วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

งานนำเสนอข่าวมรดกวัฒนธรรม

กำหนดให้นักศึกษาทุกคนหาข่าวที่เกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรม โดยสามารถนำเสนอทั้งมรดกวัฒนธรรมไทยหรือต่างประเทศก็ได้ คนละ 1 ข่าว ผ่าน blog ตามรูปแบบดังต่อไปนี้
ชื่อหัวข้อข่าว...........................................................
ที่มา........................................................................
เนื้อหา.....................................................................
นำเสนอโดย (นาย/นางสาว)...................................................รหัส...........................................
กำหนดส่งภายใน 18.00 น. วันที่ 3 ตุลาคม 2551
คำเตือน ส่งช้ากว่ากำหนดหักคะแนนวันละ 2 คะแนน

47 ความคิดเห็น:

Jutharat กล่าวว่า...

ข่าว : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวเปิดโครงการ แผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นริมน้ำ บางกอก:โครงการแผนที่วัฒนธรรมท้องถิ่นของหนู

ที่มา : www.ThaiPR.net[พุธที่ 14พฤศจิกายน2007 11:40:14น.]

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--เจ ดับบลิว ที พับบลิค รีเลชั่นส์
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความยินดีขอเรียนเชิญท่านร่วมงานแถลงข่าวเปิดโครงการ แผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นริมน้ำ บางกอก : โครงการแผนที่วัฒนธรรมท้องถิ่นของหนู เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ ในปี 2551 ร่วมกับกรมศิลปากร — ICOMOS ประเทศไทย — กองทุนภูมิทัศน์วัฒนธรรม ชุมชนท้องถิ่นริมน้ำฝั่งธนฯ และสถาบันการศึกษาด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย พื้นถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและผลักดันเยาวชน และชุมชนริมคลองให้เกิดความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรม เพื่อเก็บข้อมูลของชุมชน และเรือนผืนถิ่นริมน้ำที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์ สร้างเป็นแผนที่มรดกวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ในท้องถิ่นริมคลอง อีกทั้งยังเป็นการจุดประกายองค์ความรู้ของท้องถิ่นริมน้ำ โดยดำเนินงานจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ คูคลอง อาทิ การสัมมนาทางวิชาการ การระดมความคิดเห็นจากทั้งชุมชน และนักวิชาการ การวาดภาพ การประกวดภาพถ่าย การท่องเที่ยวทางน้ำในพื้นที่ ฯลฯ

นำเสนอโดย : นส. จุฑารัตน์ ชยประสิทธิ์
[51123407030]

Pronprapa กล่าวว่า...

นางสาว พรประภา ทรัพย์โภค (51123407010)

ข่าว : ไทยเล็งให้สัตยาบันคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม

เนื้อข่าว : นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการฝ่ายวัฒน ธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ (Unesco) เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาอนุสัญญาของยูเนสโก 3 ฉบับ ได้แก่ 1. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทาง วัฒนธรรมที่อยู่ใต้น้ำ 2. อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมหรือจับต้องไม่ได้ และ 3.อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม
ซึ่งที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าการจะ ให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคีของยูเนสโกในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อดีและข้อเสียก่อน โดยจะมีการทำประชาพิจารณ์และจัดเสวนารับฟังความคิด เห็นจากนักวิชาการก่อน หลังจากนั้นจะส่งให้กระทรวงการต่างประเทศนำไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจต่อไป
ปลัด วธ.กล่าวต่อไปว่า ข้อดีของการให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวจะช่วยคุ้มครองสมบัติของชาติ โดยเฉพาะสมบัติที่อยู่ใต้ทะเล ซึ่งแต่ละประเทศก็มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่จะปกป้องน่านน้ำของตน เมื่อเรือสินค้าของประเทศนั้น ๆ จมลงในอีกประเทศหนึ่งที่อยู่ในภาคีก็จะได้รับการคุ้มครองสมบัติในเรือ แต่ข้อเสียเปรียบก็คือบางประเทศที่อยู่ในภาคีอาจเรียกร้องศิลปวัตถุของตนกลับคืน ทั้งนี้ปัจจุบันมี 60 ประเทศที่ให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว จากจำนวนสมาชิกของยูเนสโกที่มีกว่า 160 ประเทศ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา กลับยังไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวแต่อย่างใด
“ทางกระทรวงวัฒนธรรมยังแจ้งต่อที่ประชุมด้วยว่า กำลังเตรียมเสนอชื่อนายเอื้อ สุนทรสนานต่อทางยูเนสโกเพื่อยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นสำคัญทางวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล อันเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ในวาระครบรอบ 100 ปีครูเอื้อ ในปี 2552 ทั้งนี้ครูเอื้อมีผลงานการแต่งเพลงไทยสากลมากกว่า 1,000 เพลง เช่น เพลงวันลอยกระทง และเพลงวันสงกรานต์ เป็นต้น นอกจากนี้ทาง วธ.ยังให้การสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ได้เสนอพระนามพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท (ต้นราชสกุลสนิทวงศ์) ให้ยูเนสโกประกาศยกย่องในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสำคัญที่มีพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองในด้านวรรณกรรม การศึกษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การแพทย์ การสาธารณสุข และการให้คำปรึกษาราชการแผ่นดิน เนื่องในวาระครบรอบ 200 ปีวันประสูติในปี 2551” ปลัดวธ.กล่าว.

ที่มา www.giggog.com

gift กล่าวว่า...

ชื่อ น.ส จิราภรณ์ อ่วมพรม รหัส 51123407028

หัวข้อข่าว:ย้อนวันพิพิธภัณฑ์ไทย สืบรักษามรดกวัฒนธรรม

เนื้อหา:มรดกทางวัฒนธรรมที่ปรากฏทั้งทางด้านศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์อันเกิดจากการคิดค้นสิ่งแวดล้อมซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีคุณค่าความสำคัญซึ่งการรวบรวมจัดเก็บรักษาไว้นั้นมีความหมายยิ่งต่อการศึกษาต่อเนื่องจากเทศกาลไหว้พระจันทร์ ในเดือนกันยายนยังมีวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่เพิ่งผ่านไปนั่นคือ วันพิพิธภัณฑ์ไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 19 กันยายน ของทุกปี ในวันนี้นอกจากจะเป็นวันที่กล่าวขานชวนให้ระลึกถึงกันในประเทศไทย นานาประเทศต่างให้ความสำคัญถึงคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ คลังความรู้ที่รวบรวมสรรพวิชาให้ทั้งความรู้ความเพลิดเพลินนี้ด้วยเช่นกันก่อนการก่อเกิดพิพิธ ภัณฑ์หลากหลายรูปแบบขึ้นในประเทศไทยตามประวัติความเป็นมากล่าวถึงพิพิธภัณฑ์ การเก็บรวบรวม สะสมสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นวัตถุ สิ่งของมีค่าหายากตลอดจนสิ่งของแปลกใหม่เพื่อ เป็นหลักฐานทางมรดกวัฒนธรรมของชาติอันเป็นการแสดงถึงความมั่นคงเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒน ธรรม ในต่างประเทศทางด้านซีกโลกตะวันตกมีการตื่นตัวมาก ส่วนประเทศไทยตามประวัติการรวบรวมวัตถุสิ่งต่าง ๆ จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นโดยสร้าง พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุซึ่งการเรียกขาน พิพิธภัณฑสถาน ในครั้งนั้นทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า มิวเซียม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า พิพิธภัณฑ์ สืบเนื่องต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดตั้งมิว เซียมขึ้นที่ หอคองคอเดีย หรือ ศาลาสหทัยสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวังเพื่อจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ พร้อมกันนั้นได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมครั้งแรกในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 จากนั้นมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานหมู่พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคล จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ดูแลทางด้านโบราณคดี วรรณคดีเป็นที่ รวบรวมรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ
หลังจากนั้นมาพิพิธภัณฑสถานพระนครก็ได้เปลี่ยนชื่อและหน่วยงานที่สังกัด อีกหลายครั้ง ฯลฯ และจากพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์เปลี่ยนมาสู่พิพิธภัณฑสถานประชาชน และพัฒนาต่อไปจากพิพิธภัณฑสถานที่เก็บรักษาสรรพสิ่งทั่วไปมาเป็นพิพิธภัณฑสถานหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะศิลปวิทยาการทั้งทางด้านศิลปะวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์ สังคมวิทยา ฯลฯ สมชาย ณ นครพนม ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรให้ความรู้เล่าถึงวันพิพิธภัณฑ์ไทยว่า นับแต่ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลประกาศให้มีวันนี้ขึ้น เนื่องด้วยรำลึกถึงพระมหากรุณาธิ คุณวันที่ได้รับพระราชทานพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนครั้งแรก อีกทั้งเพื่อให้ได้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของพิพิธภัณฑ์นำมาซึ่งการสืบรักษาหวงแหนมรดกศิลปวัฒนธรรมอันเป็นสิ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่เพียงแค่แหล่งเก็บรวบรวมสงวนรักษา ศึกษาวิจัยและจัดแสดงเฉพาะวัตถุแต่สถานที่นี้ยังเป็นแหล่งความรู้ รวบรวมสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญ และจากพิพิธภัณฑ์ที่มีหลากหลายรูปแบบเวลานี้อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษานอกรูปแบบที่มีความหมายสำคัญ พิพิธภัณฑสถานจึงเป็นคลังความรู้ที่พร้อมมอบความรู้และจากความเป็นมาเป็นที่ทราบกันถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเป็นผู้ดำริสร้าง จากนั้นมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์นำวัตถุจัดแสดง มีผู้บรรยายนำชมครบรูปแบบ การจัดแสดงที่เกิดขึ้นภายในพิพิธ ภัณฑ์เหล่านี้คือแหล่งเรียนรู้ซึ่งสามารถเรียนได้ไม่รู้จบ สามารถต่อเติมเพิ่มพูนความรู้ได้ตามอัธยาศัย ตามความชื่นชอบ“ที่ผ่านมาคนทั่วไปอาจมีความเข้าใจพิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ที่เก็บแต่ของเก่า แต่หลังจากมีการกล่าวถึงวันนี้ซึ่งมีการบรรยาย การนำชมให้ความรู้ในเรื่องพิพิธภัณฑ์มาโดยตลอดก็เป็นที่รู้จักสนใจเพิ่มขึ้น จริง ๆ แล้วในการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณี หรือแม้แต่เรื่องทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ได้หลายปีที่ผ่านมามีพิพิธ ภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากทั้งภาครัฐ เอกชน ฯลฯ อีกทั้งความเข้าใจในพิพิธภัณฑ์ก็มีเพิ่มขึ้นซึ่งสถานที่นี้เป็นมากกว่าที่ที่เก็บรักษา แต่เป็นเรื่องของการให้ความรู้ การบริหารจัดการ อีกทั้งยังมีศาสตร์น่าศึกษา ฯลฯ ในความหมายของพิพิธภัณฑ์จึงเป็นที่รู้จักเข้าใจมากขึ้น สถานที่นี้จึงเป็นแหล่งรวมความรู้ซึ่งเรียนรู้ได้ไม่รู้จบ”จากพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงหลากหลายรูปแบบนอกจากความดูแลของกรมศิลปากรซึ่งมีทั้งส่วนกลางและภูมิภาค อย่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอ ศิลป์ ฯลฯ ขณะที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในส่วนภูมิภาค ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรี อยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ฯลฯ ความรู้มีชีวิตที่เกิดขึ้นภายในพิพิธภัณฑ์การจัดแบ่งยังแบ่งได้ตามลักษณะการบริหาร ได้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์จังหวัด พิพิธภัณฑ์มหา วิทยาลัยภาครัฐ เอกชน ฯลฯ ส่วนอีกลักษณะ แบ่งตาม หัว ข้อทางวิชาการ อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานทางมานุษยวิทยา ชาติพันธุ์วิทยา พิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติวิทยา นอกจากนี้ยังมี พิพิธ ภัณฑ์ทั่วไปเฉพาะทาง อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์แผ่นเสียง พิพิธภัณฑ์ตะเกียง พิพิธภัณฑ์มด อีกทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งต่างมีจุดหมายเพื่อการศึกษาเป็นแหล่งค้นคว้า รวมทั้งให้ความเพลิดเพลินกับคนทุกเพศวัย แต่ทั้งนี้ในรูปแบบของความเป็นพิพิธภัณฑ์อยากให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่เพียงแค่สถานที่ที่เก็บสะสมสิ่งของ แต่อยากให้มีการพัฒนาด้านองค์ความรู้ มีการบันทึกหลักฐานบอกเล่ายุคสมัยเรื่องราวที่เกิด ขึ้นได้ พิพิธภัณฑ์หลายสถานที่ปัจจุบันพัฒนารูปแบบสามารถจัดแสดงเชื่อมโยงเข้าถึงกลุ่มผู้ชม มีการสร้างกิจกรรมการนำชมสร้าง การเรียนรู้ที่ชวนเพลิดเพลิน อย่างมีเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ กิจกรรม ฯลฯ เข้ากับสิ่งที่จะศึกษาซึ่งเหล่านี้สร้างการเรียนรู้ที่ชวนจดจำ จากการก่อเกิดขึ้นของพิพิธภัณฑสถานนอกจากมีความหมายในการเก็บรวบรวม แสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต สถานที่นี้ยังมีจุดหมายสำคัญเพื่อประ โยชน์ทางการศึกษาเป็นคลังความรู้ก่อเกิดการสืบสานรักษามรดกวัฒนธรรมความเป็นไทยได้ดำรง คงอยู่สืบไป เป็นอีกความเคลื่อนไหวของวันสำคัญทรงคุณค่าอีกวันหนึ่ง ที่เกิดขึ้นทุกปีในเดือนกันยายน.


ที่มา:
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=177344&Newstype=1&template=1
วันที่ 21 กันยายน 2551 เวลา 00:02 น.

siriporn กล่าวว่า...

ชื่อ น.ส ศิริพร เสือยศ รหัส 51123407017

หัวข้อข่าว:ชู"วังไฮ-หริภุญไชย-ภูซาง"
เสนอยูเนสโก มรดกวัฒนธรรมล้านนา

เนื้อหา:ก.วัฒนธรรม เดินหน้าจัดทำแผน 8 จว.ภาคเหนือตอนบนเสนอยูเนสโกมรดกโลกวัฒนธรรมล้านนา ชูแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ-หริภุญไชย จ.ลำพูน เตาเผาบ่อสวก-ภูชาง จ.น่าน
วันนี้(18 มิ.ย.) นายสหวัฒน์ แน่นหนา ผอ.สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กล่าวถึงการที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เตรียมเสนอ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน น่าน และแพร่เป็นมรดกโลกวัฒนธรรมล้านนาว่า การจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้หรือไม่นั้นจะต้องพิจารณา 2 ประเด็นหลักได้แก่ พื้นที่ที่มีความเป็นอารยธรรมและมีความต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสมัยประวัติศาสตร์ พบว่ามีหลายแห่ง ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ จ.ลำพูน จากนั้นมาสู่ยุคพระพุทธศาสนาเข้ามาในรุ่นพระนางจามเทวี พุทธศตวรรษที่ 11-13 หรือ 1,300 ปีมาแล้ว ได้มีอารยธรรมของทวาราวดี และหริภุญไชย จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษวรรษที่ 19 นอกจากนี้อีกหลายเมืองมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องของอารยธรรมล้านนา ครอบคลุมทั่วภาคเหนือ ดังนั้นจึงสามารถหยิบยกศักยภาพที่สำคัญของอาณาจักรแต่ละแห่งมาพิจารณาการขึ้นมรดกโลกได้
ผอ.สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กล่าวอีกว่า ศ.อดุลย์ วิเชียรเจริญ ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุ สัญญาคุ้มครองมรดกโลก เกี่ยวกับการเสนอมรดกล้านนาขึ้นเป็นมรดกโลกนั้น ให้ข้อคิดในการนำเสนอ เช่น กรณีของ จ.ลำพูน มีพัฒนาการของยุคต่างๆ มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ยุคทวาราวดี หริภุญไชย ทั้งนี้การได้รับการพิจารณาหรือไม่จะต้องมองที่เรื่องกายภาพเป็นหลัก โดยเฉพาะหริภุญไชยมีลักษณะกายภาพของสถาปัตยกรรมทางด้านศาสนา เช่น วัดพระนางจามเทวี เจดีย์วัดพระธาตุหริภุญไชย นอกจากนี้ จ.น่าน มีแหล่งเตาเผา และแหล่งโบราณคดีภูซางสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ดีพื้นที่ในเขตเมืองเก่า ที่มีการอนุรักษ์บ้านเรือนไม้นั้นเท่าที่ทราบไม่สามารถจัดภูมิทัศน์ได้
“สถาปัตยกรรมภาคเหนือ จะเห็นว่าเจดีย์แบบหริภุญไชยนั้น เป็นต้นแบบของเจดีย์ที่กระจายไปทั่วล้านนา จึงสามารถที่จะเข้าเกณฑ์การเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ ขณะเดียวกันจะต้องนำเรื่องของประ เพณีล้านนาที่ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันมาสนับ สนุนด้วย เช่น ประเพณีสรงน้ำพระธาตุประจำปี ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นต้น เพื่อสนับสนุนให้นำหนักทางด้านกาย ภาพของศาสนาสถานด้วย ทั้งนี้ตนคิดว่าทั้งจ.ลำพูน และเมืองอื่นๆ มีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้าเกณฑ์ดังกล่าว และจะจัด การทำเอกสารเลือกความโดดเด่นและชัดเจนของอารยธรรมล้านนา ซึ่งจะมีผลต่อการประเมินผลมรดกโลกวัฒนธรรมล้าน นาของคณะกรรมการมรดกโลกด้วย

ที่มา:
www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=16462[พฤหัสที่ 18 มิถุนายน 2551]

Fenrin กล่าวว่า...

ข่าว:อดีตปธ.มรดกโลก ชี้ไทยเสียอธิปไตยเขาพระวิหาร

ที่มา:http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=49864

อดุลย์ วิเชียรเจริญ เผยรับรองมรดกโลกเขาพระวิหารไทยเสียประโยชน์เสียอธิปไตย เท่ากับยกแผ่นดินให้กัมพูชาครั้งแรก เชื่อมีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน ระบุถูกปลดก่อน นพดล ลงนามรับรอง


ศ.ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก กล่าวว่า รัฐบาลไทยลงนามสนับสนุนให้กัมพูชา เสนอเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ถือเป็นการเสียดินแดนครั้งแรก และประเทศชาติเสียผลประโยชน์

ที่ผ่านมาได้มีการหารือกันมาตลอดระหว่าง คณะกรรมการมรดกโลก และกรมอนุสนธิสัญญา กรมเอชีย ของกระทรวงต่างประเทศ กรณีที่ กัมพูชาจะขอเสนอ ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นพื้นที่มรดกโลก ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่ง คณะกรรมการมรดกโลกเสนอไปว่า ควรจะต้องเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันระหว่างไทยและกัมพูชา เพราะไม่อย่างนั้นประเทศไทยจะเสียดินแดนและอธิปไตย และได้ยึดถือตามแนวทางข้อตกลงร่วมกันมาตลอดตั้งแต่ปี 2548

ดร.อดุลย์ กล่าวอีกว่า ไทยไม่สามารถจะสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชา เสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงประเทศเดียวอย่างที่รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ไปลงนามนั้นไม่ได้ เพราะการขึ้นทะเบียนตัวเขาพระวิหารนั้น ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสท แต่จะต้องมีการประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์รอบตัวโบราณสถาน

ซึ่งการออกประกาศก่อสร้าง ในเขตอนุรักษ์พื้นที่ทำในเขตไทยเพราะฉะนั้น ถือเป็นการรุกล้ำดินแดนไทย เนื่องจากคำตัดสินของศาลโลกที่ยึดถือกันมาตลอดคือ ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชา แต่แผ่นดินเป็นของประเทศไทย ทำให้ที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาล ชุดไหนไปลงนามเซ็นสัญญาลักษณะนี้ โดยจะเจรจาตามแนวทางการเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันเท่านั้น

นอกจากนี้ การขึ้นทะเบียนปราทาทเขาพระวิหารไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพียงตัวปราสาท หากรวมถึงโบราณสถานอื่นๆ ที่อยู่ในดินแดนไทย เพราะลักษณะโบราณสถานที่เรียกว่า ปราสาทเมืองต่ำ ที่บูชาพระศิวะนั้นจะต้องมี บาราย ที่เป็นทะเลสาป ก่อนที่จะเข้าสู่ตัวพระวิหาร เช่นเดียวกับปราสาทเขาพนมรุ้งที่จะมี แอ่งน้ำบารายสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อนที่จะเข้าสู่ตัวปราสาท และปราสาทเขาพระวิหารไม่มีตัว บาราย จึงได้มีการสำรวจบริเวณรอบๆแล้วพบตัว บาราย ฝั่งทิศเหนือจากบันไดปราสาท ในเขตดินแดนของประเทศไทย แต่ถูกกิ่งไม้ทับถมจึงหาไม่พบซึ่งหลังจากค้นพบ ทำให้คณะกรรมการมรดกโลกยืนยันว่า การเสนอขึ้นทะเบียนเขามรดกโลกต้องเสนอร่วมกันเท่านั้น


"เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศ โดย นายวีระชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายคนเก่าได้เดินทางมาหารือกับผมอีกครั้งขณะที่ผม ยังอยู่ที่โรงพยาบาล ในเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเขาพระวิหาร แต่ก้ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ยึดแนวทางตามข้อตกลงในปี 2548 โดย ให้เสนอร่วมกันระหว่างประเทศ เพราะหากเราไปสนับสนุนให้ กัมพูชาขึ้นทะเบียนเราจะเสียอธิปไตยเพราะแผนการจัดการพื้นที่จะตกไปอยู่ที่ กัมพูชาทันที ซึ่ง ผอ.กรมสนธิสัญญาคนเก่าก็ยึดถือตามนั้น จนอาจจะเป็นสาเหตุของคำสั่งย้าย" นายอดุลย์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายอดุลย์ กล่าวว่า หลังจากนั้นไม่ถึงสัปดาห์ ผมก็ทราบว่า ผู้อำนวยการคนนี้ได้ถูกสั่งย้ายซึ่งไม่ทราบว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และเมื่อสัปดาห์ทีผ่านมา เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศ จาก กรมเอเซีย และกรมสนธิสัญญา ได้มาหารือกับผมอีกครั้ง โดยนำเอาวีดีโอ มาบันทึก ซึ่งผมก็เสนอไปเช่นเดิมว่าไม่เห็นด้วยที่จะลงนาม สนับสนุนกัมพูชา และเห็นว่าควรจะต้องเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันเท่านั้น

"หลังจากที่ เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศมาหารือและผมยืนยันไปตามมติตามแนวทางปี 2548หลัง จากนั้นผมก็ทราบว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยไปตกลงลงนามเพื่อสนับสนุนให้กัมพูชา ไปเสนอขึ้นทะเบียนมรกดโลกที่ยูเนสโกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ประเทศชาติเสียหายมากเพราะอำนาจการบริหาร จัดการทั้งหมดอยู่ที่กัมพูชา"

นายอดุลย์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้น การรีบร้อนในการลงนาม เพื่อสนับสนุนกัมพูชาของ นายนพดล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ทั้งๆที่มีเวลาในการพิจารณา ถึง 2 ปี ทำให้ผมมั่นใจว่า ข่าวคราวที่ออกมาว่าการเสนอขึ้นทะเบียนเขาพระวิการกับการแลกเปลี่ยนผล ประโยชน์บางอย่าง น่าจะเป็นจริง อีกทั้ง การให้สัมภาษณ์ของ เตียบันที่ เกาะกง ก็ชัดเจนว่า น่าจะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เกิดขึ้น

"ครั้งแรกที่ผมได้ข่าวว่ามีการเจรจาแบ่งผลประโยชน์ผมแค่ฟังหูไว้หู ไม่เชื่อว่ามันจะเกิดขึ้น แต่หลังจากที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทยไปลงนาทกับกัมพูชาและเสนอเข้าคณะ รัฐมนตรี พร้อมทั้ง รีบนำข้อเสนอดังกล่าวต่อที่ทำการยูเนสโก้ ทำให้มั่นใจว่า สิ่งที่เคยฟังหูไว้หูในเรื่องผลประโยชน์น่าจะเป็นเรื่องจริง และคงจะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เกิดขึ้นแล้ว" นายอดุลย์ กล่าว

