมาสู่ประเทศไทย ถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้เพื่อทรงเล่าเรื่องการเสด็จอย่างละเอียดลออ (ทำให้เกิดหนังสือรวบรวมพระราชหัตถเลขาเหล่านั้นว่า ชื่อว่า ไกลบ้าน)[4]

พระองค์ทรงร่วมกับสมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา พระเชษฐภคินีของพระองค์บริจาคทุนทรัพย์สร้างเครื่องใช้สำหรับ "ตึกเยาวมาลย์อุทิศ" โรงเรียนเทพศิรินทร์ นอกจากนี้ เนื่องในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนม์ได้ 28 พรรษา เสมอด้วยพระชนมพรรษาแห่งสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี สมเด็จพระอัยยิกาเจ้าของพระองค์ พระองค์จึงทรงได้สร้าง "ตึกนิภานภดล" ถวายแก่วัดเทพศิรินทราวาส สำหรับเป็นโรงเรียนสอนปริยัติธรรมเพื่ออุทิศพระกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี[5]

หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีซึ่งในขณะนั้นถือได้ว่าพระองค์ทรงอยู่เพียงลำพังพระองค์เดียว เนื่องจากพระมารดา พระเชษฐา และพระเชษฐภคินีต่างสิ้นพระชนม์ลงหมด ดังนั้น พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย พร้อมกับครอบครัวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา[6] และเสด็จสิ้นพระชนม์ที่นั่น เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2478

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวถึงพระองค์ไว้ในคำนิยามพระนิพนธ์เรื่อง เที่ยวเมืองพม่า ว่า “น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า” พร้อมทั้งทรงสรรเสริญว่า “ทรงพระคุณอย่างเป็นขัติยนารีแท้ทุกสถาน ทรงพิสูจน์ให้ปรากฏแล้ว ทั้งในเวลาที่มีความสุข และในเวลาได้รับความทุกข์ยาก สมควรกับที่ทรงสร้อยพระนามกรมว่า “ขัติยนารี” เป็นอนุสรณ์อยู่กับพระนามตลอดไป” [7]

อ้างอิง

1^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีมาศ และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม ๕, ตอน ๘, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๘๘, หน้า ๖๑
2^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทานพระสุพรรณบัตร, เล่ม ๑๕, ตอน ๔๒, ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๑๘๙๙, หน้า ๔๔๑
3^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรมตั้งกรม และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๑๖
4^ “๑๐๐ ปี ไกลบ้าน ตามเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง” จาก เว็บไซต์ ThaiPBS
5^ สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
6^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, “น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า”, สกุลไทย, ฉบับที่ 2533, ปีที่ 49, ประจำวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2546
7^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, พนักงานห้องพระบรรทม, สกุลไทย, ฉบับที่ 2413, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 16 มกราคม 2544
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี วันประสูติ : 4 ธันวาคม พ.ศ. 2429
วันสวรรคต : 29 มกราคม พ.ศ. 2478 พระราชบิดา : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
พระราชมารดา : พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
ราชวงศ์ : ราชวงศ์จักรี

โดย : นายกฤตยศ ปี่บัว
รหัสนักศึกษา : 51123407029

ToN กล่าวว่า...

ชื่อเรื่อง : ตำหนักที่ 24 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์หญิงวรลักษณาวดี

เนื้อหา : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสุด สุกุมลจันทร์ (ธิดาพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น) กับคุณหญิงกลิ่น) เมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค้ำ เดือน 8 ปฐมาษาฒ ปีวอก ตรงกับวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2415

พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2469 ปีขาล พระชันษา 55 ปี

อ้างอิง
ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช -- กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. (ISBN 974-222-648-2)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี
ข้อมูล
วันประสูติ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2415
วันสิ้นพระชนม์ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2469
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มารดา เจ้าจอมมารดาสุด กุสุมลจันทร์
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี

โดย : นาย สุชาติ ศรีสว่าง
รหัส : 51123407009

Unknown กล่าวว่า...

หัวข้อ หนังสือ สวนสุนันทา : มรดกวัฒนธรรมบนเกาะรัตนโกสินทร์

หัวข้อเรื่อง : ผู้ก่อตั้งพระราชฐานสวนสุนันทา (รัชกาลที่5 )
เนื้อหา
รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ ๑ ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์
• พระนามเต็ม : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุฒมพงษ์บรพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภ ผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรพรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศ มโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริ รัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรามหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติ อาชาวศรัย พุทธาธิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอม- เกล้าเจ้าอยู่หัว
• สมเด็จพระชนนีของรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ 4 ครั้ง
1) พระองค์เจ้ารำเพยมหาภิรมย์ (หม่อมเจ้ารำเพย)
2) สมเด็จพระนางนาฏบรมอัครราชเทวี (เทียบเท่ากับตำแหน่ง “พระบรมราชินี” ในปัจจุบัน)
3) กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (พระนามฉลองพระอัฐิ)
4) ในปัจจุบันขนานพระนามว่า “สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี”
• พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
• เสด็จขึ้นครองราชย์วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุได้ 15 พรรษา 10 วัน โดยมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 (ขณะที่ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงมีพระชนมายุได้ 15 พรรษา 11 เดือน 22 วัน) เป็นการขึ้นเสวยราชสมบัติในลักษณะที่เรียกว่า “อเนกนิรสโมสรสมมติ” คือ ด้วยความยินยอมพร้อมใจของทุกฝ่ายที่ประชุมคัดเลือก อันมี เจ้านาย ขุนนาง และพระสงฆ์ ราชาคณะ (เป็นการตั้งพระเจ้าแผ่นดิน โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ แต่คำนึงถึงความสามารถ และความเหมาะสมเป็นหลัก)
• ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วฯ) เป็นเวลา 27 วัน โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระศาสนโสภณ (สมเด็จพระสังฆราช วัดราชประดิษฐ์ สถิตย์มหาสีมาราม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยทรงผนวชเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 (ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 19 พรรษา 11 เดือน 26 วัน) และลาผนวชเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2416 (ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา 21 วัน)
• ทรงทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2416 (ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา 26 วัน)
• ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 (ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 21 พรรษา 7 เดือน 18 วัน) ในปัจจุบัน อายุครบ 133 ปีแล้ว
• ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาในพระองค์ หรือ Prime Council เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 (ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 21 พรรษา 9 เดือน 25 วัน) ปัจจุบันสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเปลี่ยนชื่อเป็น “องคมนตรี” และปัจจุบันมีอายุครบ 133 ปี (พ.ศ. 2550)
• ไทยเสียเนื้อที่ให้กับฝรั่งเศสทั้งหมด 87,000 + 143,000 + 12,000 + 51,000 = 293,000 ตารางกิโลเมตร
ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์• Absolute Monarchy
• ระบอบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญConstitutional monarchy
• กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานนามใหม่ จากแต่เดิมที่ใช้ชื่อว่า “กองทหาร 2 โหล ถือเป็นชไนเดอร์”
• รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์ทั้งสิ้น 15,320 วัน
กรุงเทพฯ –• รถไฟหลวงสายแรก นครราชสีมา เปิดใช้เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 (ณ ปีที่เขียนเรื่องนี้ ก็จะครบ 111 ปี) ขณะนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระชนมายุ 43 พรรษา 7 เดือน 6 วัน
• กรุงเทพฯ – ปากน้ำ สมุทรปราการ เปิดบริการเมื่อวันที่ 11 เมษายนรถไฟราษฎร์สายแรก พ.ศ. 2436 ระยะทางประมาณ 25 ก.ม.
ระหว่างกรุงเทพฯ –• โทรเลขสายแรก สมุทรปราการ ความยาว 45 กม.
ระหว่าง กรุงเทพฯ – บางปะอิน• โทรเลขสายที่ 2 สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2426
เปิดวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431• โรงพยาบาลศิริราช ขณะนั้นรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระชนมายุ 34 พรรษา 7 เดือน 6 วัน
• วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ขณะนั้น รัชกาลที่ 5ประกาศเลิกทาสทั่วราชอาณาจักร ทรงมีพระชนมายุ 51 พรรษา 7 เดือน 10 วัน
• วัดที่รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างมี 7 วัด ดังนี้
1) วัดเทพศิรินทราวาส
2) วัดราชาธิวาส
3) วัดราชบพิธ
4) วัดเบญจมบพิตร
5) วัดนิเวศธรรมประวัติ
6) วัดอัษฎาคนิมิตร
7) วัดจุฑาทัศธรรมสภาราม
• วัดที่รัชกาลที่ 5 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ มี 8 วัด ดังนี้
1) วัดสระเกศ
2) วัดปฐมนิวาส
3) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
4) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
5) วัดมกุฏกษัตริยาราม
6) พระพุทธบาทสระบุรี
7) วัดสุวรรณคาราม
8) พระปฐมเจดีย์ (ทรงสร้างต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ)
• สถานศึกษาชั้นสูงทางศาสนาที่รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างมี 2 แห่งคือ
1) มหามกุฏราชวิทยาลัย
2) มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
• ไทยต้องเสียเนื้อที่กับฝรั่งเศสและอังกฤษ ทั้งหมดรวมแล้วเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น 518,700 ตารางกิโลเมตร
• เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2440 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2440 รวมระยะเวลาที่เสด็จประพาสยุโรปทั้งสิ้น 253 วัน
• พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรส – พระราชธิดา เกิดวันพฤหัสบดีมากที่สุด 13 องค์
• พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอม รวมทั้งหมด ๙๒ พระองค์ โดย ๓๖ พระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา อีก ๕๖ พระองค์ไม่มี และพระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๗ พระองค์

• วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงงดเว้นพระราชกรณียกิจทุก ๆ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์อย่าง เพราะเนื่องจากในวันนี้ ในปี พ.ศ. 2423 พระบรมราชเทวี ทรงเสด็จสวรรคต และในวันนี้อีกเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2430 สมเด็จเจ้าฟ้าชายสิริราชกกุธภัณฑ์ ก็ทรงสิ้นพระชนม์อีกเช่นกัน
• สมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระสูติกาล ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2421 เวลา 23 นาฬิกา 11 นาที 25 วินาที และสิ้นพระชนมายุเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423
• สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 19 ปี 6 เดือน 22 วัน


พระราชฐานสวนสุนันทา สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีพระราชประสงค์จะให้สร้างพระราชฐานที่ประทับสำหรับพระมเหสีเทวี พระราชธิดา และเจ้าจอมพระสนม ภายหลังจากที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว แต่การณ์ก็ยังมิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชโอรสจึงทรงรับพระราชภาระในการสร้างพระราชฐานแห่งนี้สืบต่อจากพระราชบิดา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างพระตำหนักต่างๆ รวม 32 ตำหนัก และพระยาประชากรวิจารณ์ (โอ อมาตยกุล) เป็นผู้ควบคุมงาน การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2462

โดย นางสาว รมิดา ดุสิตดำรงศีล
รหัส 51123407024

NATTHAKON กล่าวว่า...