นายอดุลย์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ นายนพดล ดำเนินการจึงเป็นเรื่องที่ประเทศเสียประโยชน์อย่างมาก และการเนินการยังปกปิดข้อมูลการเซ็นสัญญาร่วมไม่ได้เปิดเผยให้กับสาธารณะชน รับรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถือว่ายอมรับกันได้ยากมาก และน่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์มากกว่า เพราะท่าที่รีบร้อนของรัฐมนตรีต่างประเทศที่รีบเซ็นลงนามโดยที่ไทยไม่ได้ ประโยชน์เลย

ผู้สื่อข่าวถามว่า การเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกกับยูเนสโก ไทยสามารถคัดค้านได้หรือไม่ นายอดุลบอกว่า หลังจากนี้แล้ว อาจจะเป็นเรื่องยากเนื่องจากรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ไปเซ็นรับรองแผนที่ของกัมพูชา ถือเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลไปแล้ว ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลก อาจจะไม่รับพิจารณา

นอกจากนี้ นายอดุลย์ กล่าวอีกว่า เมื่อ2สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีหนังสือ แต่งตั้งคณะกรรมการมรดกโลกชุดใหม่ เดิมมีชื่อผมเป็นที่ปรึกษา แต่ล่าสุดพบว่า ไม่มี ซึ่งก็ไม่เป็นไรเชื่อว่าคณะกรรมการชุดใหม่ น่าจะสามารถเรียนรู้งานได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ทาง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการมรดกโลกของไทย ได้มีคำสั่งการเปลี่ยนแปลงประธานคณะกรรมการมรดกโลกคนใหม่แล้ว จากเดิมที่มี ศ. ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ เป็นประธาน มาเป็นนายปองพล อดิเรกสาร อดีต รมว.ศึกษาธิการ พร้อมกับผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการชุดนี้กว่า 10 คน อาทิ ดร.มานิตย์ ศิริวรรณ ออกจากการเป็นกรรมการมรดกโลกในประเทศไทย โดยคณะกรรมการชุดใหม่ ทั้งหมดจะเป็นผู้เดินทางเข้าร่วมการประชุมมรดกโลกที่เมืองคิวเบก ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 2-10 ก.ค. นี้

อย่างไรก็ตามแหล่งข่าว จากคณะกรรมการมรดกโลกประเทศไทยคนหนึ่ง กล่าวว่า การลงนามรับรองแผนที่ของกัมพูชาของ นายนพดล ถือเป็นครั้งแรกในการตกลงยกดินแดนให้กัมพูชาอย่างเป็นทางการ หรือเรียกว่าเป็นการเสียดินแดนครั้งแรก เนื่องจากที่ผ่านมา หลังจากที่ ศาลโลกในปี 2505 ตัดสินให้ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา แต่ดินแดนเป็นของไทยนั้น ได้มี มติครม.สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกมาเพียงเรื่องของเขตแดนในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ได้มีข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรก

"การที่รัฐมนตรีต่างประเทศไปเซ็นรับรองถือเป็นครั้งแรกของการยอมรับกรณีที่ พิพาทที่ดินระหว่างไทยกับกัมพูชาเพราะที่ผ่านมา ไทยไม่เคยยอมรับในเรื่องนี้เลยเพราะศาลโลกตัดสินแล้วว่า ดินแดนเป็นของไทย การที่ตัวอาคารของเขมรมาตั้งในดินแดนไทยก็ไม่มีปัญหา และเรายังมีอำนาจบริหารแผ่นดินของเรา แต่การที่รัฐมนตรีต่างประเทศไปเซ็นรับรองแผนที่กัมพูชาเท่ากับยอมรับยก พื้นที่ให้กัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์"

นอกจากนี้แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า อีกประเด็นที่น่าห่วงคือการที่ไทยยอมรับในเรื่องพื้นที่ทับซ้อน 40 ตารางกิโลเมตร ทั้งๆที่เขมรเองไม่เคยอ้างสิทธิ์ดังกล่าว เท่ากับ ฃเป็นการเสียประโยชน์ด้วยเช่นกัน ทำให้น่าจะตั้งข้อสังเกตว่า อาการรีบร้อนและการตกลงแบบนี้ น่าจะมีปัญหาการเมืองเกี่ยวข้องด้วย

"การที่รัฐมนตรีต่างประเทศเซ็นลงนามรับรอง แผนที่กัมพูชาและแผนที่ฉบันนั้นจะถูกส่งไปยัง ยูเนสโก ซึ่งเป็นงองค์กระระหว่างประเทศ ถือเป็นการยอมรับยกดินแดนให้กับกัมพูชาครั้งแรก หรือเรียกว่าไทยเสียดินแดนครั้งแรกด้วย"

นำเสนอโดย:นายเอกสิทธิ์ วุฒิประเสริฐพงศ์
รหัส 51123407035

BebeekunG กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อข่าว
เสน่ห์นนทบุรี บนเส้นสายลายสี
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=177124&Newstype=1&template=1

เนื้อหา เสน่ห์นนทบุรี บนเส้นสายลายสี
ประเทศไทยถือได้ว่ามีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี ที่หลากหลายตามแต่ละจังหวัดที่ไม่เหมือนกัน แต่ละสถานที่มักมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวในการที่จะบ่งบอกถึงเสน่ห์ แสดงความโดดเด่นของจังหวัดนั้นได้อย่างดี
หากใครมีเวลาว่าง อยากหนีจากกรุงเทพที่รถติด วุ่นวาย ทางจังหวัด นนทบุรี ได้ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดงานแสดงภาพ “เสน่ห์นนทบุรี...บนเส้นสายลายสีแห่งมรดกวัฒนธรรม” เป็นการสร้างการรับรู้ ด้านศิลปะ พิเศษตรงที่ได้มีกลุ่มศิลปินรักษ์เมืองนนท์กว่า 30 ท่าน มาเก็บลายละเอียดตามมุมมองของศิลปินแต่ละคน ที่มีทั้งวิถีความเป็นอยู่ของชาวนนทบุรี วิถีชีวิตริมคลอง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บ้านไม้โบราณ วัดวาอารามเก่าแก่ของนนทบุรี สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ไม้ประดับ ประเพณี วัฒนธรรม นำมาสร้างสรรค์ผลงานถ่ายทอดลงในแผ่นผ้าเป็นภาพเขียนกว่า 150 ภาพ
จะเห็นความแตกต่างทางศิลปะของศิลปินแต่ละท่าน ซึ่งจุดเด่นของศิลปินแต่ละคนมีมุมมองต่างกัน สถานที่บางสถานที่เวลาต่างกันก็ได้ความงามไปคนละแบบ รวมถึงสีต่างๆที่นำมาแสดงมีทั้งสีน้ำ สีน้ำมัน สีอะคริลิก ภาพถ่าย งานปั้น และภาพด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ คอศิลปะไม่ควรพลาด
ซึ่งทางผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นาย ชัยสงค์ ชูฤทธิ์ บอกว่าเป็นการดีที่ทาง ททท.ได้ส่งเสริมจัดงานนี้ขึ้นมา จึงได้เชิญศิลปินจากทางกรุงเทพและนนทบุรีมาร่วม ถ่ายทอดความประทับใจ ในการวาดภาพ พร้อมทั้งสะท้อนแนวคิดอันหลายหลายของศิลปิน ที่เมืองนนทบุรีมีองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเสน่ห์ ทั้งด้านการท่องเที่ยว เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา ครูและประชาชนให้ทราบถึงนนทบุรีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มาชมความงดงาม
ด้าน ผู้ว่าจังหวัดนนทบุรี นาย เชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ บอกว่า งานจะจัดขึ้น ณ อาคารศาลากลางเก่า บริเวณท่าน้ำนนท์ ก่อนที่ต่อไปจะปรับปรุงให้คงสภาพเดิมและใช้ประโยชน์เป็นสถานที่แสดงงานศิลปวัฒนธรรม องค์ความรู้ ที่เลือกเพราะว่า บริเวณท่าน้ำนนท์ เป็นศูนย์กลางของการเดินทาง ทั้งทางน้ำ ทางรถ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเที่ยวตรงนี้ หากมีการทำกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องก็จะเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวของจังหวัดต่อไป
หากใครที่เป็นคอศิลปะหรืออาจไม่ใช่แต่อยากหนีรถติดๆของกรุงเทพ มาสูดอากาศย่านนนทบุรี ก็สามารถมาชมความงามของภาพการแสดงได้ซึ่งงานจะจัดขึ้น ณ ห้องแสดงนิทรรศการ ศาลากลางเก่า ท่าน้ำนนท์ ในวันที่ 28 กันยายน – 28 ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้า ถึง 2 ทุ่ม ทุกวัน มาชื่นชมเสน่ห์ความงดงามอีกมุมหนึ่งของไทยแบบนนทบุรี.

นำเสนอโดย นางสาว รมิดา ดุสิตดำรงศีล รหัส 51123407024

boazz กล่าวว่า...

ชื่อ ชญานี สรสมศักดิ์ รหัส 51123407014
หัวข้อข่าว:หลากสีสันต์มนต์เสน่ห์วัฒนธรรม มหกรรมศิลปะการแสดงและคนตรีนานาชาติ
เนื้อหา:กลับมาสร้างความประทับใจอีกครั้งสำหรับงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ รวมสุดยอดการแสดงอันโด่งดังที่ผ่านสายตาผู้ชมมาแล้วทั่วโลก โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 10 ยกขบวนศิลปินหลายร้อยชีวิตมาเปิดการแสดงสุดยิ่งใหญ่ ระหว่าง วันที่ 15 กันยายน ถึง 13 ตุลาคม 2551 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

การจัดงานในปีนี้พิเศษกว่าทุกปี โดยนอกจากจะเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 10 ปีแล้ว ยังเพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งทรงมีส่วนร่วมกับมหกรรมนี้นับแต่เริ่มต้นในฐานะองค์ประธาน และองค์อุปถัมภ์

งานมหกรรมฯ เปิดฉากด้วยการแสดงของ วงรัสเซียน ซิมโฟนี ออเคสตร้า (Russian Symphony Orchestra) บรร เลงเพลง Requiem ซึ่งได้รับการเรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นพิเศษด้วยฝีมืออันยอดเยี่ยมของบอริส ทิสเชนโก (Boris Tishchenko) นักประพันธ์เพลงชื่อก้องจากสหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ผู้ที่รับหน้าที่เป็นวาทยกรครั้งนี้คือ โรเบิร์ต ลูเธอร์ (Robert Luther) ผู้อำนวยการเพลงและหัวหน้าวาทยกรของคณะบาชคีร์ สเตต โอเปร่า แอนด์ บัลเลต์ เธียเตอร์ (Russian Bashkir State Opera and Ballet Theatre) อันโด่งดังจากรัสเซีย โดยมียูเลีย ซิโมโนวา (Yulia Simonova) โซโลลิสต์แถวหน้าจากคณะบอยชอย (Bolshoi Theatre) และโอเลสวา เพโทรวา (Olesva Petrova) เจ้าของเหรียญทองจากการแข่งขันไชคอฟสกี้ปี 2007 ร่วมบรรเลงเพลงด้วย และใน ช่วงค่ำจะเป็นการบรรเลงเพลง Adagio ของอัลบิโนนี เพลง Vocalise ของ รัคมานินอฟฟ์ เพลง Adagio ของบาร์เบอร์ เพลง Isoldes Liebestod ของวากเนอร์ และเพลง Adagietto ของ มาห์เลอร์

งานมหกรรมปีนี้ คณะ บาชคีร์ สเตต โอเปร่า แอนด์ บัลเลต์ เธียเตอร์ จะมาสร้างสีสันให้แก่ผู้ชมด้วยการแสดงบัลเลต์ 2 เรื่อง และโอเปร่าอีก 1 เรื่อง คือ ในวันที่ 16 และ 18 กันยายน จะเป็นการแสดงโอเปร่าเรื่อง Aida ผลงานการประพันธ์ชิ้นเอกของจูเซปเป แวร์ดี (Guiseppe Verdi) ซึ่งจะใช้วงออเคสตร้าวงใหญ่มาบรรเลงเพลง และมีคำบรรยายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีไคโร โอเปร่า เฮาส์ (Cairo Opera House) เป็นผู้ควบคุมการผลิต

หลังจากนั้นคณะบาชคีร์ฯ จะเปิดการแสดงบัลเลต์เรื่อง เรย์ มอนดา (Raymonda) เป็นครั้งแรกในวันที่ 19 กันยายน อันเป็นผลงานของเอเลนา เชอร์นีย์โชวา ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์และหัวหน้านักออกแบบท่าเต้นของคณะอเมริกัน บัลเลต์ เธียเตอร์ และในวันที่ 20 และ 21 กันยายน จะเป็นการแสดงบัลเลต์เรื่อง Nutcracker ซึ่งมียูริ กริโกโรวิช (Yuri Grigorovich) อดีตผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของคณะบอยชอยเป็นผู้ออกแบบท่าเต้น

นอกจากนี้ ผู้ชมยังจะได้พบกับความยิ่งใหญ่ตระการตากับการแสดงคอนเสิร์ตจากวงรัสเซียน ซิมโฟนี ออเคส ตร้า (Russian Symphony Orchestra) วงดนตรีออเคสตร้าที่เก่าแก่ที่สุดในบาชคีร์ โดยมีพลเรือเอก หม่อมหลวง อัศนี ปราโมช องคมนตรี ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) เป็นวาทยกรนำผู้ฟังโลดแล่นดื่มด่ำ ไปกับบทเพลงแสนไพเราะของคีตกวีชื่อก้อง เริ่มด้วย Fantasy Overture ของไชคอฟสกี้ ตามด้วยการบรรเลงเพลง Violin Concerto ของ Dmitri Kabalevsky ร่วมกับลิลิยา นิกาเมดซ์ยาโนวา (Liliya Nigamedzyanova) โซโลลิสต์ชื่อดังจากรัสเซีย และปิดท้ายด้วยบทเพลง Symphony No.7 ของ Ludwig Van Beethoven ในวันที่ 22 กันยายน

ต่อจากนั้นในวันที่ 6 ตุลาคม คอดนตรีแจซซ์ยังสามารถเพลิดเพลินไปกับเสียงอันไพเราะของ ลัว ฮาดาร์ (Lua Hadar) นักร้องเพลงแจซซ์ชื่อก้องโลก และ วงทวิสต์ (Twist) จากซานฟรานซิสโก พร้อมกับ เจมส์ มอร์ริสัน (James Morrison) ศิลปินเพลงแจซซ์จากออสเตรเลีย หลังจากนั้นในวันที่ 12 ตุลาคม ผู้ชื่นชอบดนตรีแจซซ์ยังจะได้สนุกกันต่อกับการแสดงของ วง G-Strings จากเยอรมนี และ วง Bconnected Jazz Band จากสวิตเซอร์แลนด์

สำหรับผู้ที่หลงใหลศิลปะของการเต้น คณะซูริก บัลเลต์ (Zurich Ballet) คณะบัลเลต์ชั้นนำจากยุโรป จะนำผู้ชมเพลิดเพลินไปกับบัลเลต์ร่วมสมัยเรื่อง Winds in the Void โดยจะเปิดการแสดง 2 รอบ คือ วันที่ 24 และ 25 กันยายน และในวันที่ 27 กันยายน อินโทรดันส์ (Introdans) คณะบัลเลต์ชื่อดังจากเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากการผสมผสานงานบัลเลต์คลาสสิก ท่าเต้น และดนตรีเข้ากับเทคนิคร่วมสมัย จะเปิดการแสดงบัลเลต์ร่วมสมัย 3 ชุด ได้แก่ Ballet Scenes, Creatures และ Symphony in Three Movements ผลงานของนักออกแบบท่าเต้นโดยฮันส์ แวน มาเนน, แพทริก เดอ บานา และนิลส์ คริสเต

จากนั้น พอล เทย์เลอร์ ดานซ์ คัมพานี จากนิวยอร์ก (Paul Taylor Dance Com pany) จะมาสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชื่นชอบศิลปะโมเดิร์นดานซ์อย่างยิ่งใหญ่ด้วยการแสดงอันหลากหลาย โดยในวันที่ 3 ตุลาคม มีการแสดง 3 ชุด ได้แก่ Arden Court, Eventide และ Promethean และในวันที่ 4 ตุลาคม ทางคณะจะเปิดการแสดงอีก 3 ชุด คือ Mercuric Tidings, Byzantium และ Esplanade

นอกจากนี้ ผู้ชมยังจะได้สนุกไปกับจังหวะดนตรีอันหลากหลายของ ระบำฟลาเมงโก จากสเปนในวันที่ 8 และ 9 ตุลาคม โดยคณะ Ballet Flamenco Sara Baras ซึ่งเคยสร้างความประทับใจให้ผู้ชมมาแล้วทั่วโลก

ไม่เพียงเท่านั้น งาน มหกรรมปีนี้ผู้ชมยังสามารถเลือกรับชมศิลปะจากฝั่งเอเชียได้อย่างจุใจ โดย National Dance Theatre of Korea มีกำหนดเปิดการแสดงระบำพื้นเมืองชุด “Korean Fantasy” ในวันที่ 1 ตุลาคม หรือผู้ที่หลงใหลใน เสน่ห์ของดินแดนแห่งเครื่อง เทศ สามารถตื่นตาตื่นใจไปกับ “Sankriti” ระบำพื้นเมืองของอินเดีย ซึ่งประกอบด้วยศิลปะการร่ายรำแบบดั้งเดิม 5 ประเภท ได้แก่ Bharatnatyam, Odissi, Kathak, Kathakali และ Manipuri โดยนักเต้นทั้ง 5 กลุ่มจะนำเสนอการร่ายรำในรูปแบบที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อนในวันที่ 11 ตุลาคม

ปิดท้ายงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติครั้งที่ 10 ด้วยการเต้นรำของคณะ Inaki Urlezaga Group จากอาร์เจนตินาในวันที่ 13 ตุลาคม โดยในช่วงแรกเป็นการแสดงชุด “Carmen” แล้วปิดท้ายรายการด้วยระบำแทงโก้อันน่าตื่นตาตื่นใจ
ที่มา:
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=176727&NewsType=1&Template=1
วันที่ 15 กันยายน 2551 เวลา 00:00 น.

BebeekunG กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อข่าว
อบจ. อุบลฯ เชิญชมการประกวดกลองยาวสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทยอีสาน ครั้งที่ 3

ที่มาhttp://www.phiboonnet.com/webboard/pmshw.php?Category=localnews&No=4551

เนื้อหา
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้เปิดเผยว่า ขอเชิญชวนชาวจังหวัดอุบลราชธานี ชมและเชียร์การประกวดกลองยาวสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทยอีสาน ครั้งที่ 3 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2550 ณ วัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีรูปแบบการเล่น 2 แบบ คือ แบบโบราณ และแบบประยุกต์ ใช้จำนวนผู้แสดงไม่ต่ำกว่า 31 คน แบ่งเป็น ผู้เล่นดนตรีไม่ต่ำกว่า 11 คน ผู้ฟ้อนรำประกอบ ไม่ต่ำกว่า 10 คู่ เครื่องดนตรี และการแต่งกายเป็นของพื้นเมือง

สำหรับรางวัลการประกวด มีดังนี้ชนะเลิศ ได้รับรางวัลเงินสด 20,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศจาก นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับรางวัลเงินสด 15,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศจาก นางสายสุณีย์ คูหากาญจน์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับรางวัลเงินสด 10,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศจาก นายศักดา พิริยะกิจไพบูลย์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีรางวัลชมเชย จำนวน 5 รางวัลๆ ละ 5,000 บาทรางวัลขวัญใจไทบ้าน ถ้วยเกียรติยศจาก นายยอดยุทธ เดชรุ่งเรือง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

จึงขอเชิญชวนชาวจังหวัดอุบลราชธานี อุบลราชธานี ร่วมชมและเชียร์การประกวดกลองยาวสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทยอีสาน ครั้งที่ 3 ได้ตามวัน เวลา ดังกล่าว.
นำเสนอโดย นางสาว เพ็ญนภา โคจำนงศ์ รหัสนักศึกษา [51123407016]

BebeekunG กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อข่าว
วธ.เข้าร่วมภาคีวัฒนธรรม ล้มคอกวัฒนธรรมไทยถูกขโมยลิขสิทธิ์

ที่มา http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=1608

เนื้อหา
วธ.เข้าร่วมภาคีวัฒนธรรม ล้มคอกวัฒนธรรมไทยถูกขโมยลิขสิทธิ์
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เพื่อพิจารณาการประกาศสัตยาบรรณการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใต้น้ำ การพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และการพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ได้เปิดเผย ภายหลังการประชุมว่า ขณะนี้ตนจึงได้เร่งทุกคณะทำรายละเอียดในส่วนที่รับผิดชอบโดยเร็วที่สุด รวมทั้งข้อดี ข้อเสียที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว เพื่อจะนำไปสู่การทำประชาพิจารณ์ในเดือน ก.ย. ถ้าได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยจะเข้าร่วมทำสัตยาบรรณทั้ง 3 ประเภทหรือไม่ หากต้องลงสัตยาบรรณ วธ.จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป

"สาเหตุที่เราต้องเร่งรัดเรื่องนี้เพราะที่ผ่านมามรดกวัฒนธรรมไทยเช่น ฤาษีดัดตน ข้าวหอมมะลิ รถตุ๊กตุ๊ก ท่ารำจีบ ฯลฯ ถูกต่างชาตินำไปจดลิขสิทธิ์เป็นเจ้าของ ทั้งที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทย หากใครจะนำมาใช้ต้องขออนุญาตและเสียค่าลิขสิทธิ์แก่ประเทศที่เป็นเจ้าของจดลิขสิทธิ์ การทำงานที่ผ่านมาเราเน้นเชิงรับมากเกินไป เช่น เมื่อทราบว่าประเทศใดมานำมรดกทางวัฒนธรรมไทยไปจดลิขสิทธิ์ ประเทศไทยจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อยูเนสโกเพื่อให้สืบค้นหาที่มาที่แท้จริงว่าเจ้าของเป็นใคร แต่ผมอยากจะทำงานเชิงรุก แทนที่จะคอยประท้วง เราจะเร่งรวบรวมข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาและจัดทำบัญชีรายการ หรือจดทะเบียนมรดกศิลปะวัฒนธรรมของไทยไว้ก่อนในระดับประเทศ ข้อมูลจะบ่งบอกที่มาของแหล่งกำเนิด และมีแหล่งกำเนิดที่ไหน มีความสำคัญกับคนไทยอย่างไร เป็นการยืนยันความเป็นเจ้าของ คาดว่าจะได้รายชื่อมรดกศิลปะวัฒนธรรมไทยที่ต้องขึ้นทะเบียนไว้เป็นเบื้องต้นเร็วๆนี้ เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมก่อน" ปลัด วธ. กล่าว (แนวหน้า ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๐)

นำเสนอโดย นางสาว เนตรทราย จิตรักมั่น รหัสนักศึกษา 51123407021

BebeekunG กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อข่าว
วธ.หนุนเมืองน่านเป็นเมืองมรดกโลก

ที่มา http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=1646


เนื้อหา

วธ.หนุนเมืองน่านเป็นเมืองมรดกโลก
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยถึงการผลักดันพื้นที่อนุรักษ์เมืองเก่าจังหวัดน่านเป็นมรดกโลกเตรียมเสนอต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ว่าได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน บ้านบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดน่านและคณะร่วมเดินทางด้วย จากนั้นไปดูพื้นที่อนุรักษ์เมืองเก่าน่าน โดยนายสโรช รัตนมาศ หัวหน้าวัฒนธรรมจังหวัดน่านได้หารือกับตนว่า คณะกรรมการดำเนินงานโครงการมรดกน่านสู่มรดกโลกเตรียมเสนอต่อยูเนสโกอีกครั้ง จากที่เสนอไปครั้งก่อน แต่ได้หยุดชะงักไปหลายปี จึงยังไม่มีความคืบหน้า เบื้องต้นตนเห็นด้วยที่นำเสนออีกครั้ง เพราะจากที่เห็นใจกลางเมืองน่านมีความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไม่มาก มีสถาปัตยกรรมล้านนา วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดภูมินทร์ วัดหัวข่วง บ้านเรือนไม้ของเจ้านายที่ชาวน่านเรียกว่า คุ้มหลวง อยู่มาก อาคารจำกัดความสูงไม่เกิน ๓-๕ ชั้น ควบคุมแหล่งบันเทิงไม่ให้เปิดในพื้นที่อนุรักษ์ อีกทั้งต้องของบประมาณจากรัฐบาลในการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินต้องใช้งบหลายสิบล้านบาท การรื้อสถานราชการบางแห่งเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น คาดว่า ต้องใช้เวลาหลายปีในการเสนอเมืองน่านเป็นมรดกโลก