นายณัฐกร พวงทอง รหัส 51123407006

หัวข้อ : "เจ้าจอมอาบ บุนนาค"

เนื้อหา : เจ้าจอมอาบ บุนนาค (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504) เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออ

เจ้าจอมอาบ เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 เป็นบุตรคนที่ 12 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่(สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน

เมื่อเจ้าจอมอาบอายุได้ 10 ปี ได้เข้ากรุงเทพ เพื่อร่วมขบวนแห่โสกันต์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2434 และเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2438 เมื่ออายุได้ 14 ปี มีหน้าที่ถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับเจ้าจอมเอิบ และเจ้าจอมเอื้อน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมอาบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก" ริมถนนสุโขทัย ติดกับสวนของเจ้าจอมเอิบและสวนเจ้าจอมเอื้อน ปัจจุบันคือ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา ต่อมาภายหลัง ท่านเจ้าจอมอาบ ได้ย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา หรือเสด็จพระองค์อาทรฯ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ซึ่งทรงถูกพระอัธยาศัยกันกับท่านเจ้าจอม ท่านเจ้าจอมจึงย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับเสด็จพระองค์อาทรฯ ที่ตำหนักทิพย์ ส่วนเรือนของท่านเอง ที่สร้างในที่พระราชทานใกล้ๆกับเรือนของเจ้าจอมพี่น้องของท่านนั้น ท่านยกเป็นมรดกให้กับหลานที่ท่านเลี้ยงมาตั้งแต่เล็กไปเลยก่อนที่จะย้ายมา พำนักที่ตำหนักทิพย์เป็นการถาวร จนกระทั่งเสด็จพระองค์อาทรฯ สิ้นพระชนม์ในปี ๒๕๐๑ ท่านเจ้าจอมอาบเป็นผู้ดูแลเตรียมงานพระศพจนลุล่วงไปด้วยดี และท่านก็ยังคงพำนักอยู่ ณ ตำหนักทิพย์ต่อมา

ท่านเจ้าจอมอาบ ถึงแกอนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ด้วยอาการหัวใจวาย ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ 80 ปี

อ้างอิง : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%9A_%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84

NATTHAKON กล่าวว่า...

นายณัฐกร พวงทอง รหัส 51123407006

หัวข้อ : "เจ้าจอมอาบ บุนนาค"

เนื้อหา : เจ้าจอมอาบ บุนนาค (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504) เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออ

เจ้าจอมอาบ เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 เป็นบุตรคนที่ 12 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่(สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน

เมื่อเจ้าจอมอาบอายุได้ 10 ปี ได้เข้ากรุงเทพ เพื่อร่วมขบวนแห่โสกันต์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2434 และเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2438 เมื่ออายุได้ 14 ปี มีหน้าที่ถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับเจ้าจอมเอิบ และเจ้าจอมเอื้อน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมอาบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก" ริมถนนสุโขทัย ติดกับสวนของเจ้าจอมเอิบและสวนเจ้าจอมเอื้อน ปัจจุบันคือ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา ต่อมาภายหลัง ท่านเจ้าจอมอาบ ได้ย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา หรือเสด็จพระองค์อาทรฯ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ซึ่งทรงถูกพระอัธยาศัยกันกับท่านเจ้าจอม ท่านเจ้าจอมจึงย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับเสด็จพระองค์อาทรฯ ที่ตำหนักทิพย์ ส่วนเรือนของท่านเอง ที่สร้างในที่พระราชทานใกล้ๆกับเรือนของเจ้าจอมพี่น้องของท่านนั้น ท่านยกเป็นมรดกให้กับหลานที่ท่านเลี้ยงมาตั้งแต่เล็กไปเลยก่อนที่จะย้ายมา พำนักที่ตำหนักทิพย์เป็นการถาวร จนกระทั่งเสด็จพระองค์อาทรฯ สิ้นพระชนม์ในปี ๒๕๐๑ ท่านเจ้าจอมอาบเป็นผู้ดูแลเตรียมงานพระศพจนลุล่วงไปด้วยดี และท่านก็ยังคงพำนักอยู่ ณ ตำหนักทิพย์ต่อมา

ท่านเจ้าจอมอาบ ถึงแกอนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ด้วยอาการหัวใจวาย ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ 80 ปี

อ้างอิง : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%9A_%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84

เนตรทราย จิตรักมั่น กล่าวว่า...

หนังสือ สวนสุนันทา มรดกวัฒนธรรมบนเกาะรัตนโกสินทร์ โดย น.ส เนตรทราย จิตรักมั่น เรื่องการแต่งกายหญิง

เครื่องแต่งกายของสตรีไทยในสมัยนี้ได้ดัดแปลงแก้ไขหลายครั้ง
แต่เดิมในราชสำนักยังคงนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบแพรเฉียงแนบกับตัวเปล่า

ต่อมาในปี พ.ศ.2416 โปรดให้เปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายใหม่ให้สตรีนุ่งผ้ายกจีบ ห่มตาด
หรือห่มสไบปักเฉพาะเวลาเต็มยศใหญ่เท่านั้น ในโอกาสทั่วไป นุ่งผ้าโจงกระเบนสวมเสื้อพอดีตัว
ผ่าอก คอกลมหรือคอตั้งเตี้ย ๆ ปลายแขนแคบยาวถึงข้อมือ ชายเสื้อยาวเพียงเอว เรียกว่า“เสื้อกระบอก”
แล้วห่มแพรจีบตามขวางสไบเฉียงทับบนเสื้ออีกชั้นหนึ่ง
แพรจีบที่ใช้ห่มสไบเฉียงทับเสื้อนี้ ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นแพรสะพาย
ซึ่งใช้แพรชนิด ที่จีบตามขวางเอวนั้นมาจีบตามยาวอีกครั้งหนึ่ง
จนเหลือเป็นผืนแคบตรึงให้เหมาะ แล้วสะพายมาบนบ่าซ้าย
รวบชายแพรทั้ง 2 ข้างเข้าด้วยกันทางด้านขวา
ของเอวคล้าย ๆ สวมสายสะพาย และสวมรองเท้าบู๊ตโดยมีถุงเท้าหุ้มตลอดน่องด้วย

ในปี พ.ศ.2440 หลังจากเสด็จกลับจากยุโรปได้ทรงนำแบบอย่างการแต่งกายของชาวยุโรป
มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทย
สตรีในครั้งนั้นจึงเริ่มใช้เสื้อตัดตามแบบยุโรป สวมถุงเท้า
แต่ยังคงนุ่งโจงกระเบนและสะพายแพรอยู่ แบบเสื้อที่นิยมกันมากในสมัยนี้ก็คือ
เสื้อแขนพองแบบฝรั่ง คอตั้ง แขนยาว ต้นแขนพองคล้ายขาหมูแฮม จึงเรียกว่า “เสื้อหมูแฮม”
มีผ้าห่มหรือแพรสไปเฉียงแล้วแต่โอกาส ทับตัวเสื้ออีกทีหนึ่ง

ปลายรัชกาลที่ 5 สตรีนุ่งโจงกระเบนกันเกือบทั้งหมด แต่ตัวเสื้อนิยมใช้ผ้าแพร ไหม ผ้าลูกไม้
ตัดแบบชาวตะวันตก คอตั้งสูง แขนยาว ฟูพองหรือระบายลูกไม้เป็นชั้น ๆ รอบแขนเสื้อ
บางทีเอวเสื้อจีบเข้ารูป บางทีคาดเข็มขัด สวมถุงเท้ายาว รองเท้าส้นสูง
หญิงชาวบ้านทั่วไปยังคงนุ่งโจงกระเบนเป็นประจำและห่มผ้าแถบอยู่กับบ้านเช่นเคย
ไม่นุ่งจีบ ยกเว้นคนชั้นสูงจะมีงานมงคลอะไรใหญ่เป็นพิเศษก็อาจแต่งบ้างบางราย
(การนุ่งจีบมักจะนุ่งแต่คนชั้นสูงเท่านั้น)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลิกผมปีกไว้ผมยาวแทน
โดยให้เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าจอมมารดาแพ พระสนมเอก เป็นผู้นำคนแรก
ด้วยการไว้ผมยาวประบ่า ต่อมาพวกเจ้านายฝ่ายในและหม่อมห้ามได้ทำตาม
แต่บางคนไว้ผมตัดทรงดอกกระทุ่ม จึงได้แพร่หลายสู่ประชาชน ต่อมา
ทำให้ไว้ผมยาวประบ่าบ้าง ไว้ผมทรงดอกกระทุ่มบ้าง แต่ส่วนใหญ่นิยมผมทรงดอกกระทุ่ม
สตรีสมัยนั้นเริ่มใช้เครื่องสำอางอย่างชาวตะวันตกบ้าง
นิยมใช้เครื่องประดับสร้อยข้อมือ สร้อยคอ สร้อยตัว (สร้อยเฉลียงบ่า) แหวน กำไล ใส่ตุ้มหูบ้าง
แต่มักไม่ค่อยใส่กัน