ด้านนายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า การเสนอชื่อเมืองน่านเก่าเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมนั้น นายปองพล อดิเรกสารได้เคยแนะให้เปลี่ยนชื่อเป็น “มรดกวัฒนธรรมล้านนา” ดีกว่า เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ไม่แตกต่างจากที่เสนอให้เป็นมรดกโลกมากนัก ทั้งเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของเมืองโบราณล้านนาไว้อีกด้วย หากเสนอเป็นมรดกโลกต้องปรับเปลี่ยนส่วนราชการ บ้านเรือน อาคาร

นายสโรช กล่าวว่า เมืองน่านมีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี ชั้นในของเมืองได้รับการประกาศเป็นเมืองเก่าแห่งแรกของไทยตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมา และได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีรายชื่อเบื้องต้นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทยอยู่ในอันดับที่ ๘ เมื่อปี ๒๕๔๗ จากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะคณะทำงานจัดทำรายละเอียดข้อมูลพื้นที่ทางประวัติ ศาสตร์น่านเพิ่มเติม ตอนนี้มีความพร้อมแล้วที่เสนอในปี ๒๕๕๑ การจัดวางผังเมืองยังใช้กฎหมายระเบียบเมืองเก่าช่วยควบคุมความสูงของอาคารและแหล่งบันเทิงในเขตเมืองชั้นในประมาณ ๒ กิโลเมตร ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาด้านต่างๆ โดยของบรัฐบาลเอาสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ย้ายสถานราชการเปิดพื้นที่ให้โล่งทางสายตา (สำนักข่าวไทย ๑๖ กันยายน ๒๕๕๐)

นำเสนอโดย นางสาว ศิริรัตน์ ศศิพงศาธร รหัสนักศึกษา 51123407020

BebeekunG กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อข่าว
ชาวท่าปลาทวงคืนมรดกวัฒนธรรม

ที่มา http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=300

เนื้อหา

ชาวท่าปลาทวงคืนมรดกวัฒนธรรม
นายนเรศ ศรีภิรมย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า หลังจาก อ.ท่าปลา ย้ายออกมาจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ นอกจากจะทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่หลายอย่างก็สูญหายไปด้วย ปัจจุบัน มีโบราณวัตถุของชาวท่าปลาหลายชิ้นไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์จังหวัดน่าน จึงมีการประสานไปเพื่อขอคืนมา แต่หากได้มาจริงก็ยังไม่มีสถานที่เก็บรักษาที่เหมาะสม มีเพียงพื้นที่เล็กๆ ในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศเท่านั้น
"เคยทำเรื่องของงบประมาณไปยังหน่วยงานระดับอำเภอ จังหวัด หรือแม้แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนสิริกิติ์ เพื่อจะนำมาก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ของชาวท่าปลา แต่ถูกตัด ไม่เคยที่จะได้รับการจัดสรรมาเลย" นายนเรศกล่าว
ขณะที่ น.ส.อัจฉรา อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม (วธ.) จ.อุตรดิตถ์ กล่าวถึงกรณีนี้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เขื่อนสิริกิติ์ น่าจะเข้ามาเป็นเจ้าภาพในการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ และการขอคืนวัตถุโบราณอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นต้นเหตุของการล่มสลายทางสังคม และการสูญหายทางวัฒนธรรมของชาวท่าปลา อีกทั้งยังมีโบราณวัตถุของชาวท่าปลาอีกมาก ที่จมอยู่ใต้น้ำพร้อมกับวัด ๑๘ แห่ง เพราะการสร้างเขื่อน ซึ่งก็ควรต้องนำขึ้นมาเก็บรวบรวมไว้ให้ชาวท่าปลาด้วย (มติชน ๑๔ - ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)

นำเสนอโดย นางสาว อารีรัตน์ กุศลศิลป์ รหัสนักศึกษา 51123407018

ภวิศา กล่าวว่า...

ข่าว ‘ภาษาถิ่น’มรดกวัฒนธรรมบ้านเกิด

แหล่งที่มา : www.ChiangraiToday.com [20 กันยายน 2550]

“ประเทศไทย” นอก จากจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในนาม เมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของทรัพยากรข้าวปลาอาหารแล้ว ด้านความงดงามทางวัฒนธรรม ที่มีสีสันโดดเด่นแตกต่างกันในแต่ละภาค ก็ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวขานระบือไกลไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมการแสดง หรือวัฒนธรรมด้านภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาษาถิ่น” ที่กำลังมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้“การมีแนวคิดที่จะหันมาร่วม มือร่วมใจกันรณรงค์ให้มีการพูด หรือการใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารมากขึ้น รวมไปถึงความสนใจที่จะจัดให้มีการเรียนการสอน “ภาษาถิ่น” ในหลักสูตรของนักเรียนนับเป็นเรื่องที่ดีมากเพราะภาษาถิ่นในทุกภาคนั้นมี ความหมายและความงดงามในตัวเอง ต้องชมเชยภาคใต้ที่ปัจจุบันเรายังได้ยินเด็ก ๆ พูดภาษาถิ่นใต้อยู่ ในขณะที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน เดี๋ยวนี้อายที่จะพูดกันแล้ว หันไปพูดภาษาถิ่นกลางหรือกรุงเทพฯ กันหมด แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สายเกินไปที่ทุกฝ่ายจะร่วมมือกันทำให้ภาษาถิ่นกลับคืน มาอีกครั้ง” รศ.ดร.วิไลศักดิ์ กิ่งคำ หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัเกษตรศาสตร์ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับความสำคัญในการอนุรักษ์ภาษาถิ่น พร้อมบอกเล่าถึง ความหมาย ประเภท และมนต์เสน่ห์ของภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า
ภาษาถิ่น คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยจะมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภาษาถิ่นกลาง นอกจากภาษาราชการของชาวกรุงเทพฯ แล้ว เรายังสามารถได้ยินสำเนียงภาษาเหน่อของคนจังหวัดนครปฐม และสุพรรณบุรีด้วย ภาษาถิ่นเหนือ เป็นภาษาที่มีสำเนียงการออกเสียงที่โดดเด่นน่ารักไม่เหมือนใคร เช่น คำว่า เดิ๋ก แปลว่า ดึก, ปวดต้อง แปลว่า ปวดท้อง, วันพู่ก หมายถึง พรุ่งนี้, ตี๋น หมายถึง เท้า และมักลงท้ายประโยคพูดอย่างอ่อนหวานด้วยคำว่า “เจ้า” ขณะที่ ภาษาถิ่นอีสาน ก็มักเป็นคำหรือสำเนียงที่เราได้ยินคุ้นหู เช่นคำว่า ไปบ่ แปลว่า ไปหรือเปล่า, ชั่วโมง พูดว่า ซัวโมง, ข้างแรมพูดว่า เดือนดั๋บ ฯลฯ ส่วนภาษาถิ่นใต้ มักจะเป็นคำพูดห้วน ๆ สั้น ๆ เช่น คำว่า ตะกร้า พูดว่า กร้า, กระทะ พูดว่า ทะ, ถังน้ำ พูดว่า ทุงน้ำ, เมษายน พูดว่า เมษรา, วันพฤหัสบดี พูดว่า วันหัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นเฉพาะจังหวัด เช่น ที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด มักมีคำสร้อยลงท้ายประโยคว่า “ฮิ” เช่น ละครเรื่องนี้ใครเป็นนางเอกฮิ หรือ ก็มันไม่ชอบฮิ และภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรีหรือภาษาเมืองเพชร ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่มีสำเนียงเพี้ยนออกไปจากภาษาภาคกลาง กรุงเทพฯ โดยสำเนียงชาวเพชรบุรี จะมีลักษณะ เฉพาะตัวเป็นสำเนียงที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ หากจะฟังสำเนียงชาวเพชรบุรีแท้ ๆ จะอยู่ในเขตอำเภอบ้านลาด และอำเภอใกล้เคียง รูปแบบประโยคของภาษาเมืองเพชรมีลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะการปฏิเสธจะใช้คำว่า “ไม่” ตาม หลังคำกริยา และเปลี่ยนระดับเสียงคำกริยา เช่น กิ๊นไม่ (ไม่กิน) เอ๊าไม่ (ไม่เอา) มี้ไม่ (ไม่มี) ป๊วดไม่ (ไม่ปวด) นอกจากนี้ สำเนียงการออกเสียงสระยังมีลักษณะเฉพาะตัว เช่น คำว่า น้ำ ออกเสียงสั้นตามสระ-ำ ไม่นิยมออกเสียงยาวเป็น “น้าม” เหมือนคนกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่นิยมใช้กันในท้องถิ่นเพชรบุรีโดยเฉพาะ อาทิ คำว่า แมลงปอ พูดว่า แมงกระทุย แมงกระชุน, ชาม กะละมัง เรียกว่า ชาม กะละแม็ง, กะล่อน ชาวเพชรบุรีบางถิ่นออกเสียงควบกล้ำเป็น กล้อน” ไม่แยกพยางค์ ฯลฯ ในปัจจุบันสำเนียงเพชรได้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเขตตัวเมือง เพราะมีการติดต่อกับผู้คนที่เดินทางผ่านหรือมาท่องเที่ยว รวมทั้งระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน หากต้องการฟังสำเนียงเพชรแท้ ๆ ต้องไปฟังแถวชนบท เสน่ห์ที่สำคัญของภาษาถิ่น นอกจากจะใช้สื่อความหมายกับบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันให้เข้าใจตรงกัน แล้ว ภาษาถิ่นยังมีความโดดเด่นในการช่วยรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประ เพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นนั้น ๆ ไว้ด้วย อาทิ การแสดงโนราห์ของภาคใต้ ที่ต้องใช้ภาษาถิ่นใต้ ถ้าเราใช้ภาษาถิ่นอื่น หรือภาษากรุงเทพฯ ก็จะไม่สื่อ หมดอรรถรสโดยสิ้นเชิง การศึกษาและเรียนรู้ภาษาถิ่นนั้นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยนอกจากทำให้เราได้สัมผัสกับความงดงามของภาษาถิ่นในแต่ละท้องถิ่นแล้ว การที่เรารู้และเข้าใจภาษาถิ่น ยังช่วยทำให้เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมทั้งในอดีตและปัจจุบันของแต่ละท้องถิ่น นั้น ๆ โดยปริยาย และที่สำคัญยังทำให้ผู้รู้ภาษาถิ่นนั้นสามารถอ่านศิลาจารึกสมัยก่อนซึ่งมัก มีภาษาถิ่นเขียนไว้ได้อย่างคล่องแคล่ว

น.ส.ภวิศา สงคราม
51123407019

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ชื่อ นางสาวอัญชนา ขำมะโน (51123407034)

หัวข้อข่าว ปราสาทตาเมือน....สต๊กก๊อกธม โบราณสถานมรดกวัฒนธรรม

เนื้อหา
ร่องรอยประวัติศาสตร์ศิลปะสถาปัตยกรรมแต่ละยุคสมัยที่ปรากฏถ่ายทอดผ่านโบราณสถานมรดกวัฒนธรรมนั้นมีมนต์ ขลังเป็นแหล่งความรู้สำคัญเชื่อมโยงผู้คนปัจจุบันได้เรียนรู้เข้าใจอดีต

โบราณสถานที่ตั้งอยู่ริมตะเข็บชายแดนไทยกัมพูชา ที่ผ่านมานอกจากกล่าวถึง ปราสาทตาเมือน โบราณสถานศิลปะขอมในพื้นที่กิ่งอำเภอ พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ยังมีความเคลื่อนไหวการรักษาเฝ้าระวังปราสาทสด๊กก๊อกธม ปราสาทเขาน้อย โบราณสถานบริเวณชายแดนในพื้นที่ จ.สระแก้ว กลุ่มปราสาทตาเมือน สด๊กก๊อกธมตามที่มีการเสนอข่าวกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษานับแต่ปี พ.ศ. 2478 เขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากรเริ่มต้นพร้อมให้ความรู้บอกเล่าคุณค่าศิลปะสถาปัตยกรรมว่า โบราณสถาน ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนต่างมี การแลกเปลี่ยนอารยธรรม รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมระหว่างกัน กลุ่มปราสาทดังกล่าวนอกจากการขึ้นทะเบียนที่ผ่านมากรมศิลปากรได้บูรณะ รักษาคุณค่าความสำคัญของโบราณสถานเป็นระยะต่อเนื่องมา

รวมทั้งคนในพื้นที่ชุมชน เจ้าหน้าที่ช่วยกันรักษาดูแลอย่างปราสาทสด๊กก๊อกธม ที่ตั้ง อยู่ในพื้นที่บ้านหนองหญ้าแก้ว จ.สระแก้ว ปัจจุบันไม่น่ามีปัญหาใด ๆ ตัวปราสาทอยู่ห่างออกไปเกือบสามกิโลเมตร อีกทั้งยังประกาศขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานเช่นเดียวกับกลุ่มปราสาทตาเมือน ปราสาท ใหญ่ ๆ ที่มีความสำคัญในเขตชายแดน

กลุ่มปราสาทตาเมือน โบราณสถานกลุ่มนี้จัดเป็นโบราณสถานต่างกาลเวลาที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่ง กลุ่มปราสาทตาเมือนมีจำนวน 3 หลังตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่ไกลจากกัน ประกอบด้วย ปราสาทตาเมือน ตาเมือนธมและตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาเมือน โบราณสถานที่เชื่อกันว่า สร้างขึ้นเป็นที่พักของคนเดินทาง หรือ ธรรมศาลา สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณ ไปยังเมืองพิมาย

“ปราสาทหลังนี้สร้างด้วยศิลาแลง หินทรายปนกันมีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยวห้องยาวเชื่อมต่อกันมา มีหน้าต่างเรียงกัน จากจุดนี้ไม่ห่างจากกันจะมาถึงปราสาทตาเมือนโต๊ดได้ซึ่งโต๊ด หมายถึงเล็ก ปราสาทหลังนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ลักษณะเป็นอโรคยศาลสมัยโบราณ จากจารึกและหลักฐานโบราณคดีน่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ปราสาทแห่งนี้มีความน่าสนใจที่พื้นที่ห้องกลางของ โคปุระพบศิลาจารึก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต ข้อความจารึกบอกถึงการประทานความไม่มีโรคแก่ผู้ที่นับถือ ดูแลปราสาท ฯลฯ ปัจจุบันได้มี การอ่านจารึกและเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ”

ศิลปะสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ ปราสาทตาเมือนโต๊ด ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยืนทางด้านหน้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย บรรณาลัยเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีซุ้มประตู (โคปุระ) ทางด้านหน้าทิศตะวันออกด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยศาลอื่น ๆ

ส่วนปราสาทขนาดใหญ่ ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนมาก ปราสาทหลังนี้ประกอบด้วยปรางค์สามหลังโดยปรางค์ประธานมีขนาดใหญ่สุด ส่วนอีกสองปรางค์อยู่ทางด้านหลังและทางขวา สร้างด้วยหินทราย ศิลาแลง ลวดลายจำหลักสวยงามปรากฏที่ปรางค์ประธาน

ปราสาทตาเมือนธมแม้ จะทรุดโทรมลงตามกาลเวลา แต่ยังปรากฏลวดลายศิลปะสถา ปัตยกรรมอย่างทางด้านตะวันออก ตะวันตกมีวิหาร 2 หลัง สร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดนี้มีระเบียงคดสร้างด้วยหินทรายมีโคปุระทั้ง 4 ด้านซึ่งโคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขา นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำที่ลานริมระเบียงคดทางมุขทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม และจากลักษณะลวดลายจำหลักสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 16

“กลุ่มปราสาทเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศิลปะสถาปัตย กรรม นอกจากนี้ยังมีจารึกซึ่งมีความน่าสนใจปรากฏให้คนรุ่นหลังศึกษา แสดงให้เห็นความเคารพศรัทธา และถึงจะอยู่ห่างไกล ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแต่มีคุณค่ามีร่องรอยประวัติศาสตร์ให้ศึกษา ส่วนการบูรณะที่ผ่านมาเป็นการจัดเรียงหินรักษาลักษณะเดิมขององค์ปราสาท”

นอกจากกลุ่มปราสาทดังกล่าว สด๊กก๊อกธม โบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจ รองอธิบดีให้ความรู้ต่ออีกว่า ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีความน่าสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์มีจารึกปรากฏให้ศึกษาเช่นกันและแม้จะตั้งอยู่ใกล้ชายแดนแต่ก็ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทหารรักษาดูแล มีความปลอดภัยในการเข้าชม

“ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีชื่อเรียกที่ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า ปราสาทเมืองพร้าว ด้วยว่าตั้งอยู่ในป่าทึบมองเห็นเป็นป่าดงพร้าวแต่พอเข้าไปใกล้กลับมองไม่เห็น ส่วนชื่อสด๊กก๊อกธมกล่าวกันว่าตั้งตามลักษณะภูมิประเทศซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่มีต้นกกขึ้นรกและจากเอกสารที่กล่าวถึงการสร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 16 เป็นเทวสถานศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายศิลปะขอมและบาปวนซึ่งเป็นที่รู้จักและแพร่หลายกันเมื่อครั้งที่นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเอเตียน เอโมนิแยร์ ได้สำรวจ อ่านและแปลจารึกเผยแพร่”

ปราสาทเก่าแก่หลังนี้นอกจากความงามทางศิลปะสถาปัตยกรรม ยังมีจารึกเป็นที่สนใจและช่วงที่ผ่านมาขณะเกิดสงครามภายในประเทศกัมพูชาในช่วงปี 2518 บริเวณปราสาทแห่งนี้ยังใช้เป็นศูนย์อพยพชั่วคราว จากนั้นในปี พ.ศ. 2536 มีโครงการขุดแต่งบูรณะปราสาทซึ่งถึงวันนี้ปราสาทแห่งนี้พร้อมเป็นแหล่งความรู้

แม้จะผ่านกาลเวลามายาวนาน กลุ่มปราสาทตาเมือน สด๊กก๊อกธมยังคงคุณค่าความงามเป็นโบราณสถานทรงคุณค่า มรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มากไปด้วยองค์ความรู้

ที่มา http://www.rssthai.com วันที่ 14 สิงหาคม 2551 เวลา 00:00 น.

nanniiez กล่าวว่า...

นางสาว พณิตา อุ่นกาศ ( 51123407026 )
หัวข้อข่าว:ชาติอาเซียนผนึกกำลังปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมสู่ลูกหลาน
เนื้อหา:นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานเครือข่ายมรดกวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดสุโขทัย โดยมี 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี พ.ศ. 2551-2553 จำนวน 3 แผน ได้แก่ 1.การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ 2.การสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3.นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมให้เยาวชนรุ่นหลังได้สืบทอดและเรียนรู้ นายวีระ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังได้เสนอโครงการเกี่ยวกับการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมอีก 8 โครงการ ได้แก่ โครงการประชุมเกี่ยวกับการป้องกันและลักลอบขนย้ายสมบัติทางวัฒนธรรมในอาเซียน, โครงการส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมสู่ คนรุ่นใหม่, การประชุมปฏิบัติการการจัดทำมาตรฐานการปกป้องมรดกวัฒนธรรมของอาเซียน, การประชุมวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษาในการปกป้องสมบัติของชาติและทรัพย์สินทางวัฒนธรรม, การประชุมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการรับรองและการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นของอาเซียนร่วมกัน, การประชุมปฏิบัติการการสงวนรักษาและอนุรักษ์งานช่างศิลปหัตถกรรมดั้งเดิม, การส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมกรณีศึกษาด้านการพัฒนาพิพิธภัณฑ์และการสื่อสารกับผู้ชม และการประชุมอาเซียนเรื่องนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรม
“วธ. ในฐานะเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ จะนำเสนอโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสคณะทำงานเครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรมในเดือนมิถุนายน 2551 รวมทั้งได้มอบหมายให้กรมศิลปากรจัดทำรายละเอียดโครงการประชุมวิชาการปกป้องสมบัติชาติที่เราเสนอ เพื่อเตรียมประชุมในปี 2552ด้วย” ปลัดวธ. กล่าว.

ที่มา:http://news.mjob.in.th/education/cat7/news6775/

nanniiez กล่าวว่า...

นางสาว กุลธิดา เพ็ชรโปรี
รหัส : 51123407011

หัวข้อข่าว : "หนังไทย" มรดกวัฒนธรรม ในหอภาพยนตร์แห่งชาติ

เนื้อหา : ไม่มีใครไม่รู้จัก"ภาพยนตร์"หรือ "หนัง" สื่อที่ให้ความบันเทิงในรูปแบบหนังเรื่องหนังสั้น สารคดี ฯลฯ นำเสนอผ่านสายตาของผู้ชมในโรงภาพยนตร์ก็ดี โทรทัศน์ก็ดี ซึ่งกว่าจะได้แต่ละเรื่องแต่ละชิ้นงานมานำเสนอ ต้องใช้ระยะเวลาในการถ่ายทำอยู่นานพอควรบางเรื่องสองเดือน บางเรื่องนานถึงห้าปีขึ้นก็มี
และทว่าไปภาพยนตร์หรือหนัง เป็นเสมือนมรดกความทรงจำชั้นดีให้กับเรา เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะมองเห็นในอดีตของแต่ละมุม โดยผ่านแผ่นฟิล์มในเรื่องราวนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพของเหตุการณ์จริง ภาพจำลอง ภาพวิถีชีวิต ความรัก ความโศกเศร้า ฯลฯ ที่ผ่านนักแสดงและสถานที่แห่งนั้นๆ

ในบ้านเรามีการเก็บภาพยนตร์เก่าๆ อยู่ไม่กี่แห่ง แต่ที่รู้จักกันดีเห็นจะเป็น หอภาพยนตร์แห่งชาติ (หภช.) กรมศิลปากร เก็บสะสมและดำเนินการอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพยนตร์ซึ่งเป็นผลงานของคนไทย ตลอดจนภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับคนไทย ทั้งภาพยนตร์ส่วนพระองค์ของราชวงศ์ ข่าว สารคดี หนังเรื่อง และหนังบ้าน ที่ถ่ายทำกันเองในครอบครัว หรือในแวดวงของสังคมนั้นๆ ด้วยกันเอง

ที่หอภาพยนตร์ฯ ศาลายา จ.นครปฐม บนเนื้อที่ 5 ไร่ ประกอบด้วยอาคารหลังเล็กๆ 2 หลัง ภายในแทบจะไม่มีทางเดินที่กว้างพอ เพราะอัดแน่นไปด้วยชั้นวางม้วนฟิล์มภาพยนตร์เคลื่อนไหวและภาพนิ่ง ทั้งห้องแล็ป ตั้งอุณหภูมิเฉียด 10 องศา เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งกำลังง่วนอยู่กับการทำความสะอาดม้วนฟิล์มที่วางกองบนโต๊ะ และวางบนพื้นรอทำความสะอาดอีกจำนวนหนึ่ง

ถัดไปอีกหลังหนึ่งขนาดย่อม ตั้งอยู่ด้านนอกเกือบติดริมรั้วถนน สีสันของอาคารเหลืองออกส้ม รูปทรงไม่ต่างไปจากโรงหนังสมัยก่อน ถูกสร้างขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์หอภาพยนตร์ไทยภายในชั้นล่างตบแต่งเป็นโรงถ่าย ย่อมุมส่วนต่างๆ ของบ้านและสถานที่ ทั้งติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายหนัง ในบางมุมจำลองห้องขายตั๋ว ติดโปสเตอร์หนัง รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ของดาราไทยชื่อดังในอดีต กับอีกมุมหนึ่งเป็นโรงหนังจะมีจำนวนที่นั่ง 20 ที่นั่ง

ส่วนชั้นบน ถูกจัดวางเครื่องฉายแต่ละยุคสมัย มีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาถึงสมัยปัจจุบัน ทั้งหมดได้รับมอบมาจากบุคคลให้กับพิพิธภัณฑ์ฯ
นักอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ไทย โดม สุขวงศ์ หัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยเมื่อหลายปีก่อน เล่าให้ฟังว่า ภาพยนตร์เป็นเครื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมหนึ่ง มีคุณค่าทางการศึกษาเชิงวัฒนธรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์ มาประกอบขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงของประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะภาพยนตร์ไทยบันทึกเรื่องราวในแง่มุมต่างๆ ตั้งแต่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วีธีคิดทัศนคติต่อโลกของคนรุ่นหนึ่งในเวลานั้น

การทำโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย เกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีมานี่ (2542) แต่หอภาพยนตร์ฯ ตั้งมานานแล้ว (พ.ศ.2527) ซึ่งอาคารหลังนี้ได้เลือกอาคารโรงถ่ายภาพยนตร์ เสียงศรีกรุง ของพี่น้องตระกูล "วสุวัต" ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมภาพยนตร์เสียงมาตรฐานสำคัญของประเทศ (พ.ศ.2478) เคยรุ่งเรืองได้ชื่อว่า ฮอลลีวูดแห่งสยามในอดีต นำมาเป็นต้นแบบอาคารพิพิธภัณฑ์ ทั้งยังมีความงดงามสมบูรณ์ทางสถาปัตยกรรม ออกแบบโดยโปรเฟสเซอร์ อี มันเฟรดี สถาปนิกชาวอิตาลี เข้ามารับราชการอยู่ในกรมศิลปากรในสมัยนั้น

เมื่อก่อสร้างและตกแต่งอาคารพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยเสร็จแล้ว หอภาพยนตร์ฯ ได้รณรงค์ขอความสนับสนุนจากบุคคลในวงการภาพยนตร์ไทย และจากประชาชนทั่วไป เพื่อรับบริจาคเงินและสิ่งของสำหรับจัดแสดงจากผู้กำกับหนังและนักแสดง นอกเหนือไปจากทีมงานของเราได้ตระเวนไปตามโรงหนัง ผู้ประกอบการธุรกิจหนังในต่างจังหวัด ซึ่งก็ได้มาจำนวนมากพอ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ

ถึงตอนนี้ หอภาพยนตร์ฯ มีทั้งหนังบ้าน หนังไทย สารคดี ข่าว จำนวนนับ 10,000ม้วนขึ้น อันนอกเหนือไปจากหอภาพยนตร์ฯ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตฟิล์มส่วนพระองค์และภาพนิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินกรณียกิจต่างๆ ให้กับหอภาพยนตร์ฯ ไว้จำนวนกว่า 6,000 ม้วน ซึ่งเรากำลังก่อสร้างอาคารศูนย์มรดกโสตทัศน์แห่งชาติ เก็บรักษาเป็นมรดกของชาติ และเพื่อการศึกษาเรียนรู้ให้กับประชาชนทั่วไป

นักอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ไทยอีกท่านหนึ่ง อดิศักดิ์ เซ็กรัตน์ หัวหน้าหอภาพยนตร์ฯกล่าวถึงกิจกรรมว่า เจ้าหน้าที่ของเราประมาณ 18 คน ส่วนหนึ่งจะนำตารางหนังที่จะฉายในรอบเดือนนั้นไปปิดประกาศตามชุมชนในเขตพุทธมณฑลใกล้-ไกล และเผยแพร่ผ่านทางสื่อพิมพ์ บอกให้รู้ว่าทุกวันเสาร์จะฉายหนังไทยเรื่องอะไรบ้าง ได้รับความสนใจตลอดโดยเฉพาะคนในกรุงเทพฯ ขับรถมาชม โดยที่เราไม่เก็บค่าเข้าชม แถมเรายังมีขนม น้ำชากาแฟบริการให้กับผู้เข้าชม และยังมีกิจกรรมร่วมสนุก ควบคู่ไปกับการเสวนาเล่าเรื่องต่างๆ ที่มาของหนัง

อดิศักดิ์ว่า ตั้งแต่หอภาพยนตร์ฯ ก่อตั้งขึ้นมาได้รับบริจาคสิ่งของต่างๆ จากสถาบันและบุคคลในวงการภาพยนตร์มาอย่างต่อเนื่อง สามารถรวบรวมทุนและวัตถุสิ่งของได้เป็นจำนวนมาก พอที่จะแสดงให้เห็นประวัติความเป็นมาของภาพยนตร์ในรอบร้อยปีที่ผ่านมาในประเทศไทย พอที่จะอวดให้เห็นเกียรติภูมิของภาพยนตร์ไทย และพอที่จะเป็นแหล่งให้สาธารณชนได้ศึกษาเรียนรู้ตามอัธยาศัยและเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อีกส่วนหนึ่ง

และว่าพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยแห่งนี้ จึงเป็นดั่งวิหารศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตแห่งจิตวิญญาณของวงการภาพยนตร์ไทย เป็นที่รวมพลังความรัก ความศรัทธา การอุทิศ และการเสียสละในวงการภาพยนตร์ไทย เป็นเครื่องเชิดชูใจให้อนุสติแก่โลกภาพยนตร์ และบรรดาผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

ที่มา : กรุงเทพฯ--8 มี.ค.--สยามรัฐ
http://www.moe.go.th/news_center/news08032550_08.htm

nanniiez กล่าวว่า...

นางสาว ฉวีวรรณ ประดับบรรจง
รหัส : 51123407013

หัวข้อข่าว : ข่าวรอบเมืองเหนือ อบรมเครือข่ายสร้างมัคคุเทศก์น้อยสืบสานมรดกวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน

เนื้อหา : เทศบาลเมืองน่าน ร่วมกับมูลนิธิโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ (เทศบาลบ้านภูมินทร์) สร้างเครือข่ายมัคคุเทศก์น้อย อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดน่าน ฝึกฝนให้เด็กนักเรียนเป็นเจ้าของบ้านที่ดีต้อนรับแขกเมือง
วันนี้ (13 มิ.ย.51) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองน่าน นายสุรเดช สุวรรณปากแพรก รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดการอบรมเครือข่ายมัคคุเทศก์น้อย สืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมจังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 13 – 15 มิถุนายน นี้ รวม 3 วัน มีเป้าหมายสร้างเครือข่ายมัคคุเทศก์น้อยจากสถานศึกษาหลายแห่งในอำเภอเมืองน่าน รวมทั้งสิ้น 100 คน ประกอบด้วย นักเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาน่านเขต 1 จำนวน 25 คน นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 50 คน นักเรียนสังกัดการศึกษาเอกชน จำนวน 15 คน และอาชีวศึกษา 10 คน
นายจริน แก้วอินแสง เลขานุการมูลนิธิโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ฯ ในฐานะคณะกรรมการจัดการอบรมโครงการเครือข่ายมัคคุเทศก์น้อย เพื่อเป็นการปลูกฝังสร้างจิตสำนึกที่ทำให้เยาวชนในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมจังหวัดน่าน ให้เยาวชนได้เป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ฝึกฝนให้นักเรียนเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับแขกผู้มีเกียรติด้วยน้ำใจไมตรีอันดีงาม โดยมีนักเรียนมัคคุเทศก์น้อยรุ่นพี่มาถ่ายทอดตัวอย่างให้กับมัคคุเทศก์น้อยรุ่นใหม่ ด้วยวิธีการนำเสนอและสาธิตแนะนำเอกลักษณ์ของจังหวัดน่าน ให้กับผู้มาท่องเที่ยวด้วย
นอกจากนี้ ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองน่าน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังปรากฏสู่สายตาสาธารณชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ อาทิ ภาพวาดวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุแช่แห้ง ภาพปู่ม่าน-ย่าม่าน ซึ่งแสดงถึงการ แต่งกายคล้ายชาวไทยใหญ่ ภาพพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธมหาพรหมอุดมศายมุนี เป็นประธานในพระอุโบสถวัดภูมินทร์ ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ ภาพหญิงสาวผู้มีฐานะสูงส่งแต่งกายผ้าซิ่นสูบบุหรี่ขี้โย สวมกำไลเงิน-ทอง และภาพการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวขณะไปตลาด- ท่าน้ำ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การอบรมสร้างเครือข่ายมัคคุเทศก์น้อย จะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน ที่โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ และวันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน เดินทางไปทัศนศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน

ที่มา : http://region3.prd.go.th/ct/news/showprint.php?ID=080613171107

sasiwan muangwong กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อ มูลนิธิเกศอัมริมทร์ ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมชมการแสดงโขนชุดใหญ่ เรื่อง รามเกียรติ์ ชุดรามาวตาร ซึ่งเป็นการแสดงครั้งสุดท้ายก่อนปิดโรงละครแห่งชาติ

ที่มา : http://www.newswit.com/news/2005-12-09/23d342dc6dc375e2275acda6f47ac3a9/ [อังคารที่ 23 กันยายน 2551]

เนื้อหา กรุงเทพฯ--9 ธ.ค.--นิโอ ทาร์เก็ต
เนื่องด้วย มูลนิธิเกศอัมริมทร์ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย จะจัดการแสดงโขนชุดใหญ่เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามาวตาร โดยอาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้เขียนบท และกำกับการแสดง ซึ่งจะใช้นักแสดง พระ นาง ยักษ์ ลิง และนักดนตรีปี่พาทย์รวมกันประมาณ 150 คน ในวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2548 ณ โรงละครแห่งชาติ เพียงรอบเดียว และเป็นการแสดงครั้งสุดท้ายก่อนการปิดโรงละครแห่งชาติเพื่อซ่อมแซมในปี 2549 รายได้จากการจัดแสดงจะนำไปใช้ในกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของมูลนิธิฯ

การแสดงในครั้งนี้ดำเนินเรื่องตั้งแต่ นารายณ์ปราบนนทุก ลักสีดา หนุมานถวายพล จนถึงสงคราม ระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ นำแสดงโดยศิลปินชื่อดังของกรมศิลปกร ประกอบด้วย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์, ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์, วันทนีย์ ม่วงบุญ, สุรเชษฐ์ เฟื่องฟู, นพวรรณ จันทรักษา, ขวัญใจ คงถาวร, ฤทธิเทพ เถาวหิรัญ, ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์ฐ วัชรวัน ธนะพันธุ์, สมเจตน์ ภู่นา, ถนอม นวลอนันต์, ประสาท ทองอร่าม และจรัล พูลลาภ

บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ของการจัดแสดงโขนครั้งนี้ ขอเรียนเชิญท่านและ/หรือตัวแทนของท่านเข้าร่วมการแสดงโขนชุดใหญ่ ในวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2548 เวลา 17.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ(โรงใหญ่) ถนนราชินี(เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า)

นำเสนอโดย นางสาวศศิวรรณ เมืองวงษ์

รหัส 51123407027

sasiwan muangwong กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อ เชิญร่วมงาน กิ๋นหอมต๋อมม่วน ชวนกั๋นแอ่วกาด 100 ปี ห้วยสัก

ที่มา http://www.newswit.net/read/582756.html [23 กันยายน 2551]

เนื้อหา วัดศรีศักดาราม ห้วยสัก ซึ่งเป็นอาศรมของ พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) ได้กำหนดให้มีการสมโภชพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์สาม) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่กับวัดศรีศักดารามและตำบลห้วยสัก ในระหว่างวันที่ 23-24 กันยายนนี้ ทางวัดจะได้จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยจัดข่วงวัฒนธรรมขึ้นภายในวัด เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา โดยมีชื่อกิจกรรมว่า กิ๋นหอมต๋อมม่วน ชวนกั๋นแอ่วกาด 100 ปี ห้วยสัก จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ณ วัดศรีศักดาราม ตำบลห้วยสัก

นำเสนอโดย นางสาวรังสิยา อโณทัยนาท

รหัส 51123407023

nam_club กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
nam_club กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
nam_club กล่าวว่า...

ข่าว สร้างศรัทธาหรือก่อวิกฤตศรัทธา(1)

ที่มา http://www.blogth.com/blog/China/Today/589.html

เนื้อหา มหาตะมะ คานธี มหาบุรุษของอินเดียเคยกล่าวว่า สิ่งที่จะทำลายมนุษยชาติได้นั้นมีอยู่ 7 ประการ นั่นคือ การเมืองแบบมิจฉาทิฐิ พฤติกรรมเสเพล ร่ำรวยโดยมิชอบ ไม่รู้จักสำนึกผิดชอบชั่วดี ค้าขายไม่มีศีลธรรม ความรู้ที่ขาดสามัญสำนึก และไม่ศรัทธาในการเสียสละ
ผมอ้างคำพูดของท่านคานธี ก็เพราะอบายทั้ง 7 ประการของท่านสะท้อนต้นตอปัญหาของสังคมได้เป็นอย่างดี เอาไปวัดมองสังคมใด ก็จะเห็นจริงตามท่านได้ทันที นักวิชาการจีนหลายคนก็มีมุมมองไม่ต่างจากท่านคานธี ผมจึงอยากเอามาถ่ายทอดให้คุณผู้อ่านได้รับทราบว่า พวกเขามองสังคมปัจจุบันของจีนอย่างไร เพราะบางทีสิ่งที่นักวิชาการจีนมอง อาจสะท้อนแง่มุมแง่คิดอะไรให้กับสังคมไทยได้บ้าง ด้วยทั้งไทยและจีนมีอะไรๆ หลายๆ อย่างที่คล้ายกันเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศรัฐบาลของท่านทักษิณ ชินวัตร เน้นนักเน้นหนาในเรื่องของตัวเลขจีดีพี จีนก็เน้นเหมือนกันและดูจะเน้นมากกว่าเราเสียด้วยซ้ำไป ทุกอย่างพูดกันถึงแต่เรื่องของตัวเลขและตัวเลข ตัวเลขจีดีพี ตัวเลขรายได้แผ่นดิน ตัวเลขการจัดเก็บภาษี ตัวเลขการส่งออก จนลายตาไปด้วยตัวเลข และเผลอคิดไปว่ามันเป็นหวยเศรษฐกิจที่รัฐบาลทั้งไทยและจีนพยายามแทงให้ถูก โดยเน้นแก้ปัญหาด้วยเงินอย่างเดียว นี่ทำให้เราได้เห็นภาพการแย่งยึดพื้นที่สาธารณะเพื่อแย่งชิงทรัพยากร ในกรณีของไทยก็เช่น กรณีเขื่อนปากมูล กรณีโรงไฟฟ้าบ่อนอกหินกรูด ในกรณีของจีนมีตั้งแต่เรื่องใหญ่มากๆ ไปจนถึงเรื่องเล็ก เช่น กรณีเขื่อนทรีจอร์จ (the Three Gorges Dam) เรื่อยไปจนถึงการไล่ชาวบ้านออกจากบ้านช่องและที่ดินทำกิน เพื่อสร้างถนนบ้าง สร้างศูนย์การค้าหรือที่ทำการหน่วยงานของรัฐบ้าง นอกจากนี้ การส่งเสริมกระตุ้นลัทธิโภคนิยมก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่แตกต่างกันนัก ยอดการใช้โทรศัพท์มือถือที่พุ่งกระฉูดของทั้งไทยและจีน คงเป็นดัชนีเบื้องต้นให้เราเห็นการแพร่ระบาดของลัทธิบริโภคนิยมได้ชัดเจน
ผมเปรียบเทียบภาพพอให้เห็นกันว่าไทยและจีนมีอะไรๆ ที่คล้ายกันหลายอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจพัฒนาประเทศแล้ว เรามาดูกันว่านักวิชาการจีนเองมองปัญหาสังคมอันเกิดจากการพัฒนาที่ว่านี้กันอย่างไร
สังคมจีนทุกวันนี้ หากมองอย่างผิวเผินหรือมองแต่ภาพกว้างเราจะเห็นภาพความเจริญทางวัตถุที่หลั่งไหลเข้าไป เมืองทั้งเมืองเกิดขึ้นใหม่ได้ราวกับเนรมิต โรงงาน ถนน ทางด่วน ตึกรามสูงเสียดฟ้า ผุดขึ้นมาราวกับผู้มีอำนาจกำลังเล่นเกม SimCity ก็ไม่ปาน หากแต่ชีวิตจริงไม่ใช่เกมคอมพิวเตอร์ ที่ตัวละครในเกมไม่มีเลือดเนื้อชีวิตจิตใจ สิ่งที่ขาดหายไปในสังคมจีนอันเป็นผลมาจากการพัฒนาอย่างเร่งรีบ รีบสร้าง รีบทำ รีบใช้ และรีบผลาญ ทำให้คนจีนรู้สึกขาดความมั่นคงในชีวิตและการยอมรับจากผู้คนในสังคมในขณะที่ปัจจุบันสังคมจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนเรียกว่ารุนแรงได้ คนจีนก็เกิดอาการงุนงงกับตัวเองว่าตัวเองกำลังยืนอยู่ตรงจุดไหนของสังคม และจุดที่กำลังยืนอยู่นี้จะเปลี่ยนไปในทางดีขึ้นหรือแย่ลงในวันหน้า ทุกคนจะรู้สึกมีแรงกดดันจากสังคม ตั้งคำถามกับตัวเองว่าทุกวันนี้มีชีวิตสุขสบายดีหรือเปล่า บางคนพูดราวกับยอมรับความจริงของชีวิตในสังคมจีนว่าวัยหนุ่มสาวใช้ร่างกายที่ยังแข็งแรงทำงานเพื่อหาเงิน และเก็บเงินที่หามาได้นี้ไว้ดูแลรักษาร่างกายที่ทรุดโทรมป่วยไข้เมื่อสูงวัยขึ้น
ทั้งนี้เพราะหลังการปฏิรูประบบการรักษาพยาบาล คนจีนต้องพยายามเก็บเงินให้มากพอ เผื่อเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาจะได้มีเงินรักษาตัวเพราะค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้นมาก หลังการปฏิรูปเรื่องที่อยู่อาศัยคนจีนต้องเริ่มคิดถึงเรื่องการหาเงินมาผ่อนบ้าน ทั้งราคาบ้านก็ถูกปั่นขึ้นไปจนแพงลิบหากเทียบกับรายได้ขั้นต่ำของคนจีน และหลังปฏิรูประบบการศึกษาคนจีนที่ฐานะยากจนหมดโอกาสส่งลูกเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา เปิดช่องทางให้การศึกษากลายเป็นกิจกรรมเชิงพาณิชย์ไป เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากแต่จีนก็มีผลงานความสำเร็จอวดคนในชาติเหมือนกัน การส่งยานอวกาศเสินโจว 5 พร้อมมนุษย์อวกาศสัญชาติจีนคนแรกขึ้นไปท่องอวกาศ กระตุ้นเลือดรักชาติให้ฉีดแรงขึ้นได้เหมือนกัน ตามด้วยการออกข่าวเป็นระยะๆ เกี่ยวกับโครงการอภิมหาโปรเจ็กต์ด้านอวกาศวันนี้จีนกำลังอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง แม้ว่าฉากหน้าของความเจริญในระดับมหภาคจะดูสงบเงียบ แต่หากมองลึกเข้าไปในสังคมจีนจะพบความขัดแย้งที่กำลังก่อตัวปะทุเดือดพล่าน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสำคัญที่สุดนับแต่การปฏิรูปที่ดินและการปฏิวัติวัฒนธรรม แม้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะดูสงบเงียบเหมือนไม่มีการไหวกระเพื่อมของสังคม แต่การที่ผู้นำจีนออกมาพูดย้ำถึงการสร้างสังคมที่ปรองดอง ก็ย่อมเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นว่าผู้นำจีนน่าจะมองเห็นปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่หมักหมมมานานปีและลุกลามออกไป ปัญหาความขัดแย้งในสังคมอันเกิดจากช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่ถ่างกว้างออกไปทุกทีนั้นมิใช่เรื่องที่จะใช้คำขวัญและการรณรงค์ใดๆ มาแก้ไขได้ หากไม่แก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ เพราะปัญหาทุกปัญหาย่อมเชื่อมร้อยและส่งผลกระทบถึงกันเป็นทอดๆ และหากนโยบายการสร้างความปรองดองในชาติล้มเหลว หรือการพัฒนาเศรษฐกิจเกิดสะดุดชะงักในห่วงโซ่ข้อใดข้อหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าเงินหยวน หรือฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หนี้เอ็นพีแอล ใครจะกล้ารับรองได้ว่าจะไม่เกิดการนองเลือดขึ้นในแผ่นดินจีน เป็นไปได้หรือไม่ว่าการต่อสู้เพื่อโค่นล้มชนชั้นนายทุนอย่างการปฏิวัติวัฒนธรรมจะเกิดขึ้นในรูปแบบใหม่อีกครั้ง แกนหัวใจของปัญหาจึงมาขมวดอยู่ที่ความชอบธรรมด้านนิตินัยในการปกครองบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องพิสูจน์ตัวเองต่อหน้าประชาชนจีน 1,300 ล้านคนถึงความชอบธรรมนี้ อย่าให้เกิดวิกฤตศรัทธาขึ้น

ศ.เหมาอวี่ซื่อ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของจีน ผู้เคยถูกตราหน้าเป็นพวกฝ่ายขวาจนต้องไปเป็นกรรมกรในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรม มองว่าผลสำเร็จของการเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีมานี้ได้วางรากฐานอันมั่นคงให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนในแง่ความชอบธรรมด้านนิตินัยในการบริหารประเทศ และชี้ให้เห็นว่า

“เมื่อแก้ปัญหาเรื่องความชอบธรรมด้านนิตินัยได้แล้ว จึงจะเริ่มมีการปฏิรูป พรรคฯ ถึงจะค่อนข้างวางใจยอมให้ทุกคนมีส่วนร่วมถกเถียงในเรื่องการปฏิรูป แต่หากในระหว่างนี้เกิดมีการระแวงสงสัยเรื่องความชอบธรรมเชิงนิตินัยของพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นมา การถกเถียงที่ว่านี้ก็จะกลายเป็นการแลไปข้างหลังมากกว่าแลไปข้างหน้า และก็จะโยนปัญหาว่าจะก้าวเดินกันต่อไอย่างไรทิ้งเสีย”

พูดง่ายๆ คือ แทนที่จะมาคุยมาถกกันว่าจะพัฒนาบ้านเมืองกันอย่างไร กลับมาพูดถึงเรื่องว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังมีความชอบธรรมในการบริหารประเทศอยู่หรือไม่แทน ดังนั้น ศ.เหมาจึงแนะว่า จะต้องผลักดันการปฏิรูปทั้งหมดของจีนบนพื้นฐานของการขยายความชอบธรรมในการบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์ และทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมจีนด้วยสันติวิธี เป็นข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ แต่นักวิชาการคนอื่นๆ ของจีนจะเห็นตามนี้หรือไม่ ผมจะเอามาเล่าต่อในครั้งหน้าแล้ว

เสนอ น.ส. วัชราภรณ์ วงศ์สุวรรณ

รหัส 51123407022

nam_club กล่าวว่า...

ข่าว มรดกโลก...ฤๅช้ำคลื่น

ที่มา http://www.sac.or.th/Subdetail/article/2548/February/article1.html

เนื้อหา ไม่เพียงแต่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน ในภูมิภาคเอเชียที่ถูกคลื่นยักษ์สึนามิกลืนกินไป แหล่งมรดกโลกสำคัญ บริเวณริมฝั่งทะเลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน รัศมี ชูทรงเดช ผู้แทนอาวุโสของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก/สภาโบราณคดีโลก และอาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ประมวลข้อมูลสภาพการณ์ล่าสุดของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ เช้าวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 ข่าวคลื่นยักษ์สึนามิกระหน่ำบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ทำลายชีวิตทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติของประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย อินโดนีเซีย ศรีลังกา มัลดีฟส์ รวมทั้งประเทศในทวีปแอฟริกา เป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดใจสำหรับการเริ่มต้นปีระกา 2548 รายงานประจำวันจากสื่อประเภทต่างๆ มักจะเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตผู้คน บ้านเรือน สิ่งของ สภาวะจิตใจของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ รวมทั้งมรดกทางธรรมชาติ ขณะที่เรื่องราวความเสียหายเกี่ยวกับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมไม่ค่อยมีใครติดตาม มรดกโลกหลายแห่งในเอเชียได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติครั้งนี้ไม่ใช่น้อย...