เข็มขัดทอง เงิน นาก ถ้าเป็นคนชั้นสูงที่นุ่งจีบจะต้อง ใช้เข็มขัดคาด ก็มักจะใช้เข็มขัดทองทำ
หัวมีลวดลายงดงามลงยาประดับเพชรพลอย
การใช้เครื่องประดับของสตรีนั้นแตกต่างกัน
ถ้าเป็นภรรยา บุตรหลานข้าราชการขุนนาง เวลาอยู่กับบ้านมักไม่ค่อยแต่งเครื่องประดับ
จะมีแต่งบ้างเป็นพวกสร้อยข้อมือเล็ก ๆ สร้อยคอสายเล็ก ๆ ใส่แหวนบ้าง ตุ้มหูไม่ค่อยใส่กัน

แต่ถ้าเป็นหญิงชาวสวน นิยมใส่สร้อยข้อมือ สร้อยคอเส้นโตๆ ใส่แหวนเป็นประจำ
ตุ้มหูมีใส่บ้างแต่ไม่นิยมกัน ถ้าเปรียบกับสมัยปัจจุบันก็คล้าย ๆ กับตู้ทองเคลื่อนที่
และเป็นธรรมเนียมสืบทอดมาจนปัจจุบัน
ที่ชาวชนบทบางคน หรือผู้ที่มีความคิดอยากจะแต่งเพื่อโอ้อวด หรือ แสดงถึงความเป็นผู้มีฐานะ
ยังคงนิยมแต่งอยู่ก็มี แต่ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2525) ทองมีราคแพงมาก
ทำให้มีการวิ่งราวชิงทรัพย์กันอยู่บ่อย ๆ คนแต่งเครื่องประดับมีค่าจึงลดน้อยลง
แต่ก็เกิดเครื่องประดับ วิทยาศาสตร์ใช้แทน ทำให้ “ไม่รวยก็สวยได้”

เด็กหญิงในสมัยนี้ นุ่งโจงกระเบนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ไม่สวมเสื้อเวลาออกงาน
จึงสวมเสื้อคอติดลูกไม้ที่เรียกว่า เสื้อคอกระเช้า
เวลาแต่งตัวเต็มที่นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาวคอปิดแต่งด้วยผ้าลูกไม้งดงาม สวมถุงเท้า รองเท้า
เจ้านายที่ทรงพระเยาว์ ทรงฉลองพระองค์แขนยาว พองและทรงเครื่องประดับมาก
ยังคงนิยมไว้ผมจุก เมื่อตัดจุกแล้วจึงเริ่มไว้ผมยาว

nam กล่าวว่า...

ประวัติ
มีเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานข้าวแช่ที่นำมาจากหนังสือเมืองโบราณ
เรื่องมีอยู่ว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งมั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ แก้วแหวนเงินทอง ขาดอยู่แต่ทายาทที่จะรับสืบทอดมรดก จึงไปทำพิธีบวงสรวงพระอาทิตย์พระจันทร์อยู่นาน จนเวลาล่วงไป 3 ปี ยังไม่มีลูก เห็นทีจะไม่ได้ผล จึงเปลี่ยนไปบวงสรวงพระไทร ซึ่งสิงสถิตต้นไม้ใหญ่ริมน้ำ ในการจัดเครื่องบวงสรวงครั้งนี้ เศรษฐีสั่งให้บริวารเอาข้าวสารเมล็ดงามล้างน้ำถึง 7 ครั้งจนบริสุทธิ์หมดมลทิน แล้วจึงหุงข้าวนั้นเพื่อบูชาพระไทร ประกอบด้วยอาหารโอชารสอีกมากมาย ล้วนจัดทำประณีตทั้งสิ้น จากนั้นเศรษฐีจึงอธิษฐานขอบุตรจากพระไทร ฝ่ายพระไทรเห็นความพยายามของเศรษฐี ก็เมตตา จึงไปเฝ้าพระอินทร์ทูลขอบุตรให้เศรษฐีได้ผล พระอินทร์จึงโปรดให้เทวบุตรนามว่าธรรมปาล จุติลงมาเกิดในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐียินดีปรีดามากตั้งชื่อลูกชายว่า ธรรมบาลกุมาร พร้อมสร้างปราสาทเจ็ดชั้นให้ลูกชาย เป็นที่มาของนิทานมหาสงกรานต์ที่ได้ยินกัน
ขอตัดต่อมาที่เรื่องข้าวแช่ ว่าชาวมอญหุงข้าวแช่ในงานสงกรานต์ คงไม่ใช่เพื่อขอลูก แต่เพื่อถวายพระ และข้าวที่หุงนี้ไม่เหมือนกับที่กินหรือขายกันทั่วไป แต่กรรมวิธีพิเศษพิสดารกว่า เช่น ต้องใช้ข้าวสารดีเยี่ยม 7 กำ ซ้อมข้าวนั้นให้ได้ 7 ครั้ง แล้วซาวน้ำบริสุทธิ์ 7 หน จึงนำมาหุง ตามประเพณีต้องหุงกลางแจ้ง ถ้าจะให้เต็มพิธีต้องปักราชวัตรฉัตรธงด้วย นอกจากถวายข้าวแช่พระแล้ว ข้าวแช่นี้ยังจะต้องจัดสังเวยเทวดาด้วย โดยปลูกศาลเพียงตาบริเวณบ้าน และสังเวยข้าวแช่เป็นเวลา 3 วัน ข้าวแช่ที่เหลืออยู่อาจนำไปให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือเพื่อเป็นสิริมงคล
ข้าวแช่ที่เราคุ้นเคยกันอยู่ทุกวันนี้ เรียกเต็มๆแบบเพราะพริ้งว่า “ข้าวแช่เสวย” หรือ “ข้าวแช่ชาววัง” ซึ่งหมายถึงข้าวแช่ลอยในน้ำดอกไม้หอมเย็นชื่นใจ ที่รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ลูกกะปิทอดสีส้มจัด เครื่องผัดหวานสีน้ำตาลเข้ม และผักสีสวยทั้งหลายชื่อข้าวแช่ชาววังหรือข้าวแช่เสวยนี้หมายถึงข้าวแช่ที่ชาววังจัดถวายรัชกาลที่ ๕ แล้วโปรดเป็นอย่างมาก หลังจากสิ้นรัชกาลที่ 5 ในปี 2453 แล้ว ข้าวแช่ก็ออกสู่สังคม แล้วกลายเป็นดารายอดฮิตประจำเมนูหน้าร้อน โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์มาตั้งแต่นั้น ข้าวแช่ตำรับที่มีชื่อมากที่สุด เป็นของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ผู้เคยทำงานอยู่ในห้องเครื่องต้นสมัยรัชกาลที่ 5(รัชกาลที่ ๕ ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ ถ้า ม.ล.เนื่องท่านทำงานสมัยนั้น ป่านนี้ท่านอายุเป็นร้อยแล้ว)ท่านถือเป็นคนแรกๆที่ทำข้าวแช่ออกสู่ตลาด และมีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงปัจจุบัน เสน่ห์ข้าวแช่อยู่ที่กรรมวิธีในการปรุง เพราะองค์ประกอบของข้าวแช่นั้นมีมากมาย เคล็ดลับในการทำและทานข้าวแช่ให้ได้อรรถรสจึงอยู่ที่การสังเกตไปพร้อมกับการลิ้มรส ข้าวแช่ต้องมากับ “น้ำดอกไม้” ในฤดูร้อนดอกไม้ไทยต่างพากันชิงออกดอกส่งกลิ่นหอม น้ำที่นำมาใส่ข้าวแช่จึงได้อิทธิพลของดอกไม้เหล่านี้ด้วย นิยมใช้ดอกไม้ไทยที่มีกลิ่นหอมเย็น ส่วนน้ำที่ใช้แต่เดิมมักใช้น้ำฝนใสสะอาด แต่ปัจจุบันมีน้ำแร่ของไทยชนิดไม่อัดแก๊สบรรจุขวดก็นำมาใช้แทนกันได้ดี เวลาเตรียมมักใส่น้ำลงในหม้อดินมีฝาปิด เพื่อให้น้ำนั้นเย็นกว่าอุณหภูมิภายนอก เวลาจะกินสมัยก่อนใช้เกล็ดพิมเสนโรยลงในน้ำเพียงสองสามเกล็ดเพื่อให้เย็นชื่นใจยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันหันไปใช้น้ำแข็งทุบละเอียดแทน “ลูกกะปิทอด” ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกับข้าวแช่ จะดูกันว่าข้าวแช่ของใครที่มีฝีมือก็ต้องพิจารณากันที่ลูกกะปิทอดนี้เอง ถัดมาก็มีพริกหยวกสอด, ปลายี่สนผัดหวาน,เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน,หัวหอมสอดไส้,ผักกาดเค็มผัดหวาน,ปลาแห้งผัดหวาน , หมูสับกับปลากุเลา คือเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานแกล้มกับข้าวแช่ ที่ลืมไม่ได้เลยคือผักสดแกะสลัก เมื่อกับข้าวแช่ส่วนใหญ่เป็นของทอด ก็ย่อมต้องมีผักที่ให้กลิ่นหอมและรสออกเปรี้ยวและขื่นนิดๆไว้ตัดรส แตงกวา มะม่วงดิบ ต้นหอม กระชาย และพริกชี้ฟ้าสด จึงถูกนำมาจัดเป็นผักสดไว้กินแนมกับข้าวแช่ การกินข้าวแช่ก็ยังต้องมีวิธีการกินเช่นกัน เริ่มจากนำข้าวใส่ในน้ำลอยดอกไม้ให้สัดส่วนน้ำมากกว่าข้าวใส่น้ำแข็งเล็กน้อยพอให้เย็นชื่นใจ เวลาจะกินให้ตักกับข้าวใส่ปากแล้วตักข้าวตาม ก็จะได้รสชาติทั้งเย็นฉ่ำและความอร่อยกลมกล่อมของกับข้าว
นี่คือสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมการกินของไทยที่งดงาม ละเอียดอ่อน ไม่แพ้ชาติใดในโลก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์จากจินตนาการทิ้งไว้ให้กับชนรุ่นต่อๆมา เมื่อครั้งที่วัฒนธรรมจากตะวันตกยังมาไม่ถึง นับว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ชนรุ่นหลังควรรักษาไว้ให้ยั่งยืนสืบต่อไป