เครือข่ายโบราณคดีโลกเพื่อมนุษยชาติ

เมื่อเกิดสึนามิขึ้น เครือข่ายขององค์กรทางโบราณคดีได้รวมตัว ทำงานประสานงานกันอย่างรวดเร็ว เพื่อสำรวจว่ามีแหล่งโบราณคดีกี่แห่งในแต่ละประเทศได้รับความเสียหายบ้าง และระดมทุนเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและวัฒนธรรม องค์กรที่สำคัญทางวัฒนธรรม ได้แก่ องค์กรยูเนสโก (UNESCO) หรือองค์กรด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization), อิคครอม (ICCROM) หรือศูนย์ศึกษาว่าด้วยเรื่องการสงวนรักษาและการซ่อมแซมทรัพย์สินทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ (International Centre for the Study of Preservation and Restoration of Cultural Property) และ สภาโบราณคดีโลก (World Archaeological Congress) เป็นต้น
เมื่อเกิดธรณีภิบัติขึ้น โคอิชิโร มัสสูรา ผู้อำนวยการองค์กรยูเนสโก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ประกาศให้ความช่วยเหลืออย่างฉุกเฉินทันที และได้ทำการสำรวจแหล่งมรดกโลกในเขตที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ โดยการประสานงานกับตัวแทนประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก แล้วส่งทีมจากประเทศสมาชิกไปทำการสำรวจ นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับองค์กรวัฒนธรรมจากทั่วโลก และส่งข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต ให้กับประเทศสมาชิกทั่วโลกได้รับทราบอย่างทันควัน (ดูที่ www.unesco.org)
ปาลี วิเจรัสเน นายกของอิคครอมศรีลังกา ได้ประสานงานกับสำนักงานใหญ่ที่กรุงโรม มีการตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจระดับชาติ เพื่อสำรวจแหล่งมรดกวัฒนธรรม แต่ได้ทำการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมก่อนเป็นอันดับแรก ปาลีได้ขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในประเทศและนานาชาติร่วมกันศึกษาประเมินผลกระทบจากสึนามิ และได้รายงานว่าขณะนี้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย 7 แห่งของศรีลังกา ประกอบด้วย นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ สถาปนิก เป็นต้น ได้ทำการสำรวจความเสียหายทั้งประเทศ และกำหนดพื้นที่อันตรายของแหล่งโบราณคดี จากนั้นจะนำมาวางแผนป้องกัน และซ่อมแซมบูรณะต่อไป
ดร.แคลร์ สมิทธ นายกสภาโบราณคดีโลก องค์กรอิสระที่เกิดจากการรวมตัวของนักโบราณคดีจากทั่วโลก มีหลักในการดำเนินงาน เพื่อธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและสันติภาพของมนุษยชาติ โดยใช้โบราณคดีเป็นบทเรียนของอดีตในการเข้าใจปัจจุบันและอนาคต ได้ประสานกับนักโบราณคดีในเครือข่ายโดยเฉพาะนักโบราณคดีท้องถิ่นของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ เพื่อให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านข้อมูลทางวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ในการสำรวจสภาพ ฟื้นฟู หรือบูรณะ พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาคมรับทราบ และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
การร่วมมือร่วมใจขององค์กรระดับนานาชาติเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่ายินดี แสดงให้เห็นว่า โลกใบนี้ไร้พรมแดนทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม วิกฤตการณ์ในครั้งนี้ทำให้โลกเล็กลง ต่างถือว่ามรดกทางวัฒนธรรมของประเทศหนึ่งก็เป็นมรดกของโลกที่มวลมนุษยชาติทุกคนพึงช่วยกันดูแล และธำรงรักษาเพื่อไว้ลูกหลานในอนาคต มรดกโลกในเอเชีย
ยูเนสโกได้รับรายงานจากผู้เชี่ยวชาญขององค์กรมรดกโลก และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของแต่ละประเทศว่ามีแหล่งมรดกโลกในเอเชียหลายแห่งได้รับผลกระทบจากสึนามิ แหล่งมรดกโลกที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบ มีทั้งแหล่งมรดกโลกทางโบราณคดีและทางธรรมชาติ ดังนี้
ประเทศศรีลังกา แหล่งโบราณคดีเมืองเก่ากัลเล (Galle) และป้อมปราการ (Fortification) ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดภาคใต้ของประเทศ เมืองโบราณแห่งนี้ถูกน้ำท่วม แต่มีรายงานเบื้องต้นว่าได้รับผลกระทบ และถูกทำลายเสียหายไม่มากอย่างที่คาดคิด โดยเฉพาะแหล่งมรดกทางโบราณคดีที่อยู่ใต้น้ำซึ่งเป็นเมืองท่าโบราณ ป้อมปราการของเมืองยังดำรงสภาพเดิมอยู่ อย่างไรก็ดีห้องปฏิบัติการโบราณคดีใต้น้ำได้สูญเสียอุปกรณ์ไปจำนวนหนึ่ง เมืองเก่ากัลเลถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่ 16 โดยชาวโปรตุเกส เมืองกัลเลเจริญสูงสุดในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 ก่อนที่อังกฤษจะเข้ามาปกครองอินเดีย นอกเหนือจากมรดกโลกแล้ว วัดวาอาราม บ้านเมืองโบราณหลายแห่งก็ได้รับความเสียหาย แต่สามารถจะบูรณะได้ตามเดิม
ประเทศอินเดีย อลัน ครอเกอร์ ตัวแทนอิคครอมจากออสเตรเลีย รายงานจากประเทศอินเดีย ซึ่งเขาเพิ่งเดินทางกลับมา ว่าแหล่งโบราณคดีมหาบาลีบุรัม (Mahabalipuram) รัฐทมิฬนาดู และวัดแห่งพระอาทิตย์ของโกนารัก (Sun temples of Konarak) ในประเทศอินเดีย เป็นแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ แต่ก็ไม่ได้รับความเสียหายรุนแรง กลุ่มโบราณสถานมหาบาลีบุรัมสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ราชวงศ์ปัลลาวะ ระหว่างคริสศตวรรษที่ 7-8 มีการนำหินจากบริเวณชายฝั่งโคโรแมนเดล (Colomandel coast) มาแกะสลักเป็นภาพนูนต่ำลอยตัวตามผนังอาคาร และมีประติมากรรมของพระศิวะนับพันๆ องค์ นอกจากนี้ ยังมีศาสนสถานที่เป็นถ้ำ เรียกว่า 'แมนดาปาส' (Mandapas) และภาพสลักนูนต่ำขนาดใหญ่อยู่กลางแจ้งซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ 'ผู้สืบสายโลหิตของพระแม่คงคา' (Decent of the Ganges) วัดแห่งพระอาทิตย์ของโกนารักตั้งอยู่บริเวณอ่าวเบงกอล เป็นศาสนาสถานสร้างขึ้นประมาณคริสตศตวรรษที่ 13 เพื่อเป็นตัวแทนของพระอาทิตย์ โดยสร้างเป็นสัญลักษณ์รูปรถม้า มีการตกแต่งที่ล้อรถและมีม้า 6 ตัว กล่าวได้ว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของศาสนาพราหมณ์
ประเทศอินโดนีเซีย มีรายงานเบื้องต้นจากยูเนสโก ว่า มรดกโลกธรรมชาติทั้งสองแห่ง คือ อุทยานแห่งชาติอูจุง กูโลน (Ujung Kulon National Park) และป่าร้อนชื้นของสุมาตรา (Tropical Rainforest of Sumatra) ได้รับความเสียหาย แหล่งมรดกทางธรรมชาติทั้งสองแห่งมีความสำคัญในแง่ของความหลากหลาย ทางชีวภาพโดยเฉพาะพืชพรรณและสัตว์ป่าของป่าเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะภูมิประเทศหินปูนแบบคาสต์และถ้ำต่างๆ ในเทือกเขาหินปูน จากมรดกโลกสู่มรดกท้องถิ่น ในประเทศไทย มีแหล่งโบราณคดีหลายแห่งที่อยู่ในเขตที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติโดยเฉพาะในเขต จ.ภูเก็ต พังงา และกระบี่ กรมศิลปากร ได้สำรวจและประเมินสถานภาพของแหล่งโบราณคดีเหล่านี้ พบว่า ไม่ได้รับความเสียหายเลย เพราะแหล่งโบราณคดีส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่สูง วสุ โปษยะนันท์ สถาปนิกจากกรมศิลปากร รายงานความเสียหายให้กับอิคครอมในฐานะของผู้ช่วยเลขานุการขององค์กรนี้ ซึ่งกรมศิลปากรเป็นสมาชิกอยู่ รายงานว่า แหล่งโบราณคดี 20 แห่งในบริเวณตั้งแต่ จ.ตรัง จนถึงภูเก็ตไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขา จ.พังงา เป็นแหล่งโบราณคดีที่เป็นเมืองท่าโบราณในพุทธศตวรรษที่ 9 มีกลุ่มโบราณสถานที่เกาะคอเขาประมาณ 8 แห่ง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเลมากที่สุดในบรรดาแหล่งโบราณคดีทั้งหมด หมู่บ้านชายฝั่งถูกทำลายย่อยยับ แต่แหล่งโบราณคดีได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยบริเวณขอบๆ เนื่องจากตั้งอยู่ภายในแผ่นดินบนเนินเขา ซึ่งเป็นที่สูง
นอกจากนี้ บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ยังมีแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกหลายแห่ง ซึ่งก็ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากคลื่นยักษ์ เพราะส่วนใหญ่อยู่ภายในแผ่นดิน ห่างจากชายฝั่งทะเลหลายกิโลเมตร ส่วนแหล่งโบราณคดีที่อยู่ในกลางทะเล เพิงผา หรือถ้ำก็อยู่ในตำแหน่งที่สูง
เริ่มจากแหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน และถ้ำหมอเขียว จ.กระบี่ แหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เพราะเป็นแหล่งโบราณคดีที่เก่าที่สุดเท่าที่พบในภาคใต้ ย้อนกลับไปถึงเมื่อประมาณ 40,000-25,000 ปีมาแล้ว แหล่งโบราณคดีถ้ำผีหัวโต จ.กระบี่ เป็นแหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ส่วนแหล่งโบราณคดีถ้ำไวกิ้งเป็นแหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 3-17 มีรูปเรือของชาติต่างๆ เช่น เรือใบยุโรป อาหรับ เป็นต้น นักโบราณคดีเชื่อว่าภาพวาดที่ถ้ำแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานเส้นทางการเดินเรือระหว่างตะวันตกกับตะวันออก
นอกจากนี้ ยังมีแหล่งโบราณคดีรอบๆ อ่าวพังงา และอ่าวลึก จ.พังงา ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และชุมชนโบราณอีกจำนวนมากกว่า 20 แหล่ง ขณะนี้ กรมศิลปากรได้สำรวจพื้นที่ เพื่อจัดทำจดหมายเหตุธรณีพิบัติอย่างทันควันตามคำปรารภของนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน ความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินงานสำรวจพื้นที่ 6 จังหวัดเพื่อสำรวจและประเมินผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมและแหล่งโบราณคดีว่ามีสภาพความเสียหายมากน้อยเพียงใด และมีแนวทางในการป้องกันสำหรับอนาคตอย่างไร คงต้องเร่งทำอย่างจริงจังควบคู่กันไป ทั้งนี้ รายงานการศึกษาของสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.2529, โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคใต้) พ.ศ.2532 และหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง จ.ภูเก็ต พ.ศ.2532 ว่า มีแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ภูเก็ต พังงา และกระบี่ถึง 50 กว่าแห่ง หากรวมอีก 3 จังหวัด ก็น่าจะเกือบร้อยแห่ง แม้จะมีเพียงรายงานเบื้องต้นว่าแหล่งโบราณคดีทั้งหมดแทบจะไม่มีความเสียหายใดๆ แต่กรมศิลปากรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสำรวจลงพื้นที่จริง เพื่อตรวจสอบสภาพแหล่งโบราณคดีอย่างละเอียดทั้ง 6 จังหวัด และรายงานให้สาธารณชนได้ทราบในเร็ววัน
ภูมิปัญญาโบราณเพื่ออนาคต
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ แหล่งโบราณคดีส่วนใหญ่ทั้งในศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย มักไม่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิ น่าจะเป็นเพราะการรู้จักเลือกทำเลที่ตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย คนโบราณมีภูมิปัญญาที่สั่งสม และสืบทอดมาหลายรุ่นหลายศตวรรษ ที่สำคัญ พวกเขารู้จักธรรมชาติรอบตัวเป็นอย่างดี ดังนั้น คนโบราณจึงมักเลือกตั้งถิ่นฐานบริเวณที่สูง มีภูเขาเป็นที่กำบังภัยธรรมชาติจากลมหรือคลื่นที่แรง ยกเว้นแหล่งโบราณคดีประเภทเมืองท่าโบราณ ซึ่งมักสร้างภายในอ่าวใกล้กับชายฝั่งทะเล
ดังนั้น เราควรเรียนรู้จากอดีต และอดีตของปัจจุบันที่เพิ่งเกิดไม่ถึงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาตินั้นจำเป็นต้องมีความสมดุล เราต้องรู้จักธรรมชาติ เราจึงสามารถจะอยู่กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน กรณีประเทศไทย เราควรหยุดบุกรุก ทำลาย ขยายพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพียงเพื่อเร่งรื้อฟื้นการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เราควรมีข้อกำหนดขอบเขต/บริเวณที่อนุญาตให้ก่อสร้างโรงแรม หรือรีสอร์ทไม่ให้อยู่ใกล้กับทะเลมากจนเกินไป ขยับพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างประเภทต่างๆ ให้ห่างจากชายฝั่งทะเลพอสมควร ที่สำคัญ เราน่าจะศึกษาการตั้งชุมชนสมัยโบราณจากภูมิปัญญาบรรพบุรุษมาพิจารณาร่วมกับการวางแผนฟื้นฟูเมืองใหม่ เพื่อความปลอดภัยสำหรับอนาคต และเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งให้กลับไปสู่ธรรมชาติ ส่วนชาวบ้านที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ธรรมชาติมาเป็นเวลาหลายชั่วคน เช่น ชาวมอแกน หรือชาวเล ควรให้เขากลับไปดำรงวิถีชีวิตแบบเดิม โดยน่าจะมีการระดมสมองจากนักมานุษยวิทยาและนักวิชาการทางวัฒนธรรม ก่อนที่จะจัดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง ด้วยการจัดระเบียบให้เป็นแบบเมืองของนักวางแผนทั้งหลาย หากเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส มีการจัดระเบียบได้โดยยุติธรรม เราจะมีพื้นที่ชายหาดสาธารณะที่กว้างใหญ่ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่รกตาทำลายทัศนียภาพของธรรมชาติ หรือมีมลพิษทางเสียงของเครื่องยนต์ประเภทต่างๆ
ถ้าเราต้องการชื่นชมธรรมชาติก็ควรจะปล่อยให้ธรรมชาติเป็นไปตามครรลองของมันเอง เสียงคลื่นกระทบฝั่ง...น่าจะเป็นเสียงดนตรีที่มีความไพเราะที่สุด

เสนอโดย น.ส ฐิติธร เต็มวรพิศุทธิ์
รหัส 51123407025

Tae SoSaD กล่าวว่า...

นาย ณัฐกฤษณ์ นิตย์แสวง
รหัส51123407005

หัวข้อข่าว : หนุน น้องแก้ม-มอมแมม สืบสานวัฒนธรรมไทย

เนื้อหาข่าว : รองปธ.สภา หนุน น้องแก้ม-มอมแมม สืบสานวัฒนธรรมไทย หลังคว้ารางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมในการประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2008

(23 ก.ค.) นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาฯคนที่ 1 มอบโล่เกียรติคุณแก่ น.ส.กวินตรา โพธิจักร หรือ“น้องแก้ม” มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2008 ซึ่งได้รับรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมในการประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2008 ที่ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมาและ“น้องมอมแมม”นายสถาปัตย์ มูลมา นักศึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ออกแบบชุดประจำชาติ

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมเยาวชนไทยให้ความสำคัญต่อศิลปวัฒนธรรมไทยน้อยลง และ หลงใหลไปสู่กระแสคลั่งไคล้วัฒนธรรมตะวันตก หรือ วัฒนธรรมเกาหลีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้คนไทยขาดความภูมิใจ ตรงนี้ถือเป็นจุดอ่อนของประเทศ ทั้งนี้การที่บุคคลทั้ง2 คน ถือเป็นตัวแทนประเทศในการไปทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ตลอดจนสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้มองโลเกียรติคุณในครั้งนี้ ในฐานะเป็นผู้สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ อันเป็นแบบอย่างการทำความดี ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชนคนไทยและเพื่อเป็นกำลังใจแก่เยาวชนไทยผู้มี ส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยในระดับสากล

“ ผมมองว่าตำแหน่งชุดประจำชาติยอดเยี่ยมที่ได้รับมานั้น น่าภาคภูมิใจยิ่งกว่าได้รับตำแหน่งมิสยูนิเวิร์ส 2008 เพราะเราได้ไปแสดงให้เห็นถึงศิลปะ วัฒนธรรมไทยในเวทีระดับโลก จึงอยากให้ทั้ง2 คนช่วยกันรณรงค์รักษาวัฒนธรรมไทยของเราให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้งตามพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า การรักษาวัฒนธรรม คือการรักษาชาติ”รองประธานสภาฯ กล่าวและว่า ขณะนี้ทราบมาว่ากระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา จะได้เชิญทั้ง2 คนมาทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมไทย ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรขอสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

ที่มา : http://news.mjob.in.th/entertain/cat1/news9183/

ข้อมูลจาก คม ชัด ลึก

Tae SoSaD กล่าวว่า...

นาย ณัฐกฤษณ์ นิตย์แสวง
รหัส51123407005

หัวข้อข่าว : หนุน น้องแก้ม-มอมแมม สืบสานวัฒนธรรมไทย

เนื้อหา : รองปธ.สภา หนุน น้องแก้ม-มอมแมม สืบสานวัฒนธรรมไทย หลังคว้ารางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมในการประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2008

(23 ก.ค.) นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาฯคนที่ 1 มอบโล่เกียรติคุณแก่ น.ส.กวินตรา โพธิจักร หรือ“น้องแก้ม” มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2008 ซึ่งได้รับรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมในการประกวด มิสยูนิเวิร์ส 2008 ที่ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมาและ“น้องมอมแมม”นายสถาปัตย์ มูลมา นักศึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ออกแบบชุดประจำชาติ

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมเยาวชนไทยให้ความสำคัญต่อศิลปวัฒนธรรมไทยน้อยลง และ หลงใหลไปสู่กระแสคลั่งไคล้วัฒนธรรมตะวันตก หรือ วัฒนธรรมเกาหลีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้คนไทยขาดความภูมิใจ ตรงนี้ถือเป็นจุดอ่อนของประเทศ ทั้งนี้การที่บุคคลทั้ง2 คน ถือเป็นตัวแทนประเทศในการไปทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ตลอดจนสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้มองโลเกียรติคุณในครั้งนี้ ในฐานะเป็นผู้สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ อันเป็นแบบอย่างการทำความดี ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชนคนไทยและเพื่อเป็นกำลังใจแก่เยาวชนไทยผู้มี ส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยในระดับสากล

“ ผมมองว่าตำแหน่งชุดประจำชาติยอดเยี่ยมที่ได้รับมานั้น น่าภาคภูมิใจยิ่งกว่าได้รับตำแหน่งมิสยูนิเวิร์ส 2008 เพราะเราได้ไปแสดงให้เห็นถึงศิลปะ วัฒนธรรมไทยในเวทีระดับโลก จึงอยากให้ทั้ง2 คนช่วยกันรณรงค์รักษาวัฒนธรรมไทยของเราให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้งตามพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า การรักษาวัฒนธรรม คือการรักษาชาติ”รองประธานสภาฯ กล่าวและว่า ขณะนี้ทราบมาว่ากระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา จะได้เชิญทั้ง2 คนมาทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมไทย ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรขอสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด


ที่มา : http://news.mjob.in.th/entertain/cat1/news9183/

watt กล่าวว่า...

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าววันนี้ (6 พ.ค.) ถึงกรณี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกกระทรวงเร่งดำเนินโครงการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า วธ.ได้งบกลางของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ประมาณ 110 ล้านบาท ดำเนินการโครงการกิจกรรมมิติทางวัฒนธรรมเข้าไปแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งหมด 7 โครงการด้วยกัน อาทิ โครงการสันติวัฒนธรรม โครงการศิลปะสมานฉันท์เครือข่ายศิลปินในพื้นที่ นำศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่หลากหลายทั้งของไทยพุทธและไทยมุสลิมมาทำกิจกรรมการแสดงร่วมกัน การบูรณะวัดราษฎร์บูรณะ หรือวัดช้างให้ รวมทั้งบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โบราณสถานมัสยิดกรือเซะ ในระยะที่ 2

ปลัด วธ. กล่าวอีกว่า ในส่วนที่จะดำเนินการปี 2551 นั้น ได้จัดทำแผนมิติวัฒนธรรมเสนอของบประมาณประจำปี 2551 ต่อ ศอ.บต. ได้แก่ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยอิหม่ามของกรมการศาสนา (ศน.) ซึ่งจะจัดทำในรูปแบบของศูนย์อบรมผู้นำศาสนาใช้งบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท และโครงการลานวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนและครอบครัว ซึ่งจะเป็นการเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชน คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการละเล่น ภูมิปัญญา และศิลปะการแสดงต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อกลาง อีกทั้งยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

นายวีระ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกัน วธ.จะเสนอโครงการเปิดโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ที่มีความสนใจศึกษาต่อในสาขานาฏศิลป์ ศิลปกรรม และช่าง 10 หมู่ โดย วธ.จะจัดสรรทุนการศึกษาให้กับนักเรียนเป็นกรณีพิเศษ และสามารถเข้ามาเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ จ.นครศรีธรรมราช และ จ.พัทลุง อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังคงมีปัญหาในการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมในบางพื้นที่อยู่ เนื่องจากข้าราชการกว่าร้อยละ 80 ไม่สามารถสื่อสารกับชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูถิ่นสื่อสารกัน ทำให้การทำงานมีอุปสรรค ซึ่ง วธ.ต้องเร่งให้ข้าราชการในสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อบรมการใช้ภาษามลายูถิ่นในการสื่อสารอย่างจริงจัง จะช่วยให้โครงการมิติวัฒนธรรมคล่องตัวมากขึ้น

watt กล่าวว่า...

หัวข้อข่าว วธ.นำมิติวัฒนธรรมผุด 7 โครงการสมานฉันท์แก้ปัญหาใต้

ที่มาwww.thairath.com[วันที่6พ.ค.2550 2230น.]

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าววันนี้ (6 พ.ค.) ถึงกรณี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกกระทรวงเร่งดำเนินโครงการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า วธ.ได้งบกลางของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ประมาณ 110 ล้านบาท ดำเนินการโครงการกิจกรรมมิติทางวัฒนธรรมเข้าไปแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งหมด 7 โครงการด้วยกัน อาทิ โครงการสันติวัฒนธรรม โครงการศิลปะสมานฉันท์เครือข่ายศิลปินในพื้นที่ นำศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่หลากหลายทั้งของไทยพุทธและไทยมุสลิมมาทำกิจกรรมการแสดงร่วมกัน การบูรณะวัดราษฎร์บูรณะ หรือวัดช้างให้ รวมทั้งบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โบราณสถานมัสยิดกรือเซะ ในระยะที่ 2

ปลัด วธ. กล่าวอีกว่า ในส่วนที่จะดำเนินการปี 2551 นั้น ได้จัดทำแผนมิติวัฒนธรรมเสนอของบประมาณประจำปี 2551 ต่อ ศอ.บต. ได้แก่ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยอิหม่ามของกรมการศาสนา (ศน.) ซึ่งจะจัดทำในรูปแบบของศูนย์อบรมผู้นำศาสนาใช้งบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท และโครงการลานวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนและครอบครัว ซึ่งจะเป็นการเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชน คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการละเล่น ภูมิปัญญา และศิลปะการแสดงต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อกลาง อีกทั้งยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

นายวีระ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกัน วธ.จะเสนอโครงการเปิดโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ที่มีความสนใจศึกษาต่อในสาขานาฏศิลป์ ศิลปกรรม และช่าง 10 หมู่ โดย วธ.จะจัดสรรทุนการศึกษาให้กับนักเรียนเป็นกรณีพิเศษ และสามารถเข้ามาเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ จ.นครศรีธรรมราช และ จ.พัทลุง อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังคงมีปัญหาในการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมในบางพื้นที่อยู่ เนื่องจากข้าราชการกว่าร้อยละ 80 ไม่สามารถสื่อสารกับชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูถิ่นสื่อสารกัน ทำให้การทำงานมีอุปสรรค ซึ่ง วธ.ต้องเร่งให้ข้าราชการในสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อบรมการใช้ภาษามลายูถิ่นในการสื่อสารอย่างจริงจัง จะช่วยให้โครงการมิติวัฒนธรรมคล่องตัวมากขึ้น

นำเสนอโดย นาย ศิวรุจ โปร่งจิต
[51123407038]

NATTHAKON กล่าวว่า...

นายณัฐกร พวงทอง รหัส 51123407006

หัวข้อข่าว : ปราสาทตาเมือน....สต๊กก๊อกธม โบราณสถานมรดกวัฒนธรรม

เนื้อหา : ร่องรอยประวัติศาสตร์ศิลปะสถาปัตยกรรมแต่ละยุคสมัยที่ปรากฏถ่ายทอดผ่านโบราณสถาน มรดกวัฒนธรรมนั้นมีมนต์ขลังเป็นแหล่งความรู้สำคัญเชื่อมโยงผู้คนปัจจุบันได้เรียนรู้เข้าใจอดีต

โบราณสถานที่ตั้งอยู่ริมตะเข็บชายแดนไทยกัมพูชา ที่ผ่านมานอกจากกล่าวถึง ปราสาทตาเมือน โบราณสถานศิลปะขอมในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก จ.สุรินทร์ ยังมีความเคลื่อนไหวการรักษาเฝ้าระวังปราสาทสด๊กก๊อกธม ปราสาทเขาน้อย โบราณสถานบริเวณชายแดนในพื้นที่ จ.สระแก้ว กลุ่มปราสาทตาเมือน สด๊กก๊อกธมตามที่มีการเสนอข่าวกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจา นุเบกษานับแต่ปี พ.ศ. 2478 เขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากรเริ่มต้นพร้อมให้ความรู้บอกเล่าคุณค่าศิลปะสถาปัตยกรรม ว่า โบราณสถาน ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนต่างมี การแลกเปลี่ยนอารยธรรม รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมระหว่างกัน กลุ่มปราสาทดังกล่าวนอกจากการขึ้นทะเบียนที่ผ่านมากรมศิลปากรได้บูรณะ รักษาคุณค่าความสำคัญของโบราณสถานเป็นระยะต่อเนื่องมา

รวมทั้งคนในพื้นที่ชุมชน เจ้าหน้าที่ช่วยกันรักษาดูแลอย่างปราสาทสด๊กก๊อกธม ที่ตั้ง อยู่ในพื้นที่บ้านหนองหญ้าแก้ว จ.สระแก้ว ปัจจุบันไม่น่ามีปัญหาใด ๆ ตัวปราสาทอยู่ห่างออกไปเกือบสามกิโลเมตร อีกทั้งยังประกาศขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานเช่นเดียวกับกลุ่มปราสาทตาเมือน ปราสาท ใหญ่ ๆ ที่มีความสำคัญในเขตชายแดน

กลุ่มปราสาทตาเมือน โบราณสถานกลุ่มนี้จัดเป็นโบราณสถานต่างกาลเวลาที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่ง กลุ่มปราสาทตาเมือนมีจำนวน 3 หลังตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่ไกลจากกัน ประกอบด้วย ปราสาทตาเมือน ตาเมือนธมและตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาเมือน โบราณสถานที่เชื่อกันว่า สร้างขึ้นเป็นที่พักของคนเดินทาง หรือ ธรรมศาลา สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณ ไปยังเมืองพิมาย

“ปราสาทหลังนี้สร้างด้วยศิลาแลง หินทรายปนกันมีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยวห้องยาวเชื่อมต่อกันมา มีหน้าต่างเรียงกัน จากจุดนี้ไม่ห่างจากกันจะมาถึงปราสาทตาเมือนโต๊ดได้ซึ่งโต๊ด หมายถึงเล็ก ปราสาทหลังนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ลักษณะเป็นอโรคยศาลสมัยโบราณ จากจารึกและหลักฐานโบราณคดีน่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ปราสาทแห่งนี้มีความน่าสนใจที่พื้นที่ห้องกลางของ โคปุระพบศิลาจารึก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต ข้อความจารึกบอกถึงการประทานความไม่มีโรคแก่ผู้ที่นับถือ ดูแลปราสาท ฯลฯ ปัจจุบันได้มี การอ่านจารึกและเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ”

ศิลปะสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ ปราสาทตาเมือนโต๊ด ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยืนทางด้านหน้าก่อด้วย ศิลาแลงและหินทราย บรรณาลัยเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีซุ้มประตู (โคปุระ) ทางด้านหน้าทิศตะวันออกด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยศาลอื่น ๆ

ส่วนปราสาทขนาดใหญ่ ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนมาก ปราสาทหลังนี้ประกอบด้วยปรางค์สามหลังโดยปรางค์ประธานมีขนาดใหญ่สุด ส่วนอีกสองปรางค์อยู่ทางด้านหลังและทางขวา สร้างด้วยหินทราย ศิลาแลง ลวดลายจำหลักสวยงามปรากฏที่ปรางค์ประธาน

ปราสาทตาเมือนธมแม้ จะทรุดโทรมลงตามกาลเวลา แต่ยังปรากฏลวดลายศิลปะสถา ปัตยกรรมอย่างทางด้านตะวันออก ตะวันตกมีวิหาร 2 หลัง สร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดนี้มีระเบียงคดสร้างด้วยหินทรายมีโคปุระทั้ง 4 ด้านซึ่งโคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขา นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำที่ลานริมระเบียงคดทางมุขทิศตะวันออก เฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม และจากลักษณะลวดลายจำหลักสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 16

“กลุ่มปราสาทเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศิลปะสถาปัตย กรรม นอกจากนี้ยังมีจารึกซึ่งมีความน่าสนใจปรากฏให้คนรุ่นหลังศึกษา แสดงให้เห็นความเคารพศรัทธา และถึงจะอยู่ห่างไกล ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแต่มีคุณค่ามีร่องรอยประวัติศาสตร์ให้ศึกษา ส่วนการบูรณะที่ผ่านมาเป็นการจัดเรียงหินรักษาลักษณะเดิมขององค์ปราสาท”

นอกจากกลุ่มปราสาทดังกล่าว สด๊กก๊อกธม โบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจ รองอธิบดีให้ความรู้ต่ออีกว่า ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีความน่าสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์มีจารึกปรากฏให้ศึกษา เช่นกันและแม้จะตั้งอยู่ใกล้ชายแดนแต่ก็ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทหาร รักษาดูแล มีความปลอดภัยในการเข้าชม

“ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีชื่อเรียกที่ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า ปราสาทเมืองพร้าว ด้วยว่าตั้งอยู่ในป่าทึบมองเห็นเป็นป่าดงพร้าวแต่พอเข้าไปใกล้กลับมองไม่ เห็น ส่วนชื่อสด๊กก๊อกธมกล่าวกันว่าตั้งตามลักษณะภูมิประเทศซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาด ใหญ่มีต้นกกขึ้นรกและจากเอกสารที่กล่าวถึงการสร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 16 เป็นเทวสถานศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายศิลปะขอมและบาปวนซึ่งเป็นที่รู้จักและ แพร่หลายกันเมื่อครั้งที่นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเอเตียน เอโมนิแยร์ ได้สำรวจ อ่านและแปลจารึกเผยแพร่”

ปราสาทเก่าแก่หลังนี้นอกจากความงามทางศิลปะสถาปัตยกรรม ยังมีจารึกเป็นที่สนใจและช่วงที่ผ่านมาขณะเกิดสงครามภายในประเทศกัมพูชาใน ช่วงปี 2518 บริเวณปราสาทแห่งนี้ยังใช้เป็นศูนย์อพยพชั่วคราว จากนั้นในปี พ.ศ. 2536 มีโครงการขุดแต่งบูรณะปราสาทซึ่งถึงวันนี้ปราสาทแห่งนี้พร้อมเป็นแหล่งความ รู้

แม้จะผ่านกาลเวลามายาวนาน กลุ่มปราสาทตาเมือน สด๊กก๊อกธมยังคงคุณค่าความงามเป็นโบราณสถานทรงคุณค่า มรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มากไปด้วยองค์ความรู้.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th

NATTHAKON กล่าวว่า...

นายณัฐกร พวงทอง รหัส 51123407006

หัวข้อข่าว : ปราสาทตาเมือน....สต๊กก๊อกธม โบราณสถานมรดกวัฒนธรรม

เนื้อหา : ร่องรอยประวัติศาสตร์ศิลปะสถาปัตยกรรมแต่ละยุคสมัยที่ปรากฏถ่ายทอดผ่านโบราณสถานมรดกวัฒนธรรมนั้นมีมนต์ขลังเป็นแหล่งความรู้สำคัญเชื่อมโยงผู้คนปัจจุบันได้เรียนรู้เข้าใจอดีต

โบราณสถานที่ตั้งอยู่ริมตะเข็บชายแดนไทยกัมพูชา ที่ผ่านมานอกจากกล่าวถึง ปราสาทตาเมือน โบราณสถานศิลปะขอมในพื้นที่กิ่งอำเภอ พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ยังมีความเคลื่อนไหวการรักษาเฝ้าระวังปราสาทสด๊กก๊อกธม ปราสาทเขาน้อย โบราณสถานบริเวณชายแดนในพื้นที่ จ.สระแก้ว กลุ่มปราสาทตาเมือน สด๊กก๊อกธมตามที่มีการเสนอข่าวกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษานับแต่ปี พ.ศ. 2478 เขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากรเริ่มต้นพร้อมให้ความรู้บอกเล่าคุณค่าศิลปะสถาปัตยกรรม ว่า โบราณสถาน ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนต่างมี การแลกเปลี่ยนอารยธรรม รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมระหว่างกัน กลุ่มปราสาทดังกล่าวนอกจากการขึ้นทะเบียนที่ผ่านมากรมศิลปากรได้บูรณะ รักษาคุณค่าความสำคัญของโบราณสถานเป็นระยะต่อเนื่องมา

รวมทั้งคนในพื้นที่ชุมชน เจ้าหน้าที่ช่วยกันรักษาดูแลอย่างปราสาทสด๊กก๊อกธม ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหนองหญ้าแก้ว จ.สระแก้ว ปัจจุบันไม่น่ามีปัญหาใด ๆ ตัวปราสาทอยู่ห่างออกไปเกือบสามกิโลเมตร อีกทั้งยังประกาศขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานเช่นเดียวกับกลุ่มปราสาทตาเมือน ปราสาท ใหญ่ ๆ ที่มีความสำคัญในเขตชายแดน

กลุ่มปราสาทตาเมือน โบราณสถานกลุ่มนี้จัดเป็นโบราณสถานต่างกาลเวลาที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่ง กลุ่มปราสาทตาเมือนมีจำนวน 3 หลังตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่ไกลจากกัน ประกอบด้วย ปราสาทตาเมือน ตาเมือนธมและตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาเมือน โบราณสถานที่เชื่อกันว่า สร้างขึ้นเป็นที่พักของคนเดินทาง หรือ ธรรมศาลา สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณ ไปยังเมืองพิมาย

“ปราสาทหลังนี้สร้างด้วยศิลาแลง หินทรายปนกันมีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยวห้องยาวเชื่อมต่อกันมา มีหน้าต่างเรียงกัน จากจุดนี้ไม่ห่างจากกันจะมาถึงปราสาทตาเมือนโต๊ดได้ซึ่งโต๊ด หมายถึงเล็ก ปราสาทหลังนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ลักษณะเป็นอโรคยศาลสมัยโบราณ จากจารึกและหลักฐานโบราณคดีน่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ปราสาทแห่งนี้มีความน่าสนใจที่พื้นที่ห้องกลางของ โคปุระพบศิลาจารึก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต ข้อความจารึกบอกถึงการประทานความไม่มีโรคแก่ผู้ที่นับถือ ดูแลปราสาท ฯลฯ ปัจจุบันได้มี การอ่านจารึกและเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ”

ศิลปะสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ ปราสาทตาเมือนโต๊ด ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยืนทางด้านหน้าก่อด้วย ศิลาแลงและหินทราย บรรณาลัยเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีซุ้มประตู (โคปุระ) ทางด้านหน้าทิศตะวันออกด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยศาลอื่น ๆ

ส่วนปราสาทขนาดใหญ่ ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนมาก ปราสาทหลังนี้ประกอบด้วยปรางค์สามหลังโดยปรางค์ประธานมีขนาดใหญ่สุด ส่วนอีกสองปรางค์อยู่ทางด้านหลังและทางขวา สร้างด้วยหินทราย ศิลาแลง ลวดลายจำหลักสวยงามปรากฏที่ปรางค์ประธาน

ปราสาทตาเมือนธมแม้ จะทรุดโทรมลงตามกาลเวลา แต่ยังปรากฏลวดลายศิลปะสถา ปัตยกรรมอย่างทางด้านตะวันออก ตะวันตกมีวิหาร 2 หลัง สร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดนี้มีระเบียงคดสร้างด้วยหินทรายมีโคปุระทั้ง 4 ด้านซึ่งโคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขา นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำที่ลานริมระเบียงคดทางมุขทิศตะวันออก เฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม และจากลักษณะลวดลายจำหลักสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 16

“กลุ่มปราสาทเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศิลปะสถาปัตย กรรม นอกจากนี้ยังมีจารึกซึ่งมีความน่าสนใจปรากฏให้คนรุ่นหลังศึกษา แสดงให้เห็นความเคารพศรัทธา และถึงจะอยู่ห่างไกล ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแต่มีคุณค่ามีร่องรอยประวัติศาสตร์ให้ศึกษา ส่วนการบูรณะที่ผ่านมาเป็นการจัดเรียงหินรักษาลักษณะเดิมขององค์ปราสาท”

นอกจากกลุ่มปราสาทดังกล่าว สด๊กก๊อกธม โบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจ รองอธิบดีให้ความรู้ต่ออีกว่า ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีความน่าสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์มีจารึกปรากฏให้ศึกษา เช่นกันและแม้จะตั้งอยู่ใกล้ชายแดนแต่ก็ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทหาร รักษาดูแล มีความปลอดภัยในการเข้าชม

“ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีชื่อเรียกที่ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า ปราสาทเมืองพร้าว ด้วยว่าตั้งอยู่ในป่าทึบมองเห็นเป็นป่าดงพร้าวแต่พอเข้าไปใกล้กลับมองไม่ เห็น ส่วนชื่อสด๊กก๊อกธมกล่าวกันว่าตั้งตามลักษณะภูมิประเทศซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาด ใหญ่มีต้นกกขึ้นรกและจากเอกสารที่กล่าวถึงการสร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 16 เป็นเทวสถานศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายศิลปะขอมและบาปวนซึ่งเป็นที่รู้จักและ แพร่หลายกันเมื่อครั้งที่นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเอเตียน เอโมนิแยร์ ได้สำรวจ อ่านและแปลจารึกเผยแพร่”

ปราสาทเก่าแก่หลังนี้นอกจากความงามทางศิลปะสถาปัตยกรรม ยังมีจารึกเป็นที่สนใจและช่วงที่ผ่านมาขณะเกิดสงครามภายในประเทศกัมพูชาใน ช่วงปี 2518 บริเวณปราสาทแห่งนี้ยังใช้เป็นศูนย์อพยพชั่วคราว จากนั้นในปี พ.ศ. 2536 มีโครงการขุดแต่งบูรณะปราสาทซึ่งถึงวันนี้ปราสาทแห่งนี้พร้อมเป็นแหล่งความ รู้

แม้จะผ่านกาลเวลามายาวนาน กลุ่มปราสาทตาเมือน สด๊กก๊อกธมยังคงคุณค่าความงามเป็นโบราณสถานทรงคุณค่า มรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มากไปด้วยองค์ความรู้.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th

NATTHAKON กล่าวว่า...

นายวาสุเทพ ประกอบชาติ
รหัส51123407008

หัวข้อข่าว สายการบินเอทิฮัดให้การสนับสนุนในโครงการ "ทูตน้อยวัฒนธรรมไทย" ของสถาบันนาฏก เป็นปีที่สอง


เนื้อหา
เมื่อเร็วๆ นี้ สายการบินเอทิฮัด สายการบินแห่งชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้บริการเที่ยวบินจากกรุงเทพฯสู่เมืองอาบูดาบีทุกวัน วันละ 2 เที่ยวบิน และอีก 45 จุดหมายปลายทางทั่วโลก ให้การสนับสนุนโครงการ “ทูตน้อยวัฒนธรรมไทย” ของสถาบันนาฏก เป็นปีที่สอง โครงการดังกล่าวเป็นการประกวดแข่งขันความสามารถด้านวัฒนธรรมไทย โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนอายุระหว่าง 7-11 ปี จากทั่วประเทศได้แสดงออกในด้านวัฒนธรรมไทย และความภาคภูมิใจของทีมเยาวชนไทย คือการได้เป็นตัวแทนไปเผยแพร่วัฒนธรรมไทย และแสดงความสามารถให้เผยแพร่ไปสู่ประชาชนในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีดาราสาว นุ่น วรนุช ผู้บริหารสถาบันนาฏก ร่วมเดินทางไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสกับทูตน้อยวัฒนธรรมไทยด้วย

คำบรรยายภาพ: คุณชัยวุฒิ ชมสาคร (ซ้าย) ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดประจำประเทศไทยและประเทศในกลุ่มภูมิภาคแม่น้ำโขง สายการบินเอทิฮัด , นุ่น วรนุช วงษ์สวรรค์ (ขวา) ผู้บริหารสถาบันนาฏก ถ่ายภาพร่วมกันในงานแถลงข่าว ในฐานะที่สายการบินเอทิฮัดเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ “ทูตน้อยวัฒนธรรมไทย”

ที่มา http://www.newswit.com/news/2008-06-04/0432-0822d4f636ecb48c1d81e120c13fc946/

NATTHAKON กล่าวว่า...

นาย สมาธิ ปานทอง
รหัส 51123407007

หัวข้อข่าว งานมหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติ ครั้งที่ 2 แห่งประเทศไทย

เนื้อหาข่าว
คณะผู้จัดงานเดินหน้าจัดงานมหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติ ครั้งที่ 2 แห่งประเทศไทย อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หลังจากประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีจากงานที่ผ่านมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 7 พันคนทั้งไทย และต่างชาติ โดยในปีนี้เน้นเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยควบคู่ศิลปะของรอยสัก พร้อมมุ่งหวังปลูกจิตสำนึก และจรรยาบรรณที่ดีให้กับช่างสักไทย และยกระดับมาตรฐานของวงการสักไทยให้เป็นที่ยอมรับจากชาวต่างชาติ เตรียมพบกับงานสัมมนาช่างสักศิลป์นานาชาติ และบูธของช่างสักทั่วโลกกว่า 70 บูธ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อช่างสัก และผู้ชื่นชอบรอยสักทั่วโลก
นางสาวสุภัชญา ลัทธิโสภณกุล หรือ เบลล์ ไชน่า ดอลล์ คณะผู้จัดงานมหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติครั้งที่ 2 แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลตอบรับจากงานงานมหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติ ครั้งที่ 1 แห่งประเทศไทย ที่จัดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้ร่วมงานทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติกว่า 7,000 คน พร้อมได้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีกับวงการรอยสักไทย ในด้านภาพลักษณ์ของการสัก และจรรยาบรรณของช่างสัก รวมทั้งยังได้เผยแพร่ศิลปะรอยสักไทยไปสู่ชาวต่างชาติอีกด้วย ดังนั้น ทางคณะผู้จัดงาน จึงสานต่อความสำเร็จโดยจัด “งานมหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติ ครั้งที่ 2 แห่งประเทศไทย” หรือ “2nd World Tattoo Arts Festivals & Exhibition Thailand” อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ภายใต้แนวคิด “ศิลปะของเส้นสายลายไทยสู่รอยสักศิลปะบนเรือนร่าง” โดยนำ “โขน” เป็นตัวแทนศิลปวัฒนธรรมไทยในการสื่อสารควบคู่กับศิลปะของรอยสัก

นางสาวสุภัชญา หรือ เบลล์ กล่าวต่อว่า การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้งานนี้เป็นเวทีกลางของช่างสักและผู้ชื่นชอบศิลปะรอยสักทั้งไทยและต่างชาติได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และศิลปวัฒนธรรม โดยจะมุ่งเผยแพร่ และให้ความรู้ของศิลปะรอยสักควบคู่ไปกับศิลปะประจำชาติ พร้อมยกระดับมาตรฐาน และสร้างจรรยาบรรณที่ดีให้กับวงการสักไทยให้เป็นที่ยอมรับไปสู่ชาวต่างชาติ ทั้งนี้ ทางผู้จัดงานไม่มีเจตนารมณ์กระตุ้นให้คนทั่วไปนิยมการสักอย่างแพร่หลาย แต่มุ่งหวังให้ความรู้ในฐานะมืออาชีพกับคนทั่วไป โดยเฉพาะวัยรุ่นได้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และพิจารณาสักลายด้วยความชื่นชอบในศิลปะรอยสักอย่างแท้จริง ไม่ใช่ตัดสินใจสักด้วยอารมณ์ชั่ววูบ

นางสาวรุ่งวิภา แซ่ออง หรือจอย หว่อง คณะผู้จัดงานมหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติครั้งที่ 2 แห่งประเทศไทย และทายาทช่างสักชื่อดังในประเทศไทย จิมมี่ หว่อง กล่าวว่า งานมหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติ ครั้งที่ 2 แห่งประเทศไทย จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2551 ณ พัทยา โดยภายในงานจะได้พบกับบูธของช่างสักจากทั่วโลก ประมาณ 70 บูธ แบ่งเป็น

โซนประเทศไทย โซนเอเซีย โซนญี่ปุ่น โซนยุโรป และโซนอเมริกา ซึ่งแต่ละบูธจะนำเสนอวัฒนธรรมการสักของแต่ประเทศจากช่างสักที่มีชื่อเสียงกว่า 100 ชีวิตทั่วโลก พร้อมพบกับกิจกรรมการแสดงโขน ศิลปวัฒนธรรมไทย การประกวดรอยสัก การแสดงแฟชั่นโชว์รอยสัก บอดี้เพนท์ การแสดงการปั้นหัวโขน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยงานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสำนักงาน ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ สสปน. และบริษัท บุญรอด บริวเวอร์รี่ จำกัด

นางสาวรุ่งวิภา หรือ จอย หว่อง กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การจัดงานในปีนี้ ทางคณะผู้จัดงานจึงริเริ่มจัดงานสัมมนาช่างสักศิลป์นานาชาติ หัวข้อ “จิตวิญญาณงานสัก – Tattoo Spirit” ในวันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.00 น. ณ โรงแรมมานิตา พัทยา โดยได้รับความร่วมมือจากช่างสักมืออาชีพจากต่างประเทศ และครอบครัวจิมมี่ หว่อง ตัวแทนจากประเทศไทย มาร่วมให้ความรู้พื้นฐานแก่ผู้ที่ต้องการเป็นช่างสักอาชีพเพื่อส่งเสริมการสักบนจรรยาบรรณสากลโดยไม่รับสักให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และเพื่อให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางการจัดประชุมและเจรจาทางการค้าเกี่ยวกับอาชีพสัก สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา สามารถลงทะเบียนได้ฟรีที่ joywongtattoo@gmail.com

ทางคณะผู้จัดงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานในครั้งนี้นอกจากจะนำเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเผยแพร่สู่ช่างต่างชาติแล้ว ยังจะก่อให้เกิดรายได้และเงินตราหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยประมาณ 400 ล้านบาท จากการเติบโตของของธุรกิจเอสเอ็มอีประเภทร้านสัก และการเจรจาซื้อขายความรู้ และเทคโนโลยีการสักไปสู่ผู้สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อีกทั้ง ยังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการการท่องเที่ยวภายในประเทศอีกด้วย นางสาวรุ่งวิภา หรือจอย หว่อง กล่าว

ที่มา http://www.newswit.com/news/2008-04-29/0703-656d227c6d72e4e21c3d14898006e84f/

NATTHAKON กล่าวว่า...