เครื่องปรุง
ข้าวสาร 1 ส่วน น้ำสะอาด 6 ส่วน

•ซาวข้าวให้สะอาด ใส่น้ำตามส่วน ตั้งไฟคอยคนอย่าให้ไหม้ พอเดือดขนาดเช็ดน้ำได้ ยกลง รินน้ำทิ้งให้หมด ล้างข้าวด้วยน้ำเย็นหลายครั้งจนกว่าข้าวจะเย็น

•ใส่น้ำในลังถึง ตั้งไฟจนเดือด ปูผ้าขาวบางบนลังถึง เทข้าวที่ล้างแล้วลงไป เกลี่ยให้กระจายทั่ว นึ่งประมาณ 10 นาทีหรือดูจนข้าวสุก ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น

•เวลากินตักข้าวใส่ชาม ตักน้ำลอยดอกไม้สดใส่ กินกับเครื่องเคียง



เครื่องเคียงข้าวแช่

หัวผักกาดเค็มผัด
หัวผักกาดเค็มหั่นฝอย ไข่ น้ำตาลทราย

•ล้างหัวผักกาดเค็มให้สะอาด หั่นฝอย ผัดกับไข่ ใส่น้ำตาลให้ออกรสหวาน

ปลาช่อนแห้งผัด
ปลาช่อนเค็ม น้ำตาลทราย

•นึ่งปลาพอสุก ฉีกให้เป็นฝอย ทอดให้กรอบแล้วผัดกับน้ำตาลให้พอมีรสหวาน

พริกหยวกสอดไส้
หมูสับ ½ ก.ก. กุ้งสับ 10 ตัว กระเทียมพริกไทยโขลกรวมกัน 1 ช.ต. น้ำปลา 1 ½ ช.ช. น้ำตาล 1 ช.ช. ไข่ 5 ฟอง พริกหยวก

•เคล้าหมู กุ้ง กระเทียมพริกไทยให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ต่อยไข่ใส่ 1 ฟอง ปั้นเป็นแท่งยาว ทอดจนสุก

•ใส่หมูที่ทอดลงในพริกหยวกที่คว้านไส้ออก นึ่งในลังถึงน้ำเดือดพล่าน 5 นาที พอเย็นบีบน้ำออกให้หมด

•ตอกไข่ที่เหลือ ตีพอแตก ใช้มือชุบไข่แล้วโรยขวางไปมาในกระทะที่ใส่น้ำมันพอลื่นและใช้ไฟอ่อน สุกแล้วลอกออกเป็นชิ้นๆ ห่อพริกให้รอบ

หอมสอดไส้
หอมแดง 20 หัว รากผักชีกระเทียมพริกไทยโขลกรวมกัน 1 ช.ต. เนื้อปลาช่อนนึ่ง 1 ตัว น้ำ 1 ช.ต. น้ำปลา 1-2 ช.ช. เกลือป่น 1 ช.ช. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย หัวกะทิคั้นด้วยน้ำปูนใส 1 ถ้วยไข่ 1 ฟอง

•ปอกเปลือกหอมคว้านไส้ออก สับส่วนที่คว้านออกมาให้ละเอียด

•ผักรากผักชีฯให้หอม ใส่หอมสับ เนื้อปลา น้ำ หัวกะทินิดหน่อย ปรุงรสด้วยน้ำปลา เกลือชิมรสตามชอบ พักไว้ให้เย็น แล้วจึงยัดใส่หัวหอมที่คว้านไว้

•นวดแป้งข้าวเจ้ากับหัวกะทิโดยค่อยๆใส่กะทิทีละน้อยจนเป็นเนื้อเดียวกันและข้นขนาดนมข้น หยิบหอมลงชุบแล้วทอดให้เหลือง

กะปิทอด
กระชาย 7 ราก ตะไคร้ 2 ต้น ข่า 5 แว่น ผิวมะกรูด 1 ช.ช. รากผักชี 1 ช.ช. หอมแดง 9 หัว กระเทียม 10 กลีบ กะปิ 1 ช.ต. เนื้อปลาดุกย่าง 1 ตัว ปลาฉลาดย่าง 2 ตัว น้ำปลาและน้ำตาลอย่างละ 1 ช.ต. ไข่ 3 ฟอง แป้งข้าวเจ้า 1 ช.ต.

•โขลกกระชาย ตะไคร้ ข่า ผิวมะกรูด รากผักชี หอมแดง กระเทียมให้ละเอียด ใส่กะปิ เนื้อปลาโขลกให้เข้ากัน ผัดให้หอม ปรุงรสด้วยน้ำปลาน้ำตาล ผัดจนแห้ง ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น

•ปั้นเป็นก้อนกลมๆเล็กๆ ให้เท่ากัน ต่อยไข่แล้วตีให้แตก ใส่แป้ง คนให้เข้ากัน นำกะปิที่ปั้นไว้ลงชุบแล้วทอดให้เหลือง

nam กล่าวว่า...

ประวัติ
มีเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานข้าวแช่ที่นำมาจากหนังสือเมืองโบราณ
เรื่องมีอยู่ว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งมั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ แก้วแหวนเงินทอง ขาดอยู่แต่ทายาทที่จะรับสืบทอดมรดก จึงไปทำพิธีบวงสรวงพระอาทิตย์พระจันทร์อยู่นาน จนเวลาล่วงไป 3 ปี ยังไม่มีลูก เห็นทีจะไม่ได้ผล จึงเปลี่ยนไปบวงสรวงพระไทร ซึ่งสิงสถิตต้นไม้ใหญ่ริมน้ำ ในการจัดเครื่องบวงสรวงครั้งนี้ เศรษฐีสั่งให้บริวารเอาข้าวสารเมล็ดงามล้างน้ำถึง 7 ครั้งจนบริสุทธิ์หมดมลทิน แล้วจึงหุงข้าวนั้นเพื่อบูชาพระไทร ประกอบด้วยอาหารโอชารสอีกมากมาย ล้วนจัดทำประณีตทั้งสิ้น จากนั้นเศรษฐีจึงอธิษฐานขอบุตรจากพระไทร ฝ่ายพระไทรเห็นความพยายามของเศรษฐี ก็เมตตา จึงไปเฝ้าพระอินทร์ทูลขอบุตรให้เศรษฐีได้ผล พระอินทร์จึงโปรดให้เทวบุตรนามว่าธรรมปาล จุติลงมาเกิดในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐียินดีปรีดามากตั้งชื่อลูกชายว่า ธรรมบาลกุมาร พร้อมสร้างปราสาทเจ็ดชั้นให้ลูกชาย เป็นที่มาของนิทานมหาสงกรานต์ที่ได้ยินกัน
ขอตัดต่อมาที่เรื่องข้าวแช่ ว่าชาวมอญหุงข้าวแช่ในงานสงกรานต์ คงไม่ใช่เพื่อขอลูก แต่เพื่อถวายพระ และข้าวที่หุงนี้ไม่เหมือนกับที่กินหรือขายกันทั่วไป แต่กรรมวิธีพิเศษพิสดารกว่า เช่น ต้องใช้ข้าวสารดีเยี่ยม 7 กำ ซ้อมข้าวนั้นให้ได้ 7 ครั้ง แล้วซาวน้ำบริสุทธิ์ 7 หน จึงนำมาหุง ตามประเพณีต้องหุงกลางแจ้ง ถ้าจะให้เต็มพิธีต้องปักราชวัตรฉัตรธงด้วย นอกจากถวายข้าวแช่พระแล้ว ข้าวแช่นี้ยังจะต้องจัดสังเวยเทวดาด้วย โดยปลูกศาลเพียงตาบริเวณบ้าน และสังเวยข้าวแช่เป็นเวลา 3 วัน ข้าวแช่ที่เหลืออยู่อาจนำไปให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือเพื่อเป็นสิริมงคล
ข้าวแช่ที่เราคุ้นเคยกันอยู่ทุกวันนี้ เรียกเต็มๆแบบเพราะพริ้งว่า “ข้าวแช่เสวย” หรือ “ข้าวแช่ชาววัง” ซึ่งหมายถึงข้าวแช่ลอยในน้ำดอกไม้หอมเย็นชื่นใจ ที่รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ลูกกะปิทอดสีส้มจัด เครื่องผัดหวานสีน้ำตาลเข้ม และผักสีสวยทั้งหลายชื่อข้าวแช่ชาววังหรือข้าวแช่เสวยนี้หมายถึงข้าวแช่ที่ชาววังจัดถวายรัชกาลที่ ๕ แล้วโปรดเป็นอย่างมาก หลังจากสิ้นรัชกาลที่ 5 ในปี 2453 แล้ว ข้าวแช่ก็ออกสู่สังคม แล้วกลายเป็นดารายอดฮิตประจำเมนูหน้าร้อน โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์มาตั้งแต่นั้น ข้าวแช่ตำรับที่มีชื่อมากที่สุด เป็นของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ผู้เคยทำงานอยู่ในห้องเครื่องต้นสมัยรัชกาลที่ 5(รัชกาลที่ ๕ ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ ถ้า ม.ล.เนื่องท่านทำงานสมัยนั้น ป่านนี้ท่านอายุเป็นร้อยแล้ว)ท่านถือเป็นคนแรกๆที่ทำข้าวแช่ออกสู่ตลาด และมีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงปัจจุบัน เสน่ห์ข้าวแช่อยู่ที่กรรมวิธีในการปรุง เพราะองค์ประกอบของข้าวแช่นั้นมีมากมาย เคล็ดลับในการทำและทานข้าวแช่ให้ได้อรรถรสจึงอยู่ที่การสังเกตไปพร้อมกับการลิ้มรส ข้าวแช่ต้องมากับ “น้ำดอกไม้” ในฤดูร้อนดอกไม้ไทยต่างพากันชิงออกดอกส่งกลิ่นหอม น้ำที่นำมาใส่ข้าวแช่จึงได้อิทธิพลของดอกไม้เหล่านี้ด้วย นิยมใช้ดอกไม้ไทยที่มีกลิ่นหอมเย็น ส่วนน้ำที่ใช้แต่เดิมมักใช้น้ำฝนใสสะอาด แต่ปัจจุบันมีน้ำแร่ของไทยชนิดไม่อัดแก๊สบรรจุขวดก็นำมาใช้แทนกันได้ดี เวลาเตรียมมักใส่น้ำลงในหม้อดินมีฝาปิด เพื่อให้น้ำนั้นเย็นกว่าอุณหภูมิภายนอก เวลาจะกินสมัยก่อนใช้เกล็ดพิมเสนโรยลงในน้ำเพียงสองสามเกล็ดเพื่อให้เย็นชื่นใจยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันหันไปใช้น้ำแข็งทุบละเอียดแทน “ลูกกะปิทอด” ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกับข้าวแช่ จะดูกันว่าข้าวแช่ของใครที่มีฝีมือก็ต้องพิจารณากันที่ลูกกะปิทอดนี้เอง ถัดมาก็มีพริกหยวกสอด, ปลายี่สนผัดหวาน,เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน,หัวหอมสอดไส้,ผักกาดเค็มผัดหวาน,ปลาแห้งผัดหวาน , หมูสับกับปลากุเลา คือเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานแกล้มกับข้าวแช่ ที่ลืมไม่ได้เลยคือผักสดแกะสลัก เมื่อกับข้าวแช่ส่วนใหญ่เป็นของทอด ก็ย่อมต้องมีผักที่ให้กลิ่นหอมและรสออกเปรี้ยวและขื่นนิดๆไว้ตัดรส แตงกวา มะม่วงดิบ ต้นหอม กระชาย และพริกชี้ฟ้าสด จึงถูกนำมาจัดเป็นผักสดไว้กินแนมกับข้าวแช่ การกินข้าวแช่ก็ยังต้องมีวิธีการกินเช่นกัน เริ่มจากนำข้าวใส่ในน้ำลอยดอกไม้ให้สัดส่วนน้ำมากกว่าข้าวใส่น้ำแข็งเล็กน้อยพอให้เย็นชื่นใจ เวลาจะกินให้ตักกับข้าวใส่ปากแล้วตักข้าวตาม ก็จะได้รสชาติทั้งเย็นฉ่ำและความอร่อยกลมกล่อมของกับข้าว
นี่คือสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมการกินของไทยที่งดงาม ละเอียดอ่อน ไม่แพ้ชาติใดในโลก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์จากจินตนาการทิ้งไว้ให้กับชนรุ่นต่อๆมา เมื่อครั้งที่วัฒนธรรมจากตะวันตกยังมาไม่ถึง นับว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ชนรุ่นหลังควรรักษาไว้ให้ยั่งยืนสืบต่อไป