นายณัฐกร พวงทอง รหัส 51123407006

หัวข้อข่าว ททท. เชิญมิสไทยแลนด์เวิลด์ สวมผ้าทอโบราณ ร่วมพาเรดให้กว่า 3 ล้านคนชื่นชมศิลปวัฒนธรรมไทย

เนื้อหาข่าว ในงานเทศกาล Hakata Dontaku Minato Matsuri ครั้งที่ 46 ที่จังหวัด ฟุกุโอกะ และงานเทศกาล Hiroshima Flower Festival ที่จังหวัดฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น
นส.กนกกร ใจชื่น มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2007 ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนประเทศไทย จาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยสำนักงานฟุกุโอกะ (สฟก.) สวมชุดไทยจักรพรรดิ์สีทอง และชุดไทยบรมพิมานสีฟ้า ร่วมขบวนพาเรดในงานเทศกาล Hakata Dontaku Minato Matsuri ระหว่างวันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2551 ณ บริเวณเมืองฟุกุโอกะ โดยมีผู้เข้าร่วมงาน กว่า 2.2 ล้านคน และชุดไทยจักรีสีม่วงอ่อนร่วมงาน Hiroshima Flower Festival ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2551 ที่จังหวัดฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีผู้ร่วมงานกว่า 1.6 ล้านคน

โดยในขบวนพาเรดพร้อมด้วยคณะส่วนราชการไทยในฟุกุโอกะ สายการบิน บริษัทนำเที่ยวคู่ค้า (MOU) และชาวญี่ปุ่นที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวและชื่นชอบเมืองไทยกว่า 60 – 70 คน ซึ่งพร้อมใจกันสวมเสื้อสีเหลือง เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษาในปีนี้

ทั้งนี้ สฟก. ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวเป็นประจำทุกปี ซึ่งงานเทศกาล Hakata Dontku จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการแสดงศิลปวัฒนธรรม ในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว (Golden Week) ของประเทศญี่ปุ่น และนับว่าเป็นเทศกาลที่กิจกรรมที่โดดเด่นที่สุดในช่วงฤดูร้อน ซึ่งนำคณะนาฏศิลป์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร จำนวน 11 คน ไปแสดงในงานครั้งนี้ด้วย อาทิ กลองยาวเฉลิมพระเกียรติ รอยอีสาน การแสดงวิถีชีวิตพอเพียงและการแสดงชุดถวยแถนตะครัน โดยเฉพาะการแสดงสาธิตรำไทยเป็นต้น

ซึ่งน้องส้ม กนกกร มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2007 ได้เปิดเผยถึงการเลือกเครื่องแต่งกายครั้งนี้ว่า “ส้มรู้สึกภูมิมากที่ได้รับเกียรติให้ใส่ ชุดไทยจักรพรรดิ์สีทอง และชุดไทยบรมพิมานสีฟ้า เข้าขบวนพาเรดเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบามสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถของเรา ซึ่งส้มต้องขอขอบคุณพี่ จารุวัฒน์ สุขโสภณ จากร้านเรือนเจ้าสาวเป็นอย่างมาก ที่ได้เตรียมเครื่องแต่งกายชุดไทยทั้งหมดให้ โดยนำผ้าทอโบราณของไทยที่เรียกว่า ผ้ายกลำพูน มาตัดเป็นชุดไทย ที่มีความปราณีตและงดงามไปให้ชาวชาวต่างชาติได้ชื่นชม”

ที่มา http://www.newswit.com/news/2008-05-02/0655-91efa4c9df68d7a38405eb9c06561ae4/

Fenrin กล่าวว่า...

หัวข้อข่าว: ศึกษาเปรียบเทียบหนังตะลุงทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกกับภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ที่มา:http://www.thaiedresearch.org/result/detail_add.php?id=5735

เนื้อหา:ภาคใต้ของประเทศไทย เป็นแหล่งที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน และเป็นแหล่งที่มีการสั่งสมมรดกวัฒนธรรมหลากหลาย ในบรรดาการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ชนิดต่างๆ นั้น “หนังตะลุง” เป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านภาคใต้นิยมกันแพร่หลายมาช้านานจน ถึงปัจจุบัน จนกล่าวได้ว่าหนังตะลุงเป็นการละเล่นที่สะท้อนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่าง หนึ่งของชาวภาคใต้ หนังตะลุงแม้จะเป็นที่นิยมกันทั่วไปในแทบทุกจังหวัดทางภาคใต้ แต่แหล่งที่นิยมกันมากคือในบริเวณจังหวัดต่างๆ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก จนทำให้หนังตะลุงในแถบนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาไปมาก ส่วนหนังตะลุงทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกนั้นแม้จะเป็นที่นิยมกันอยู่บ้างก็ไม่มาก เท่ากับทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก และมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาช้า จนทำให้หนังตะลุงทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นที่รู้จักกันไม่มากนัก และมีความแตกต่างกับหนังตะลุงทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกอย่างเด่นชัดหลายประการ การที่หนังตะลุงทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกไม่ได้รับความสนใจในการศึกษาและพัฒนา อย่างจริงจังเท่ากับหนังตะลุงทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกดังกล่าว จึงทำให้บางคนเกิดความวิตกห่วงใยว่าหนังตะลุงทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกอาจจะขาด การสืบทอดต่อไปในที่สุด ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่อง “เปรียบเทียบหนังตะลุงทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกกับภาคใต้ฝั่งตะวันตก” ผลของการศึกษาจะทำให้เกิดองค์ความรู้เชิงเปรียบเทียบระหว่างหนังตะลุงภาคใต้ ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกชัดเจนขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาหนังตะลุง และเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถุงวิถีชีวิตของผู้คนในภาคใต้ทั้ง สองแหล่งนี้ได้ดียิ่งขึ้น

นำเสนอโดย:น.ส วรรณนิภา บุญอำนาจ
รหัส:51123407033

Fenrin กล่าวว่า...

ข่าว:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี

ที่มา:http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?act=ST&f=38&t=400

เนื้อหา:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดโบสถ์ ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดโบสถ์มาก่อน ก่อตั้งโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระเทพสุทธิโมลี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีและอุทัยธานี ได้รวบรวมจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 มีโบราณวัตถุที่สำคัญ และเป็นที่รวมความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เช่น โบราณวัตถุที่ขุดพบได้จากแหล่งโบราณบ้านคูเมือง แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย จัดแสดงเครื่องประดับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ พัดยศ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ เครื่องถ้วยศิลปะไทย-จีน เครื่องดนตรีไทย ส่วนชั้นล่าง เป็นการละเล่นพื้นบ้าน เครื่องมือดักปลา เครื่องทอผ้า ตะเกียงโบราณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรีนี้ จะเปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศคนละ 5 บาท ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะพร้อมวิทยากรบรรยาย ควรติดต่อก่อนล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์

นำเสนอโดย:นาย สุชาติ ศรีสว่าง
รหัส:51123407009

NuOuMiiZ กล่าวว่า...

ข่าว:งานวัฒนธรรมสู่ท้องถิ่น
ที่มา: http://radiothailand.prd.go.th
เนื้อหา:สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างความรู้การดำเนินงานวัฒนธรรมสู่ท้องถิ่น
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ตนายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานวัฒนธรรมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ โดยมี นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาวัฒนธรรมอำเภอและจังหวัด เข้าร่วมด้วย
นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การดำเนินงานวัฒนธรรมจะให้บังเกิดผลต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง และทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วทั้งจังหวัดต้องอาศัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง ตำบล และเทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนตำบลและกำนันผู้ใหญ่บ้าน เข้ามาเป็นเจ้าภาพหลักเป็นพลังในการขับเคลื่อน ให้เป็นรูปธรรมในทางการปฏิบัติจริงในพื้นที่ โดยเฉพาะโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนและถือเป็นหัวใจการสร้างสังคมอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้มิติวัฒนธรรมเป็นหลักในการบูรณาการความร่วมมือและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับรากหญ้าได้อย่างแท้จริง
ดังนั้นทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตจึงได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำท้องที่บูรณาการร่วมกันในการจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายขอบข่ายการดำเนินงานวัฒนธรรมแก่เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำท้องที่รวมถึงเพื่อประสานงานและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายดำเนินงานวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นและท้องที่อีกทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงานวัฒนธรรมยุคใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและเพื่อส่งเสริมให้ผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นและท้องที่ของตนเอง
โดย:นาย อนุชา สายอรุณ
(51123407004)

kingeris กล่าวว่า...

นายพงศธร พันธ์จินดา รหัส 51123407031

ข่าว:ท่องแดนธรรม : งานไหว้พระ-แข่งเรือยาว มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ

ทีมาhttp://www.komchadluek.net/column/pra/2004/08/27/03.php

คนไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำธรรมชาติ และมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติมายาวนาน เทศกาลบุญผ้าป่า บุญทอดกฐินในเทศกาลออกพรรษา และเลยไปถึงงานลอยกระทง จึงนำเรือซึ่งป็นพาหนะสำคัญในการสัญจรมาแต่อดีต อัญเชิญผ้าป่า ผ้าห่ม หรือกฐิน ไปทอดถวายตามคุ้มวัดต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำทั่วไป

ระหว่างนี้เองจึงมีการประลองฝีพายของคุ้มบ้านและคุ้มวัดต่างๆ ก่อกำเนิดเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามบนสายน้ำ และวิวัฒนาการมาเป็นการแข่งขันเรือยาวประเพณี อันยิ่งใหญ่เกรียงไกรในวิถีชีวิตของชาวไทย สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน

การแข่งขันเรือยาวประเพณี อันนำมาซึ่งความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคุ้มบ้าน คุ้มวัด ซึ่งเป็นองค์กรพื้นฐานในชุมชนชนบทไทย ด้วยการผสมงานผสานใจกัน ร่วมด้วยช่วยกัน โดยนำเรือซึ่งเป็นสมบัติของวัดและชุมชน อันเกิดจากภูมิปัญญาของช่างไทยในการขุด หรือต่อเรือยาวมาแต่โบราณกาลมาลงน้ำแล้วฝึกปรือฝีพายให้แข็งแกร่ง นำทีมเรือไปร่วมชิงชัยในเทศกาลบุญประเพณีในฤดูน้ำหลากตามคุ้มวัดต่างๆ

ฤดูกาลแข่งขันเรือยาวประเพณี อันเป็นวิถีชีวิตไทย ในลุ่มน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ประจำปี ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นแล้ว โดยมี วัด ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนท้องถิ่น และเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมช่วยกันสืบสานตำนานแห่งความเป็นไทย ร่วมกันจัดการแข่งขันในวันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์-อาทิตย์) มีสนามแข่งขันของคุ้มวัดที่น่าสนใจในช่วงของเดือน ส.ค และ ก.ย. ที่ควรค่าแห่งการเที่ยวชมใน งานไหว้พระ-แข่งเรือยาว

อ.ขวัญทอง สอนศิริ (โจ้) กรรมการบริหารสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย บอกว่า งานแข่งขันเรือยาวที่น่าสนใจของวัดต่างๆ เช่น ในวันเสาร์ที่ ๒๗ ส.ค. ชมแข่งเรือยาวในงานปิดทองไหว้พระวัดหาดมูลกระบือ ทานข้าวเม่าพอก อันลือชื่อของเมืองพิจิตร วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ส.ค. แข่งเรือยาวงานปิดทองไหว้พระวัดหัวดง (หลวงพ่อพิธ ตาไฟ ตะกรุดโทนคู่ชีวิตอันลือชื่อ และไหว้รูปหลวงพ่อเงิน ที่ผุดจากโคนต้นไม้) เมืองพิจิตร วันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๔-๕ ก.ย. เที่ยวงานแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานวัดท่าหลวง ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เมืองพิจิตร วันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๑๑-๑๒ ก.ย. แข่งเรือยาวนานาชาติ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร พระนครศรีอยุธยา และกราบขอพรสรีระหลวงปู่สด วัดโพธิ์แตงใต้ ที่มรณภาพมาหลายปีแล้วสังขารไม่เน่าสลาย

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๑๘-๑๙ ก.ย. ขึ้นเหนือ กราบไหว้ขอพรหลวงพ่อพระพุทธชินราชองค์ดำ และพระเหลือ ตลอดจน พระพุทธเจ้าเข้าปรินิพพานองค์เดียวของเมืองไทย ชมการแข่งเรือชิงถ้วยพระราชทานลำน้ำน่านหน้าวัดใหญ่ พิษณุโลก และชมนิทรรศการเรือยาวมรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ตลอดจนการประกวดเรือยาว (จำลอง) ที่งดงามเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ร่วมสืบสานตำนานแห่งความเป็นไทย ชมการแข่งขันเรือยาวประเพณี อันเป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำสยามประเทศ

ปฏิทินการแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย ประจำปี ๒๕๔๗

วัน/เดือน รายการแข่งขัน และสนามแข่งขัน จังหวัด ประเภทเรือที่แข่งขัน

๒๘ ส.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน สธ.วัดหาดมูลกระบือ อ.เมืองพิจิตร จิ๋ว, เล็ก, ใหญ่

๒๙ ส.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน สก. วัดหัวดง อ.เมืองพิจิตร จิ๋ว, เล็ก, ใหญ่

๔-๕ ก.ย. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานวัดท่าหลวง อ.เมืองพิจิตร เล็ก, กลาง, ใหญ่

๑๑-๑๒ ก.ย. เรือนานาชาติ มหกรรมสุดยอดเรือสยาม ศูนย์ศิลปาชีพ อยุธยา (ททท.) นานาชาติ ๒๒, เล็ก, ใหญ่

๑๘-๑๙ ก.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน และเรือพายสิงห์สองแคว พิษณุโลก ๓, ๕ ฝีพาย, จิ๋ว, เล็ก, กลาง, ใหญ่

๒๕-๒๖ ก.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน ร.ร.นายร้อยตำรวจสามพราน นครปฐม ๕ ฝีพาย, เล็ก, ใหญ่

๒๕-๒๖ ก.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน ลำน้ำป่าสัก อ.เสาไห้ สระบุรี ๗ ฝีพาย, จิ๋ว, เล็ก, ใหญ่

๒-๓ ต.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน ต้นน้ำเจ้าพระยา นครสวรรค์ เรือตะเข้, เล็ก, กลาง, ใหญ่

๙-๑๐ ต.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน วัดกษัตราธิราช อยุธยา จิ๋ว, เล็ก, ใหญ่

๑๖-๑๗ ต.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานเทศบาลโพสังโฆ อ.ค่ายบางระจัน สิงห์บุรี จิ๋ว, เล็ก, กลาง, ใหญ่

๑๖ ต.ค. เรือยาวประเพณีเพชรบุรี หน้าจวน ผวจ.เพชรบุรี เพชรบุรี ๒๓ ฝีพาย, เล็ก

๑๕-๑๖-๑๗ ต.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน อ.ท่าตูม สุรินทร์ เล็ก, กลาง, ใหญ่

๒๒-๒๓ ต.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน จ.สิงห์บุรี สิงห์บุรี จิ๋ว, เล็ก, ใหญ่

๒๓ ต.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานวัดบ่อตะกั่ว อ.นครชัยศรี นครปฐม ๒๓ ฝีพาย, เล็ก

๒๓ ต.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานคลองระพีพัฒน์ (หนองแค) สระบุรี จิ๋ว, เล็ก, ใหญ่

๒๔-๒๕ ต.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานคลองรังสิตเทศบาลประชาธิปัตย์ ปทุมธานี เล็ก, กลาง, ใหญ่

๒๖-๒๘ ต.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานแม่น้ำโขงออกพรรษา จ.มุกดาหาร เล็ก, กลาง, ใหญ่

๒๘, ๒๙, ๓๐ ต.ค. เรือยาวออกพรรษาชิงถ้วยพระราชทาน จ.หนองคาย หนองคาย เล็ก, กลาง, ใหญ่

๒๘-๒๙ ต.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานงานทอดผ้าป่าชักพระ (พฤ-ศ) สุราษฎร์ธานี ๕ ฝีพาย, ๒๓ ฝีพาย, เล็ก, ใหญ่

๒๙ ต.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานวัดประชานาถ อ.นครชัยศรี นครปฐม ๒๓ ฝีพาย, เล็ก

๒๙ ต.ค.-๒ พ.ย. เรือยาวขึ้นโขนชิงธง ชิงโล่พระราชทาน อ.หลังสวน ชุมพร ๓๒ ฝีพาย

๓๐-๓๑ ต.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานวัดเกาะหงษ์ นครสวรรค์ จิ๋ว, เล็ก, ใหญ่

๓ พ.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานปากน้ำบางตะบูน อ.บ้านแหลม เพชรบุรี ๒๓ ฝีพาย, เล็ก

๖-๗ พ.ย. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานลำน้ำมูล อ.สตึก บุรีรัม์ เล็ก, กลาง, ใหญ่, เรือเหล็ก

๖-๗ พ.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานวัดบางพระ อ.นครชัยศรี นครปฐม ๒๓ ฝีพาย, เล็ก, กลาง, ใหญ่

๖ พ.ย. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานลำแม่ลา อ.บางระจัน สิงห์บุรี ๕ ฝีพาย, จิ๋ว, เล็ก

๗ พ.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานวัดสาลโคดม อ.อินทร์บุรี สิงห์บุรี จิ๋ว, เล็ก

๑๓-๑๔ พ.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน เทศกาลเที่ยวพิมาย อ.พิมาย นครราชสีมา เล็ก, กลาง, ใหญ่

๑๓-๑๔ พ.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน วัดสวนหงส์ อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จิ๋ว, เล็ก, ใหญ่

๒๐-๒๑ พ.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอ่างเก็บน้ำมาบประชัน อ.บางละมุง ชลบุรี เล็ก, ใหญ่

๒๔ พ.ย. เรือยาวประเพณี ปากน้ำปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ประจวบฯ ๒๓ ฝีพาย, เล็ก

๒๕ พ.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน เทศบาลโพธาราม ราชบุรี ๒๓ ฝีพาย, เล็ก, ใหญ่

๒๖ พ.ย. เรือยาวชิงโล่พระราชทาน อ.บ้านโป่ง (ลอยกระทง) ราชบุรี ๒๓ ฝีพาย, เล็ก

๒๗-๒๘ พ.ย. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทานวัดศรีเมือง อบต.ท่าทราย สมุทรสาคร ๕ ฝีพาย, เล็ก, ใหญ่

๔-๕ ธ.ค. เรือยาวประเพณีศาลเจ้าพ่อหลาวเหล็ก อ.อินทร์บุรี สิงห์บุรี จิ๋ว, เล็ก

๑๑-๑๒ ธ.ค. เรือยาวชิงชนะเลิศประเทศไทย สะพานพระราม ๘ กรุงเทพฯ ๕ ฝีพาย (เยาวชน, ช-ญ, ทั่วไป), เล็ก, ใหญ่

จาโบ้ฮวง กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อข่าว ดันเต็มที่ริมฝั่งจ้าพระยาเป็นมรดกโลก
ทีมา www.ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2008 15:13:24 น.
เนื้อหา กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--กทม.
กทม. เตรียมผลักดันให้ริมฝั่งเจ้าพระยาเป็นมรดกโลก ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งอารยธรรม แหล่งกำเนิด กรุงรัตนโกสินทร์และวิวัฒนาการการเป็นกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการแสดงถึงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และด้านวัฒนธรรมในรูปของภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ น.ส.อัญชลี ปัทมาสวรรค์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม. แจ้งว่า สำนักผังเมืองได้เตรียมการขึ้นทะเบียนพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นมรดกโลก โดยเฉพาะพื้นที่ตั้งแต่ท่าวาสุกรี ถึงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ) เพื่อแสดงถึงความสำคัญของพื้นที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งอารยธรรมและกำเนิดกรุงรัตนโกสินทร์และวิวัฒนาการการเป็นกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการแสดงถึงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และด้านวัฒนธรรมในรูปของภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ รวมถึงเพื่อดึงทุกภาคส่วนร่วมมือกันอนุรักษ์พื้นที่ให้คงคุณค่าสืบไป
สำหรับการเตรียมการขึ้นทะเบียนพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นมรดกโลกในขณะนี้สำนักผังเมืองกำลังจัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในการนำเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเข้าสู่บัญชีรายชื่อของคณะกรรมการมรดกโลก พร้อมกับการจัดทำแผนการบริหารจัดการ และที่สำคัญกรุงเทพมหานครจะเร่งอนุรักษ์ บูรณะสถานที่สำคัญรวมถึงสภาพแวดล้อมในรูปแบบโครงการ ทั้งนี้จะประสานการทำงานร่วมกับโครงการเรารักษ์เจ้าพระยา และคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังผลักดันเป็นข้อบัญญัติอยู่ในขณะนี้ เพื่อให้แม่น้ำเจ้าพระยาสะอาด สวยงาม สิ่งแวดล้อมดี เป็นสมบัติและมรดกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบไป
ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวว่า หลังเตรียมรายละเอียดต่างๆ แล้ว กรุงเทพมหานครจะประสานงานกับกรมศิลปากรซึ่งเป็นหน่วยข้อมูลหลัก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้การนำพื้นที่ริมฝั่งเจ้าพระยาเป็นมรดกโลกนั้น กทม. จะรับฟังความคิดเห็นประชาชนในทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดเครือข่ายและการมีส่วนร่วมต่อไป

นำเสนอโดย นางสาวชฎาพร รัตนวิจิตร

รหัส 51123407036

ลูกปลา กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อข่าว :หนังใหญ่ มรดกวัฒนธรรม

ที่มา : www.artgazine.com

เนื้อหา :มหรสพเก่าแก่มีความหมายสำคัญมีชื่อเสียงกล่าวขานเลื่องลือมายาวนานแต่ครั้งอดีตอย่าง หนังใหญ่ นอกจากความงามในการแสดงมหรสพหนังใหญ่ ยังรวมไว้ด้วยศิลปะทรงคุณค่าหลายแขนง

และจากหลักฐานที่กล่าวไว้ในกฎมนเทียรบาล สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และในเรื่องสมุทรโฆษชาดคำฉันท์ หนังใหญ่มีการเล่นต่อเนื่องตลอดมาจนถึงสมัยอยุธยาจึงยุติการเล่นลง จากนั้นเมื่อมีการตั้งกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี หนังใหญ่ก็เริ่มกลับมาเฟื่องฟูยืนยงต่อเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จวบถึงปัจจุบันหนังใหญ่ยังคงมีปรากฏให้ศึกษาสืบสาน

ในการแสดงหนังใหญ่ที่มีเอก ลักษณ์ที่ผ่านมา หนังใหญ่วัดขนอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ได้สร้างชื่อได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 6 ของ ชุมชนที่มีผลงานดีเด่นจากการฟื้นฟู มรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรม ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่ง ชาติส่งเข้าประกวดผลงานการฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรม (ICH) ของชุมชนโครงการศูนย์วัฒนธรรมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติหรือ ACCU ที่มีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการประกวด มีขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น

จากการประกวดที่มีขึ้น คณะกรรมการฯพิจารณาผลงานหนังใหญ่วัดขนอนซึ่งมีความชัดเจนของชุมชนและเยาวชนร่วมกันสืบสานโดย ได้ส่งผลงานในรูปแบบวีดิทัศน์สารคดียาว ซึ่งคณะหนังใหญ่แสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต พร้อมเอกสาร ภาพถ่ายและหลังจากที่ได้รับคัดเลือกช่วงเดือนหน้าจะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างชุมชนที่ได้รับการคัดเลือก ซึ่งไม่เพียงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันแต่ยังมีความหมายในการเผยแพร่ศิลปะที่มีความหมายความสำคัญแขนงนี้ให้เป็นที่ปรากฏ

หนังใหญ่เป็นศิลปะการแสดงเก่าแก่อย่างหนึ่งของไทยเป็นศิลปะการแสดงที่ใช้แผ่นหนังมาฉลุให้เกิดลวดลายเป็นตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องรามเกียรติ์ มีผู้เชิดอยู่หน้าจอขนาดใหญ่และในการแสดงจะมีการใช้ศิลปะหลายแขนง อย่าง นาฏศิลป์ ซึ่งจะประกอบกับบทพากย์ บทเจรจา และดนตรีปี่พาทย์เพื่อให้เกิดความเข้าใจให้อรรถรสทางศิลปะอย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลกล่าวถึงความโดด เด่นของหนังใหญ่ซึ่งออก แบบลวดลายไทยเชิงจิตร กรรม ผสมผสานกับช่างฝีมือแกะสลักที่ผนวกกับศิลปะ การดนตรี โขนละครและวรรณกรรมจึงมีความงามที่เกิดจากภาพอันวิจิตร การเคลื่อนไหวมีชีวิต ตามลีลาของนาฏศิลป์ชั้นสูงโดยฝีมือของคนเชิดประกอบการ พากย์ และเจรจา

หนังใหญ่ที่ปรากฏจึงเป็นมหรสพที่รวบรวมศิลปะทางดนตรีไทย วรรณกรรมไทยไว้อย่างครบพร้อมเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าควรที่จะช่วยกันสืบรักษาให้คงอยู่สืบไป.