เครื่องปรุง
ข้าวสาร 1 ส่วน น้ำสะอาด 6 ส่วน

•ซาวข้าวให้สะอาด ใส่น้ำตามส่วน ตั้งไฟคอยคนอย่าให้ไหม้ พอเดือดขนาดเช็ดน้ำได้ ยกลง รินน้ำทิ้งให้หมด ล้างข้าวด้วยน้ำเย็นหลายครั้งจนกว่าข้าวจะเย็น

•ใส่น้ำในลังถึง ตั้งไฟจนเดือด ปูผ้าขาวบางบนลังถึง เทข้าวที่ล้างแล้วลงไป เกลี่ยให้กระจายทั่ว นึ่งประมาณ 10 นาทีหรือดูจนข้าวสุก ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น

•เวลากินตักข้าวใส่ชาม ตักน้ำลอยดอกไม้สดใส่ กินกับเครื่องเคียง



เครื่องเคียงข้าวแช่

หัวผักกาดเค็มผัด
หัวผักกาดเค็มหั่นฝอย ไข่ น้ำตาลทราย

•ล้างหัวผักกาดเค็มให้สะอาด หั่นฝอย ผัดกับไข่ ใส่น้ำตาลให้ออกรสหวาน

ปลาช่อนแห้งผัด
ปลาช่อนเค็ม น้ำตาลทราย

•นึ่งปลาพอสุก ฉีกให้เป็นฝอย ทอดให้กรอบแล้วผัดกับน้ำตาลให้พอมีรสหวาน

พริกหยวกสอดไส้
หมูสับ ½ ก.ก. กุ้งสับ 10 ตัว กระเทียมพริกไทยโขลกรวมกัน 1 ช.ต. น้ำปลา 1 ½ ช.ช. น้ำตาล 1 ช.ช. ไข่ 5 ฟอง พริกหยวก

•เคล้าหมู กุ้ง กระเทียมพริกไทยให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ต่อยไข่ใส่ 1 ฟอง ปั้นเป็นแท่งยาว ทอดจนสุก

•ใส่หมูที่ทอดลงในพริกหยวกที่คว้านไส้ออก นึ่งในลังถึงน้ำเดือดพล่าน 5 นาที พอเย็นบีบน้ำออกให้หมด

•ตอกไข่ที่เหลือ ตีพอแตก ใช้มือชุบไข่แล้วโรยขวางไปมาในกระทะที่ใส่น้ำมันพอลื่นและใช้ไฟอ่อน สุกแล้วลอกออกเป็นชิ้นๆ ห่อพริกให้รอบ

หอมสอดไส้
หอมแดง 20 หัว รากผักชีกระเทียมพริกไทยโขลกรวมกัน 1 ช.ต. เนื้อปลาช่อนนึ่ง 1 ตัว น้ำ 1 ช.ต. น้ำปลา 1-2 ช.ช. เกลือป่น 1 ช.ช. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย หัวกะทิคั้นด้วยน้ำปูนใส 1 ถ้วยไข่ 1 ฟอง

•ปอกเปลือกหอมคว้านไส้ออก สับส่วนที่คว้านออกมาให้ละเอียด

•ผักรากผักชีฯให้หอม ใส่หอมสับ เนื้อปลา น้ำ หัวกะทินิดหน่อย ปรุงรสด้วยน้ำปลา เกลือชิมรสตามชอบ พักไว้ให้เย็น แล้วจึงยัดใส่หัวหอมที่คว้านไว้

•นวดแป้งข้าวเจ้ากับหัวกะทิโดยค่อยๆใส่กะทิทีละน้อยจนเป็นเนื้อเดียวกันและข้นขนาดนมข้น หยิบหอมลงชุบแล้วทอดให้เหลือง

กะปิทอด
กระชาย 7 ราก ตะไคร้ 2 ต้น ข่า 5 แว่น ผิวมะกรูด 1 ช.ช. รากผักชี 1 ช.ช. หอมแดง 9 หัว กระเทียม 10 กลีบ กะปิ 1 ช.ต. เนื้อปลาดุกย่าง 1 ตัว ปลาฉลาดย่าง 2 ตัว น้ำปลาและน้ำตาลอย่างละ 1 ช.ต. ไข่ 3 ฟอง แป้งข้าวเจ้า 1 ช.ต.

•โขลกกระชาย ตะไคร้ ข่า ผิวมะกรูด รากผักชี หอมแดง กระเทียมให้ละเอียด ใส่กะปิ เนื้อปลาโขลกให้เข้ากัน ผัดให้หอม ปรุงรสด้วยน้ำปลาน้ำตาล ผัดจนแห้ง ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น

•ปั้นเป็นก้อนกลมๆเล็กๆ ให้เท่ากัน ต่อยไข่แล้วตีให้แตก ใส่แป้ง คนให้เข้ากัน นำกะปิที่ปั้นไว้ลงชุบแล้วทอดให้เหลือง

โดย นางสาวศิริรัตน์ ศศิพงศาธร
รหัส 51123407020

siriporn กล่าวว่า...

นางสาว ศิริพร เสือยศ
รหัส 51123407017
หัวข้อ หนังสือสวนสุนันทา: อาหารในวัง[ปลาทูต้มเค็มยางเนื้อแข็งก้างเปื่อย]


ปลาทูต้มเค็มอย่างเนื้อแข็งก้างเปื่อย


เครื่องปรุง
ปลาทูสดตัวโต ๆ ท่อนอ้อย มันหมู
มะขามเปียก น้ำปลา น้ำตาลปีบ
วิธีทำ
ตัดหัวปลาทูออก ควักไส้ ล้างให้สะอาด
ผ่าท่อนอ้อยทั้งเปลือก
เรียงปูไว้ก้นหม้อให้เต็มทั่วก้นหม้อ
กันตัวปลาติดก้นหม้อ เพราะเวลาต้มคนตัวปลาไม่ได้
เอาปลาวางเรียงในหม้อให้เต็ม
ขยำมะขามเปียกกับน้ำปลา น้ำตาลปีบ ชิม 3 รส ให้ชอบใจ
แล้วกรองเอาผงทิ้งไป
เอาน้ำที่กรองแล้วราดใส่ตัวปลาในหม้อให้น้ำท่วมปลา
หั่นมันหมูเป็นชิ้นเล็กๆโรยข้างบนสักหนึ่งกำมือ
มันหมูนี้ไปช่วยให้ก้างปลาละเอียดนิ่มเป็นสำลี
ส่วนมะขามเปียก ไปช่วยให้เนื้อปลาแข็งไม่เละ
เสร็จแล้วยกขึ้นตั้งไฟ
ครั้งแรกใช้ไฟแรงให้ปลาสุกดีก่อน
แล้วค่อยผ่อนไฟใช้ไฟอ่อนลงตั้งเคี่ยวไป 3 วัน
เอามือลองบี้ก้างดู ถ้าก้างเปื่อยเป็นแป้งก็ใช้ได้
เวลาเคี่ยว ถ้าน้ำในหม้องวดลงก็เติมน้ำเปล่าได้
เครื่องคลุกปลา
ถ้าจะกินอย่างปลาต้มเค็มเฉยๆก็ได้
ถ้าอยากอร่อยพิสดาร ต้องคลุกกับขิงหั่นฝอย หอมเล็กซอย
ต้นหอม ผักชีหั่นละเอียด พริกชี้ฟ้าแดงหั่นเส้น
รวมคลุกกับปลาต้มเค็ม บีบส้มซ่าใส่ด้วย
กินแกล้มไข่ดาวทอดให้สุกจริงๆ

rangsiya กล่าวว่า...

โดย นางสาวรังสิยา อโณทัยนาท

รหัสนักศึกษา 51123407023

[หัวข้อเรื่อง] ตำนานน้ำพริกลงเรือต้นตำรับ พระราชวังสวนสุนันทา

[เนื้อหา] เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ลดาวัลย์ ต้นตำนาน น้ำพริกลงเรือ ทุกวันนี้ดูเหมือน น้ำพริกลงเรือ จะกลายเป็นอาหารในทุกระดับของสังคมไทยไปแล้ว ตั้งแต่ห้องอาหารหรูในโรงแรมชั้นหนึ่งมาจนถึงร้านอาหารในห้องแถวหรือริมฟุตบาท ซึ่งต่างก็โหมโฆษณากันอย่างน่าสนใจว่า น้ำพริกลงเรือตำรับชาววัง ถามว่าวังไหน ก็ไม่มีผู้ใดตอบได้ แต่เสนอราคานั้นสูงกว่าน้ำพริกกะปิธรรมดาหลายเท่านัก ก็น้ำพริกลงเรืออร่อยดีนี่ คือคำตอบที่ได้รับอยู่เสมอและเงียบงันกันในเรื่องราวของที่มาที่หลายคนอยากรู้และนี่คือเรื่องราวและตำนานที่แสนสนุกสนานของ น้ำพริกลงเรือ...
ครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระราชวังสวนสุนันทา เพื่อใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์อีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากพระบรมมหาราชวังมีความแออัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับนั้นพระบรมราชวงศ์ พระมเหสี และพระอัครชายา ที่ทรงพระราชทานพระตำหนักที่ประทับมีอยู่หลายพระองค์ อาทิ พระราชชายาเจ้าดารารัศมีและพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาถปิยมหาราชปดิวรัดา ซึ่งดำรงตำแหน่งพระอัครชายาเธอฯในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงปฏิบัติหน้าที่ ห้องพระเครื่องต้นในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งหมายถึงพระภารกิจสำคัญในการจัดทำพระกระยาหารถวายพระมหากษัตริย์และผู้คนทั้งหลายในราชสำนักนั่นเอง ม.ร.ว. สดับ ลดาวัลย์ เป็นพระนัดดาในพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาถฯ ที่ หม่อมเจ้าเพิ่มลดาวัลย์ ท่านบิดา นำเข้าถวายเพื่อศึกษาเล่าเรียนงานกุลสตรีในพระบรมมหาราชวังหม่อมราชวงศ์ สดับ ได้รับพระอุปถัมภ์บำรุงอยู่ในตำหนักพระวิมาดาเธอฯเยี่ยงพระญาติ โดยโปรดให้เรียนหนังสือจากครูซึ่งผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาสอนทั้งภาษาไทยและอังกฤษและฝึกงานฝีมือรวมทั้งกับข้าวคาวหวานสารพัดชนิดและด้วยความเป็นคนคล่องแคล่วทะมัดทะแมง จึงเป็นที่โปรดปรานของเจ้านายทุกพระองค์และได้ทำหน้าที่ตามเสด็จพระวิมาดาเธอฯในกระบวนเสด็จทุกงาน จนเจริญวัยขึ้นเป็นกุลสตรีที่นอกจากจะมีรูปสมบัติที่งามแล้ว ยังมีน้ำเสียงไพเราะมาก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ พระวิมาดาเธอฯ ทรงตั้งวงมโหรี ขึ้นนั้น ครูมโหรีก็เลือก หม่อมราชวงศ์สดับ ให้เป็นนักร้องต้นเสียงพรสวรรค์ที่ขับร้องเพลงได้ไพเราะนี่เองที่ทำให้ หม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงออกพระโอษฐ์ขอต่อพระวิมาดาเธอฯ ผู้เป็นอาและเป็นผู้ปกครองในขณะนั้น เมื่อทุกฝ่ายโดยเฉพาะ หม่อมเจ้าเพิ่ม ผู้บิดาไม่ขัดข้อง จึงทำพิธีถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นการถวายตัวเมื่อวันตรุษ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 โดยมี คุณท้าววรจันทร์ ( เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่สี่) เป็นผู้นำถวายและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการสนองเบื้องพระยุคลบาท เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2449 เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ได้รับใช้ใกล้ชิดใต้เบื้องพระยุคลบาทด้วยความจงรักภักดี จนเป็นที่สนิทเสน่หาไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับพระราชทานวัตถุพยาน อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ สิ่งนั้น คือ กำไลทองรูปตาปู ซึ่งทรงจารึกคำกลอนพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นย่อมยืนสี
เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเป็นเสี่ยงทาย
ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรับไว้อย่าให้หาย
แม้นรักร่วมสวมไว้ให้ติดกาย เมื่อวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับเป็นเจ้าจอมคนสุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีอายุน้อยที่สุด เมื่อเสด็จสวรรคตนั้น เจ้าจอมสดับมีอายุเพียง 20 ปี เท่านั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมานทรงเล่าว่ามีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคุณจอมสดับอีกเรื่อง คือ กับข้าวสำเร็จรูปซึ่งเรียกว่า น้ำพริกลงเรือ คนรู้จักกันมาก แต่ไม่รู้เหตุผลเรื่องนั้น คือ เจ้านายในรัชกาลที่ห้า เข้าไปอยู่วังสวนสุนันทาใหม่ๆ ดินที่ขุดมาถมเพื่อทำตำหนักทำให้มีสระกว้างใหญ่ยาวต่างองค์ต่างมีเรือพายเล่น วันหนึ่งตอนค่ำ คิดจะลงเรือกัน สมเด็จอาหญิงน้อยสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดลกรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารีพระราชธิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระวิมาดาเธอฯ) ก็ชวนว่าให้ไปกินข้าวในเรือกันเถอะ ก็รับสั่งว่าสดับไปดูซิในครัวมีอะไรบ้างเวลานั้นยังไม่ถึงเวลาเสวย คุณจอมสดับเข้าไปในห้องเครื่อง เห็นมีแต่ ปลาดุกทอดฟู กับ น้ำพริก ตำไว้เท่านั้นจึงหยิบน้ำพริกกับปลามาผัดรวมกับ หมูหวาน เล็กน้อย พอตักขึ้นมาก็หยิบ ไข่เค็ม ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้ต้มความที่เป็นคนคล่องและไวเลยทิ้งไข่ขาวเอาแต่ไข่แดงดิบวางลงไปทั้งลูกและจัดผักเตรียมลงมาด้วยกลายเป็นอร่อยมากถึงเรียก น้ำพริกลงเรือ เกิดขึ้นเพราะคุณจอมสดับนี่เอง
เหตุด้วย เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ เป็นผู้ที่เติบโตมาภายใต้พระอุปถัมภ์บำรุงของพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาถฯ ซึ่งรับสนองพระมหากรุณาธิคุณในกิจการห้องพระเครื่องต้นแห่งราชสำนักจึงมีผลให้เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมีความชำนาญในการปรุงอาหารคาวหวานควบคู่ไปกับงานฝีมือด้านอื่นๆ ซึ่งอุปนิสัยส่วนตัวของเจ้าจอมสดับนั้นเป็นผู้มีรสนิยมในการรับประทานอาหารเป็นอย่างยิ่งมีความสุขที่จะเป็นผู้ทำอาหารให้ผู้อื่นรับประทานมาตั้งแต่วัยสาว จนแม้กระทั่งอายุ 92 ปีเศษแล้ว ก็ยังไม่งดที่จะลงมือตำน้ำพริกเองในยามมีหลานหรือแขกไปรับประทานอาหาร
ด้วยวันหนึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาเสด็จเยี่ยมที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในประจวบเป็นเวลาที่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับกำลังจะรับประทานอาหารกลางวัน จึงกราบทูลเชิญเสด็จ พร้อมทั้งกราบทูลว่า แหม...นี่ถ้าประทานรับสั่งมาก่อนล่วงหน้าสัก 10 นาทีว่าจะเสด็จจะตำน้ำพริกตั้งเครื่องทันที... นอกจากเป็นผู้ที่มีรสมือ หาตัวจับได้ยากแล้ว ยังเป็นผู้ไม่ปิดบังตำราตรงกันข้ามกลับมีความยินดีที่จะถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นและทุกครั้งที่ได้ถ่ายทอดแก่ผู้ใดแล้วก็ตาม ก็จะต้องพูดติดปากเสมอว่า เป็นตำราพระวิมาดา แสดงถึงความยกย่องในพระวิมาดาในฐานะที่ทรงเป็นต้นตำรับ และแสดงถึงเป็นผู้ไม่แอบอ้างว่าอาหารอร่อยเพราะเพียงฝีมือผู้ปรุงเท่านั้น ตำรับเป็นส่วนสำคัญด้วยเช่นกันหลังจากที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าจอมสดับได้ครองตนเป็นที่น่าเคารพนับถือ โดยปฏิบัติธรรมตลอดชีวิตและได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันให้เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จนได้กราบบังคมลาอนิจกรรมในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2526 สิริรวมอายุได้ 93 ปี ตำนานน้ำพริกลงเรือโดยเจ้าจอมคนสุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงปิดฉากลงและทิ้งตำรับอาหารที่ยิ่งใหญ่ไว้ให้แผ่นดิน

ตำรับน้ำพริกลงเรือที่ เจ้าจอมสดับ เขียนไว้ ปรากฏดังความว่า น้ำพริกลงเรือ
เครื่องปรุงจำนวน 13 อย่างมีดังนี้
1. กะปิ 1 ช้อนชา
2. พริกชี้ฟ้าหรือพริกขี้หนูสด 5 เม็ด
3. กระเทียม 7 กลีบ
4. น้ำปลา
5. น้ำตาล
6. มะดันหรือมะนาวตามสมควร
7. กระเทียมดอง 2 หัว
8. ไข่เค็มดิบ 2 ฟอง
9. ปลาดุกหรือปลาช่อน 1 ตัว
10. น้ำมันหมูตามควร
11. มะเขือเปราะ 4 ผล
12. ผักชีตามควร
13. หมูสามชั้น 4 ชิ้น

ขั้นตอนและวิธีทำตำน้ำพริกลงเรือ
1. อย่างจิ้มผักสดธรรมดา แต่ปรุงให้เหลวๆ หน่อย ชิมรสตามชอบ
2. เอาน้ำมันหมูใส่กระทะลงเล็กน้อยพอน้ำมันร้อนเอากระเทียมโขลกสัก 5 กลีบเล็กๆ เจียวพอหอม
3. เทน้ำพริกที่ตำไว้ ลงผัดพอสุกทั่ว แล้วตักใส่ถ้วยไว้
4. เอาหมูต้มให้หนังเปื่อย แล้วหั่นให้ละเอียดสัก 3 ช้อนคาว หรือคะเนดูให้เท่าๆกับน้ำพริกที่ผัดไว้
5. เอาผัดน้ำมันหมู น้ำปลา น้ำตาล ชิมให้รสจัดเหมือนหมูต้มเค็ม แล้วตักใส่ถ้วยไว้
6. เอาปลาอย่างใดอย่างหนึ่งนึ่งให้สุกแล้วแกะแต่เนื้อขยี้ให้ละเอียดลงทอดในน้ำมันหมูให้เหลืองกรอบต้องใช้
น้ำมันให้ท่วมปลาไฟแรง แล้วตักใส่ถ้วยไว้คะเนเท่ากับหมูและน้ำพริก
7. เอาจานลึก หรือชามตื้นๆ ใช้สำหรับจัดวิธีจัดเอาน้ำพริกกับหมู
8. ผัดผสมด้วยกันเคล้าให้ทั่วแล้วตักลงก้นจานก่อน จึงเอาปลาทอดขยี้ให้ร่วนโรยทับ
9. เอากระเทียมดองปอกเป็นกลีบสำหรับกลีบเล็กๆ ถ้ากลีบใหญ่ก็ผ่า 2-3 ชิ้น
10.เอาไข่เค็มดิบ รีดใช้แต่ไข่แดงผ่าเป็นชิ้นเล็กตามควร
11. ประดับลงบนปลาสลับกันกับกระเทียมดอง มะเขือ ผักชี จัดลงภาชนะเดียวกันอย่าแยกภาชนะ
จัดเป็นอย่างๆ จะหมดอร่อยหมดสวยงามและหมดความหมาย

ที่ชื่อน้ำพริกลงเรือเกิดขึ้นเพราะเจ้านายทรงเล่นเรือพาย เวลาพลบค่ำจะเสวยในเรือโดยมิได้เตรียม
ผู้คิดพบอะไรมีอยู่ในห้องเครื่อง ก็เก็บผสมกันเข้าให้สำเร็จประโยชน์ และให้ง่ายเหมาะในเรือเล็กๆ มืดๆ

ลูกปลา กล่าวว่า...

หัวข้อเรื่อง :เนินพระนาง

โดย :นางสาว ปนัดดา นิ่มนวล

รหัส :51123407002

"เนินพระนาง" เป็นเนินดินลักษณะคล้ายภูเขา กว้างประมาณ 50 เมตร ทางด้านหน้าของเนินพระนางประดิษฐานอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์บรมราชเทวี รอบข้างประดับด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่เขียวชอุ่ม ร่มรื่น ส่วนบนเนินพระนางถูกประดับด้วยต้นไม้ใหญ่หลากหลายสายพันธุ์ หนึ่งในนั้นคือต้น
“แก้วเจ้าจอม” ซึ่งเป็นแก้วเจ้าจอมต้นแรกของประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมาปลูกในบริเวณสวนสุนันทา ได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศชวา (อินโดนีเซีย)
กล่าวกันว่า เนินพระนางเดิมเป็นหลุมหลบภัยสมัยสงครามโลก ปัจจุบันประตูทางเข้าหลุมหลบภัยทาสีเขียวเข้ม และถูกล็อคไว้จากด้านนอก นอกจากนั้นเนินพระนางยังมีอีกเนินหนึ่งด้านหลังอาคารคณะนิเทศศาสตร์ ซึ่งจะมีศาลพระภูมิตั้งอยู่เป็นที่สักการะของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัย.

ลูกปลา กล่าวว่า...

หัวข้อเรื่อง: หอพระ
โดย: นางสาว ภัทราภรณ์ ศรีเจริญ
รหัสนักศึกษา: 51123407003

หอพระสถานที่ซึ่งวิทยาลัยจัดสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธสุนันทาทิพรัตนปฎิมาศรีมงคล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 นิ้ว ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2528 เพื่อเป็นที่เคารพรักสักการะ ของชาวสวนสุนันทาทั้งมวล ตั้งอยู่บริเวณด้านตรงข้ามอาคารหอประชุม สุนันทานุสรณ์

sasiwan muangwong กล่าวว่า...

พระประวัติ “ พระนางเรือล่ม ”

พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ๕ พระองค์ ทรงเป็นพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวงในรัชกาลที่ ๕ แต่ละพระองค์ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงผูกดวงพระชะตา พร้อมคาถาพระราชทานพระนาม พระราชทานให้เมื่อประสูติ ทว่ามีปรากฏอยู่เพียง ๔ พระองค์ พระองค์ใหญ่คือ พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี นั้นไม่ปรากฏคาถาพระราชทานพระนามรวมทั้งอีกสองพระองค์ใหญ่ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ฯ และพระองค์เจ้าโสมาวดีฯ ก็ไม่ปรากฏ พระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ๘๔ พระองค์ท่านทรงรวบรวมคาถาพระราชทานพระนามได้เพียง ๔๑ พระองค์เท่านั้น นับตั้งแต่พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล (กรมหลวงพิชิตปรีชากร) พระราชโอรสลำดับที่ ๒๐ เป็นพระองค์แรกลงไป พระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ (เว้นแต่พระองค์เจ้าทักษิณชาฯ ซึ่งยังไม่ทันจะได้รับพระอิสริยยศ พระนางเธอ พระนางเจ้า และสมเด็จพระนางเจ้า ดังอีก ๔ พระองค์ ก็มีเหตุให้ทรงประชวรตั้งแต่พระราชโอรสสิ้นพระชนม์เสียแต่วันแรกประสูติลำ ดับตามพระชันษา คือ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา และ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี นั้น หากพิจารณาตามคำแปลคาถาพระราชทานพระนาม จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระปรีชาในการผูกดวงชะตา ทรงทายทักดวงพระชะตาพระราชธิดา แต่ละพระองค์อย่างแม่นยำ แต่ละพระองค์ นอกจากพระพรตามธรรมดาๆ เช่น ให้มีความสุข ไม่มีโรค มั่งคั่ง ฯลฯ แล้ว จะทรงเน้นพระพรพิเศษแตกต่างกันออกไป ตามที่คงจะได้ทรงมีพระวิจารณญาณต่อดวงพระชะตานั้นๆ พระพรพิเศษ พระราชทาน พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงขอให้พระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ ทั้งเทพดาอารักษ์ ช่วยปกปักรักษาให้พ้นจากอันตราย
พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชทานพระพรพิเศษให้ได้ที่พึ่งอันบริบูรณ์ด้วยกำลังเป็นที่ต้องใจ
พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระพรพิเศษ คือ ให้เป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีใครเลิศขึ้นกว่า ตั้งอยู่ในวงศ์ของบิดาจนสิ้นกาลนาน คือพระชนมายุยืนนาน พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี นั้น พระราชทานพรพิเศษยาวกว่าพระองค์อื่นๆ ให้เป็นผู้มีอำนาจ ให้รักษาไว้ซึ่งยศของบิดามารดา พี่ชาย น้องหญิง ให้ดีงามในกาลทั้งปวง คำแปลคาถาพระราชทานพระนาม พระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ โดยละเอียดว่าดังนี้

พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ( สมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่พากันออกพระนามตามเหตุที่บังเกิดขึ้นว่า สมเด็จพระนางเรือล่มบ้าง พระนางเรือล่ม บ้าง ) “พระองค์เจ้าหญิงองค์นี้ ทรงนามว่า สุนันทากุมารีรัตน์ อย่างนี้ ดังนี้ จงอย่ามีโรค จงมีความสุข ปราศจากทุกข์และความวุ่นวายเถิด พระองค์เจ้าหญิงนั้นจงมั่งคั่งด้วยทรัพย์มาก มีโภคมาก มียศและบริวารไม่แปรผัน ขอพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ กับทั้งอารักขเทพดา จงช่วยอภิบาลรักษา พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์นั้น ให้พ้นไปจากอันตรายเป็นนิตย์ ขอความสัมฤทธิ์จงมีแก่พระองค์เจ้าหญิสุนัน




สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ทรงมีพระราชธิดา พระองค์แรกเมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์ เพชรรัตน์ จวบกระทั่งวันที่เสด็จทิวงคตเพราะเรือล่ม ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2423 ขณะกำลังเสด็จฯ มายัง พระราชวังบางปะอินพระองค์ก็ทรงพระครรภ์ได้5เดือน

เหตุสลดในวันนั้นเล่ากันว่า สาเหตุที่ทำให้เรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ล่ม เนื่องเพราะเรือพระพันปีหลวง หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถบรมราชชนนี พันปีหลวงแล่นแซง ประกอบกับนายท้ายเรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ เมาเหล้า ขาดสติในการควบคุมเรือเรือจึงล่ม และทั้งที่พระองค์ก็ทรงว่ายน้ำได้ แต่เพราะความที่ทรงห่วงพระราชธิดา จึงต้องสิ้นพระชนม์ไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งพระพี่เลี้ยง รวมทั้งสิ้น 4 ศพ ที่จมอยู่ใต้ท้องเรือโดยที่ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วย เพราะติดอยู่ที่กฎมณเฑียรบาลว่า ห้ามผู้ใดแตะต้องพระวรกายพระมเหสีมิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งโคตร

โศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นนี้ก่อนเกิดเหตุ ได้มีลางร้ายมาเตือนล่วงหน้าแล้วโดยก่อนที่เรือจะล่มในคืนหนึ่ง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ได้ทรงพระสุบินว่า พระธิดาของพระองค์ตกลงไปในน้ำ ด้วยความตกพระทัยจึงรีบคว้าพระธิดาจนตกลงไปในน้ำด้วยกัน แล้วได้ตื่นจากบรรทม ครุ่นคิดถึงการเสด็จฯ ไปพระราชวังบางปะอิน ในวันรุ่งขึ้นว่าต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นกับพระองค์เป็นแน่ แต่ก็ยังหลีกเลี่ยงชะตากรรมไม่ได้จนพบจุดจบในที่สุด






การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ในครั้งนั้นมีเสียงร่ำลือในวังหลวงอย่างอื้ออึงว่า เพราะเป็นแผนการที่จงใจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ จากความอิจฉาริษยาของบรรดามเหสี และสนมนางในที่คิดหาหนทางกำจัด จนทำให้พระนางอันเป็นที่รักของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ต้องมาสิ้นพระชนม์ท่ามกลางข้อกังหา และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของชาวบ้าน และชาววังในยุคนั้น ก็ยังมีเรื่องน่าพิศวงอันเกิดจากอาถรรพณ์ของดวงพระวิญญาณตามมาด้วย


เล่ากันว่าขณะกำลังงมค้นหาพระศพในวันที่เรือพระที่นั่งล่ม โดยชาวบ้านแถวนั้นทนเห็นเหตุการณ์ไม่ไหว พยายามช่วยลงมางมค้นหาพระศพก็เกิดเหตุอัศจรรย์ที่หาเท่าไหร่ก็ไม่พบ ถึงขนาดทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ก็ไม่สามารถพบพระศพ จึงต้องไปเชิญหลวงจีนท่านหนึ่งนามว่า “สกเห็ง” ซึ่งเชี่ยวชาญทางวิปัสสนานั่งทางในมาทำการเสี่ยงทาย โดยเสกถ้วยน้ำชาให้ลอยไปตามกระแสน้ำหากถ้วยชาจมลงตรงจุดใด ก็ให้ชาวบ้านและทหารช่วยกันลงไปงมหา ซึ่งในที่สุดก็สามารถหาพระศพจนพบ ลักษณะพระศพที่เห็นนำความเศร้าสลดมาสู่สายตาผู้พบเห็นยิ่งนัก เป็นภาพพระนางโอบพระธิดาไว้แนบอก และพระศพที่พบก็จมอยู่ใต้ซากเรือพระที่นั่งนั่นเอง


และเพราะเหตุที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ทรงสิ้นพระชนม์จากเรือพระที่นั่งล่มที่หน้าวัดกู้ กลางลำน้ำเจ้าพระยา จ.นนทบุรี ชาวบ้านจึงได้ร่วมใจตั้งศาลพระนางเรือล่มขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่กู้พระศพของพระองค์ ซึ่งต่อมาหลังจากผ่านเหตุการณ์นี้มานานมากแล้ว ก็ยังเกิดเรื่องเล่าถึงดวงวิญญาณพระนางเรือล่มตามมามากมาย


มีผู้พบเห็น และร่วมอยู่ในเหตุการณ์ความศักดิ์สิทธิ์ของดวงพระวิญญาณพระนางเรือล่มหลายครั้ง โดยชาวบ้านในละแวกวัดเล่าว่า ในสมัยก่อนที่หน้าศาลของพระนางเรือล่ม มักมีเรื่องแปลก ๆ เกิดขึ้นเสมอโดยหลาย ๆ ครั้งจะมีฝูงจระเข้ว่ายน้ำมาคำนับที่หน้าศาลอยู่เป็นประจำ ทั้งที่ปกติจระเข้มักว่ายอยู่ใต้น้ำ แต่อาจเป็น เพราะจระเข้รับรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ท่าน ดังนั้นเวลาว่ายน้ำผ่านหน้าศาลทีไร จระเข้ทุกตัวเป็นต้องลอยตัวขึ้นมาคำนับทุกครั้งไป




นอกจากนี้ยังเคยเกิดเหตุการณ์แปลก ๆ ขึ้นกับคนต่างถิ่น ที่ไม่เคยรู้จักเรื่องราวของพระองค์ท่าน บางคนดั้นด้นมาที่วัดกู้ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยมา ก็เพราะเขาฝันว่ามีผู้หญิงสูงศักดิ์ท่านหนึ่งมาเข้าฝันบอกให้มาที่วัดกู้แล้วจะมีโชค เมื่อมาถึงก็ต้องตกตะลึง เมื่อมาเห็นภาพ และพระรูปปั้นที่อยู่ในศาลนั้นเหมือนกับผู้หญิงในความฝันไม่ผิดเพี้ยน


อาถรรพณ์จากความศักดิ์สิทธิ์ของพระนางเรือล่มยังมีเล่ากันต่อมาอีกว่า เคยมีบางคนลบหลู่ไม่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พูดจาดูหมิ่นขณะพูดจบไม่ทันไรก็มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น โดยจู่ ๆ ก็วิ่งไปที่ท่าน้ำไม่รู้เนื้อรู้ตัวทำท่าจะกระโดดน้ำตาย หรืออย่างบางคนที่ชอบมาท้าสาบานที่ศาลของพระองค์ว่า ถ้าผิดจริงขอให้จมน้ำตาย ปรากฏว่าได้ตายสมใจ โดยตายอยู่ในอ่างน้ำตื้น ๆ ดังนั้นถ้าใครคิดมาลองสาบานอะไรสุ่มสี่สุ่มห้าที่ศาลพระนางเรือล่ม ที่วัดกู้ ต้องขอบอกก่อนว่าอย่าเสี่ยงเป็นอันขาด



ทุกวันนี้ชาวบ้านแถบ จ.นนทบุรี และผู้ที่มาจากต่างจังหวัดยังคงแวะเวียนมากราบไหว้พระนางเรือล่มที่ศาลอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่นิยมนำมาถวายพระองค์ท่านก็คือกล้วยเผา มาพร้าวอ่อนและพวงมาลัยมะลิสดส่วนศาลที่เห็นในปัจจุบันจะมี 2 ศาล คือศาลที่อยู่ริมน้ำกับศาลที่ตั้งอยู่ภายในวัด ซึ่งศาลนี้อันที่จริงเป็นศาลเดิม เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ศาลนี้เดิมก็อยู่ริมน้ำ แต่เพราะเวลาผ่านไปทำให้ดินทับถมกลายเป็นแผ่นดินงอกใหม่ ศาลนี้เลยกลายเป็นตั้งอยู่บนดินไป









สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ทรงมีพระราชธิดา พระองค์แรกเมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์ เพชรรัตน์ จวบกระทั่งวันที่เสด็จทิวงคตเพราะเรือล่ม ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2423 ขณะกำลังเสด็จฯ มายัง พระราชวังบางปะอินพระองค์ก็ทรงพระครรภ์ได้5เดือน

เหตุสลดในวันนั้นเล่ากันว่า สาเหตุที่ทำให้เรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ล่ม เนื่องเพราะเรือพระพันปีหลวง หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถบรมราชชนนี พันปีหลวงแล่นแซง ประกอบกับนายท้ายเรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ เมาเหล้า ขาดสติในการควบคุมเรือเรือจึงล่ม และทั้งที่พระองค์ก็ทรงว่ายน้ำได้ แต่เพราะความที่ทรงห่วงพระราชธิดา จึงต้องสิ้นพระชนม์ไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งพระพี่เลี้ยง รวมทั้งสิ้น 4 ศพ ที่จมอยู่ใต้ท้องเรือโดยที่ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วย เพราะติดอยู่ที่กฎมณเฑียรบาลว่า ห้ามผู้ใดแตะต้องพระวรกายพระมเหสีมิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งโคตร

โศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นนี้ก่อนเกิดเหตุ ได้มีลางร้ายมาเตือนล่วงหน้าแล้วโดยก่อนที่เรือจะล่มในคืนหนึ่ง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ได้ทรงพระสุบินว่า พระธิดาของพระองค์ตกลงไปในน้ำ ด้วยความตกพระทัยจึงรีบคว้าพระธิดาจนตกลงไปในน้ำด้วยกัน แล้วได้ตื่นจากบรรทม ครุ่นคิดถึงการเสด็จฯ ไปพระราชวังบางปะอิน ในวันรุ่งขึ้นว่าต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นกับพระองค์เป็นแน่ แต่ก็ยังหลีกเลี่ยงชะตากรรมไม่ได้จนพบจุดจบในที่สุด


ศิศวรรณ เมืองวงษ์
รหัส 51123407027