นำเสนอโดย :นางสาว ปนัดดา นิ่มนวล

รหัส : 51123407002

ลูกปลา กล่าวว่า...

ชื่อหัวข้อข่าว: อีโคโมสไทย"ถวงถาม"มาตรฐานมรดกโลกปราสาทพระวิหาร

ที่มา: http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=23487

เนื้อหา: สยามรัฐ -ศิลปวัฒนธรรม 27 ก.ย. เว็บไซต์อิโคโมสไทย เปิดเผยว่า ผู้แทนอิโคโมสไทย(ICOMOS) จะเดินทางไปเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในการประชุมใหญ่สามัญของอิโคโมสครั้งที่ 16 ณ เมืองควิเบค แคนาดา วันที่ 29 กันยายน 2551 ชี้ให้เห็นถึงอิโคโมสสากลทำผิดพลาดทางวิชาการในการประเมินคุณค่าของปราสาทพระวิหาร ให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และทวงถามถึงมาตรฐานในการดำเนินการที่ควรจะเป็นสำหรับความเป็นองค์กรอิสระทางวิชาชีพด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอย่างอิโคโมส

แหล่งข่าวท่านหนึ่ง ให้ความเห็นว่า “อิโคโมสไทยได้ทำหนังสือโต้แย้งการพิจารณาของอิโคโมสสากล ไม่ได้คำนึงถึงปราสาทพระวิหารในมิติความสัมพันธ์ระหว่างศาสนสถานและชุมชนบริเวณใกล้เคียง ทั้งในแง่ของผู้ดูแลเทวาลัยและความผูกพันทางจิตใจ ซึ่งถือเป็นคุณค่าแบบ Intangible และเป็นหัวใจสำคัญที่บ่งชี้ถึง Spirit of the place”

นอกจากนี้การประชุมวิชาการนานาชาติของอิโคโมสไทยประจำปี 2551 ระหว่างวันที่ 29–30 พฤศจิกายน ณ วังลดาวัลย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะกล่าวถึงเกี่ยวกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งปราสาทพระวิหาร การจัดการมรดกปูชนียสถานและพื้นที่ศักดิ์สิทธ์ สรุปภาพรวมของเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น และการชี้ให้เห็นผลที่ได้ รับในแง่ของปัญหาการจัดการและผลกระทบในแง่ลบที่จะมีต่อโบราณสถาน

อย่างไรก็ตามช่วงที่กัมพูชาได้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียมรดกโลก ทางคณะกรรมการมรดกโลกได้ให้ฝ่ายกัมพูชาเสนอ 6 ประเทศเข้าร่วมบริหารพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรระหว่างไทยกับกัมพูชา นายเขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้พาสื่อมวลชนสัญจรลงพื้นที่ผามออีแดง สระตราว เป็นพื้นที่ร่วมกับปราสาทพระวิหาร ให้ความเห็นว่า “กรมศิลปากรคงทบทวนในการเสนอสระตราว สถูปคู่ ภาพสลักหินนูนต่ำ ในเขตไทย ที่ถือเป็นศาสนสถานร่วมกับปราสาทพระวิหาร ทางกัมพูชาได้เสนอเป็นมรดกโลก เพราะถ้าเราเสนอศาสนถานดังกล่าว ก็เท่า กับเข้าทางกัมพูชาทันที เนื่องจากจะมีอีก 6 ประเทศเข้ามาร่วมบริหารจัดการพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรทันที ดังนั้นแล้วถ้าจะเสนอศาสนถานดังกล่าวเพื่อขึ้นเป็นมรดกโลกร่วมกับปราสาทพระวิหาร จะต้องศึกษาข้อดีข้อเสียก่อน” รองอธิบดีกรมศิลป์ กล่าว

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวอีกท่านหนึ่งกล่าว “เท่าที่ทราบมาว่า 6 ประเทศที่ทางกัมพูชาเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก เข้ามาร่วมบริหารพื้นที่ 4.6 ตร.กิโลเมตรนั้น ได้ถอดตัว เนื่องจากเป็นปัญหาของสองประเทศไทยกับกัมพูชา ที่สามารถแก้ไขกันเองได้"

นำเสนอโดย: นางสาว ภัทราภรณ์ ศรีเจริญ

รหัส: 51123407003

Ji Fan กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Ji Fan กล่าวว่า...

ข่าว:ขึ้นโขนชิงธง.. มรดกวัฒนธรรมแห่งลุ่มน้ำหลังสวน

ที่มา:http://www.paknamlangsuan.com/forum/index.php?topic=206.0

ตำนาน การแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง งานประเพณีแห่พระแข่งเรือชิงโล่และถ้วยพระราชทาน อ.หลังสวน จ.ชุมพร การดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีต มีความผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนาน การปลูกสร้างบ้านหรือชุมชน ตั้งแต่สมัยโบราณกาลของคนไทย จะเลือกทำเลที่ติดแม่น้ำลำคลองเป็นสำคัญ เพื่อจะได้อาศัยน้ำในการเพาะปลูก ดื่มกิน และใช้เพื่อชำระร่างกาย

เมืองหลังสวนมีแม่น้ำไหลผ่านเปรียบ เสมือนสายโลหิตหล่อเลี้ยงเมือง ความสำคัญของแม่น้ำอีกประการหนึ่งก็คือ ใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาและการขนถ่ายสินค้าเพื่อการค้าขาย พาหนะที่ใช้ติดต่อกัน ก็เกิดจากฝีมือประดิษฐ์ของมนุษย์นั้นคือ เรือ ซึ่งนับว่าเป็นบทบาทสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ การคมนาคมขนส่ง ขนบธรรมเนียม ประเพณีและความสนุกสนานแก่คนไทยเป็นอย่างมาก

ในสมัยก่อนเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ว่างเว้นจากการเพาะปลูก ปักดำทำนา ในราวเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม โดยเฉพาะช่วงเทศกาลทอดกฐิน คนหนุ่ม คนสาว คนแก่ คนเฒ่าตามหมู่บ้าน จะร่วมแรงร่วมใจกันตกแต่งเรือองค์กฐิน ไปทอดตามวัดวาอารามต่าง ๆ ที่ตนศรัทธา ซึ่งวัดส่วนใหญ่จะตั้งริมฝั่งแม่น้ำ

ขบวนเรือทอดกฐินจะมีเรือลำใหญ่ ส่วนมากจะใช้เรือมาด ที่ตกแต่งมีธงทิวอย่างสวยงามเป็นเรือตั้งองค์กฐิน นอกจากนั้นจะมีเรือขนาดรองลงมาพายนำและพายติดตามแห่องค์กฐินไปตามคุ้งน้ำ มีพิณพาทย์ ลาดตจะโพนในเรือองค์กฐินบรรเลงอย่างสนุกสนานเสียงดังลั่นไปทั่วคุ้งน้ำ

เมื่อทอดกฐินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการเล่นเรือเพลง และลงท้ายด้วยการพายเรือแข่งกันและการแข่งขันเรือยาวนี้เริ่มมีในท้องถิ่น หลังสวนมาเนิ่นนานไม่ปรากฏแน่ชัดว่าตั้งแต่สมัยใด แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการแข่งขันเรือกันในเดือน 11 และถือเป็นพระราชพิธีประจำเดือนเพราะในช่วงเดือน 11 เป็นช่วงที่มีน้ำนองเปี่ยมสองฝั่งเหมาะแก่การแข่งขันเรือเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยแผ่นดินพระเอกาทศรถ โปรดให้มีการแข่งขันเรือของทหาร เพื่อต้องการฝึกซ้อมฝีพายเรือ ลำใดเข้าเส้นชัยก่อน ก็จะพระราชทานรางวัลให้เป็นกำลังใจ เรือยาวที่ใช้ในการแข่งขันในปัจจุบันก็เป็นเรือที่พัฒนามาจากเรือที่ใช้ทำ สงครามในสมัยก่อนนั้นเอง

ผู้สันทัดกรณีบางท่านสันนิษฐานว่า การแข่งขันเรือยาวของหลังสวนคงจะเกิดขึ้นราว พ.ศ. 2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะในช่วงนั้นเมืองหลังสวนมีวัดเกิดขึ้นหลายวัด การแห่พระลากพระก็คงจะเกิดขึ้นและมีการแข่งขันเรือยาวกันแล้ว
ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของหลังสวนเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษาของทุกปี เพราะในวันออกพรรษานี้ชาวพุทธจะไปร่วมทำบุญตักบาตรเทโวที่วัดจากความเชื่อ ที่ว่า ในวันอันสมมุตินี้เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์เพื่อโปรดสัตว์โลก ซึ่งในสมัยนั้นก็คงจะใช้เรือเป็นพาหนะ เสร็จจากการร่วมทำบุญตักบาตรแล้ว ก็สนุกสนานด้วยการพายเรือแข่งกัน
อย่างไรก็ตาม ก็พอจะหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถอ้างอิงได้ว่า การแข่งขันเรือยาวที่เมืองหลังสวน ได้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและสืบเนื่องมาเป็นเวลาร้อยปีเศษ กล่าวคือ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จประพาสทางชลมารคถึงเมืองหลังสวน ซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ร.ศ. 108 (พ.ศ. 2432) พระยาจรูญราชโภคากร (คอมซิมเต็ก ณ ระนอง) เจ้าเมืองหลังสวนขณะนั้น ได้จัดขบวนเรือรับเสด็จจากปากอ่าวไทย เพื่อนำเรือกลไฟพระที่นั่งทอนิครอฟต์มาตามลำน้ำหลังสวน และเสด็จประทับแรมที่ตำบลขันเงิน หนึ่งในขบวนเรือที่รับเสด็จในคราวนั้น คือ เรือมะเขือยำ สังกัดวัดดอนชัย ซึ่งเป็นเรือยาวที่ใช้ในการแข่งขันและครองความเป็นเลิศอยู่เสมอในสมัยนั้น (ปัจจุบันเรือลำนี้ยังอยู่ในสภาพดี เก็บรักษาอย่างดี ไม่ได้ใช้ในการแข่งขัน แต่จะใช้เป็นเรือเกียรติยศ นำขบวนเรือพาเหรดในการเปิดสนามแข่งขันทุกปี)
การแข่งขันเรือยาวในระยะแรก ๆ ไม่มีการมอบรางวัลใด ๆ เป็นการแข่งขันเพื่อความสนุกสนาน หลังจากที่ได้ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า สมัยก่อนพายชนะ 1 ได้รับผ้าแถบ 1 ผืน และเมื่อได้รับผ้าแถบมาแล้ว นายหัวเรือจะนำมาผูกไว้ที่โขนเรือ ชนะหลายเที่ยวก็จะได้ผ้าแถบหลายผืน และเมื่อเลิกพายแล้ว ก็จะนำผ้าแถบเหล่านี้ไปเย็บติดกันเป็นผ้าม่านถวายวัดต่อไป
ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ เรือมีความยาวมากขึ้น ใช้ฝีพายมากขึ้น และในปี พ.ศ. 2482 ได้มี ขันน้ำพานรอง ของพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมัยนั้น ซึ่งมีเงื่อนไขว่า ต้องชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จึงจะได้รับขันน้ำพานรองเป็นกรรมสิทธิ์ เรือต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนรับขันน้ำพานรองใบนี้กันอยู่หลายปี ในที่สุด เรือแม่นางสร้อยทอง ของวัดบรรพตวิสัย (วัดในเขา) ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน ก็ได้รับขันน้ำพานรองใบนี้เป็นกรรมสิทธิ์
ในสมัยก่อนเรือพายที่แข่งขันไม่ได้กำหนดจำนวนฝีพายเช่นในปัจจุบัน แต่บางประเภทเป็นเรือเพรียวและเรือยาว โดยเรือที่มีฝีพาย 10–20 ฝีพาย จัดเป็นประเภทเรือเพรียว และเรือที่มีฝีพาย 20 ฝีพายขึ้นไปจัดเป็นเรือประเภทเรือยาว ในสมัยนั้นไม่มีกฎกติกาอันใดแม้แต่ลู่สายน้ำก็ยังไม่มีแข่งขันกันเพื่อสนุก สนานเท่านั้น
วัดที่มีเรือยาวในสมัยก่อนนั้นมีไม่มาก เป็นวัดที่อยู่ริมแม่น้ำนับจากปากน้ำหลังสวนขึ้นมาก็มี วัดในเขา วัดนาทิการาม วัดดอนชัย วัดต้นกุล วัดแหลมทราย วัดบางลำพู วัดโตนด วัดด่านประชากร วัดขันเงิน คู่ต่อสู้ที่สูสี ผลัดกันแพ้-ชนะ เป็นขวัญใจผู้ชมอยู่ได้หลายปี คือ เรือม้าย่องของวัดบางลำพู (วัดวิเวการาม) และ เรือสิงห์ทองของวัดแหลมทราย (วัดวาลุการาม)
สมัยก่อนยังไม่มีเรือที่ใช้เครื่องยนต์ แต่ละวัดจะจัดเรือพระน้ำโดยใช้เรือยาวและเรือเล็กลากจูงมาจอดที่ท่าน้ำวัด ด่านประชากร ซึ่งเป็นสนามแข่งเรือ พระภิกษุสามเณรจะนั่งมาในเรือพระเมื่อถึงเวลาแข่งเรือก็จะมีเรือมากมายแต่ง กายด้วยเสื้อผ้าแพรพรรณหลายสีสวยงาม ร้องเพลง เป็นที่สนุกสนานและมีเพลงเรืออยู่บทหนึ่ง คือ บทเกี้ยวสาวที่ว่า “ปีนี้ไม่ได้ ผลัดไว้ปีหน้า ถึงวันลากพระค่อยมาจีบใหม่”
ปี พ.ศ. 2506 นายถ้วน พรหมโยธา ข้าราชการกรมโยธาธิการ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดชุมพร ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานโล่รางวัลชนะเลิศการแข่งขัน และโล่รางวัลชนะเลิศประกวดเรือประเภทสวยงามจากพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อทั้งสองล้นเกล้าพระบรมราชานุญาตแล้ว สำนักพระราชวังได้แจ้งให้จังหวัดชุมพรและคณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่พระ แข่งเรืออำเภอหลังสวน ส่งตัวแทนไปรับ จังหวัดชุมพรจึงขอความกรุณาให้ พลเอกครวญ สุทธานินทร์ เป็นตัวแทนเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้อัญเชิญโล่พระราชทานมาอำเภอหลังสวน ทำการแข่งขันเรือยาวในปี พ.ศ. 2507
ปี พ.ศ. 2507 นายมังกร วรวิสุทธิสารกุล คหบดีคนหนึ่งของอำเภอหลังสวน เป็นประธานกรรมการจัดงานประเพณีแห่พระแข่งเรือชิงโล่พระราชทานเป็นปีแรก การจัดงานเป็นไปด้วยความยิ่งใหญ่มโหฬาร เพื่อให้สมพระเกียรติและด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าล้น กระหม่อมทั้งสองพระองค์ จึงได้ทำการถ่ายทำภาพยนตร์ไว้ด้วย เมื่อเสร็จสิ้นการจัดงานแล้ว นายส่ง มีมุฑา ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรสมัยนั้น พร้อมด้วยนายมังกร วรวิสุทธิสารกุล, นางเดือนศิริ วรวิสุทธิสารกุล, นายบุญฤทธิ์ พรหมมาศ, นายชิต เทศพิทักษ์, นายชื่น รัตนราช, นายวงศ์ เชาวนกวี และนายกวยฮุย แซ่เอี้ยว ได้ขอเข้าเฝ้าเพื่อถวายฟิล์มภาพยนตร์ที่ได้ถ่ายทำในงานประเพณีแห่พระแข่ง เรือชิงโล่พระราชทาน ประจำปี 2507 แล้วทูลเกล้าถวายเงินรายได้จากการจัดงาน จำนวน 10,000.- บาท โดยเสด็จพระราชกุศลตามอัธยาศัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระราชดำรัสกับคณะที่เข้าเฝ้าตอนหนึ่งว่า “ขอให้ร่วมรัก สามัคคี ให้งานประเพณีอยู่ยั่งยืนตลอดไป”

ประวัติถ้วยพระราชทาน “ถ้วยยอดทอง”
ปี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่พระแข่งเรือชิงโล่พระราชทานจังหวัดชุมพร ได้ทำการแข่งขันเรือยาวประเภท ข ขึ้นมาอีกประเภทหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนฝีพายท้องถิ่นให้พัฒนาฝีมือ และความสามารถ และในปีนั้น นายชัด รัตนราช อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน “ถ้วยยอดทอง” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระบรมราชานุญาตพระราชทานถ้วยยอดทอง ให้เป็นรางวัลของการแข่งขันเรือยาวประเภท ข
ปี พ.ศ. 2543 คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่พระแข่งเรือชิงโล่พระราชทาน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ประจำปี 2543 โดยนายธีรัชฌานนท์ เจียมวิจิตร ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดงาน พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้ขอพระราชทานถ้วยรางวัลเพื่อเป็นรางวัลเกียรติยศ สำหรับการแข่งเรือยาว และกิจกรรมการประกวดในงานประเพณีจากพระบรมวงศานุวงศ์เพิ่มเติม ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ดังนี้

1. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานถ้วยรางวัล “ชนะเลิศการประกวดเรือพระบก”
2. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล “ชนะเลิศการประกวดเรือพระน้ำ”
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล “ชนะเลิศการประกวดกาองเชียร์ริมฝั่ง”
4. พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประทานถ้วยรางวัล “ชนะเลิศการแข่งขันเรือยาวประเภทฝีพายนักเรียน”
5. หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณวรี มหิดล ประทานถ้วยรางวัล “ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน”

ปี พ.ศ. 2546 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี ได้ประทาน ถ้วยรางวัลให้คณะกรรมการจัดงานเพื่อเป็นรางวัลเกียรติยศ สำหรับรางวัล “ชนะเลิศการแข่งขันเรือยาวประเภทเจ้าหน้าที่และผู้นำท้องถิ่น” นับเป็นมหามิ่งมงคล และปลาบปลื้มปิติเป็นล้นพ้นแก่ประชาชนหลังสวนเป็นยิ่งนัก ทั้งสองพระองค์และ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ การจัดงานประเพณีแห่พระแข่งเรือชิงโล่และถ้วยพระราชทานอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ในทุกปีจึงมีเป้าหมายที่สำคัญ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

อดีตและปัจจุบัน เมืองหลังสวน

เมืองที่รักษาประเพณีขึ้นโขนชิงธงมานานนับร้อยปี (Unseen of Thailand ที่จริงแท้) หลังสวน เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง ประวัติการตั้งเมืองสมัยเริ่มแรกไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดสันนิษฐานว่าบริเวณ ที่ตั้งเมืองหลังสวนเดิมนั้น มีดินที่อึดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพราะปลูกพืชผล จึงมีประชาชนเข้ามาอาศัยรวมกัน จนกลายเป็นชุมชนและขยายขึ้นเป็นเมือง โดยอาศัยในอาณาเขตปกครองของเมืองชุมพร ซึ่งมีศักดิ์เป็นเมืองตรี อันเป็นหนึ่งในหัวเมืองปักษ์ใต้ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ (เมืองชุมพร มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี) เมืองหลังสวน เจริญรุ่งเรืองและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ภายหลังสวนจากเมืองระนองซึ่งเป็นเมืองขึ้นของชุมพรสมัยนั้น ได้รับการยกฐานะขึ้นมีศักดิ์เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ (พ.ศ. 2405 สมัยรัชกาลที่ 4) โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซูเจียง ตันตระกูล ณ ระนอง) เจ้าเมืองระนองได้ทำการค้าอย่างกว่างขวางและขยายกิจการค้า ทำเหมืองแร่เข้ามาในเขตเมืองหลังสวน โดยมอบให้บุตรชายเป็นผู้จัดการ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะเมืองหลังสวนเป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ ก็ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์บุตรชายของพระยารัตนเศรษฐี เป็นพระยาจรูญราชโถคากร (คอซิมเต็ก ณ ระนอง) ให้เป็นผู้ว่าราชการเมืองหลังสวนเป็นคนแรก ทั้งนี้ได้ตัดเอาเมืองสวีที่ขึ้นอยู่กับเมืองชุมพรมารวมเข้าด้วย แบ่งเขตแดนกันที่เมืองวิสัย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 รัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองหัวเมืองแบบมณฑล (เทศาภิบาลเมื่อตั้งมณฑลชุมพรแล้ว) ได้ให้เมืองหลังสวนเป็นเมืองหนึ่งของมณฑลชุมพร สมัยนั้นมีอาณาเขตกว้างในปัจจุบันนี้ ประกอบด้วย 4 อำเภอ คือ เมืองหลังสวน สวี พะโต๊ะ และประสงค์ (ปัจจุบัน ประสงค์คืออำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎรธานี ได้โอนไปขึ้นกับเมืองไชยา) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2449 ถึงปี พ.ศ. 2459 รัชการที่ 5 ไปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงรูปแบบการบริหารราชการใหม่เป็น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น (ตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองที่ พ.ศ. 2475) จึงเปลี่ยนจากเมืองหลังสวน เป็น “จังหวัดหลังสวน” และเปลี่ยนตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อมาได้ปรับปรุงเขตการปกครองเสียใหม่ และได้ยุบจังหวัดหลังสวน เป็นอำเภอ ขึ้นต่อจากจังหวัดชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2475 โดยมีหลวงปราณีประชาชนเป็นนายอำเภอหลังสวน (ยุคใหม่) คนแรก
อำเภอ (เมือง) หลังสวนเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอขันเงิน เมื่อปี พ.ศ. 2460 และใช้เรื่อยมาจนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2481 จึงกลับมาเป็นอำเภอหลังสวนตามชื่อที่ประชาชนนิยมเรียกกันมาแต่เดิม และในปี พ.ศ. 2492 กระทรวงมหาดไทยได้จัดลำดับอำเภอ ได้ยกฐานะอำเภอหลังสวนเป็นอำเภอชั้นเอก โดยมีขุนผดุงแดนสวรรค์ (ฟุ้ง รักราชการ) เป็นนายอำเภอหลังสวนชั้นเอกคนแรก และต่อจากนั้นก็คงเปลี่ยนแปลงแต่ตัวนายอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน

นำเสนอโดย:น.ส.ปภัสรา อุ่นเอมใจ
(51123407012)

mawmeaw กล่าวว่า...

ข่าว:เสวนาการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่มา:http://prnan.prdnorth.in

โดย:น.ส.รุ่งทิวา แห่สันเทียะ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง(มฟล.) จัดโครงการพิพิธภัณฑ์เสวนา 2551 ระดมสมองหารือแนวทางจัดการมรดกทางวัฒนธรรมรองรับการกระจายอำนาจ นำองค์กรบริหารส่วนตำบลเข้าร่วมกว่า 200 คน


อาจารย์พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง และอาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ เปิดเผยว่า โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง ร่วมกับสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มฟล. จัดโครงการพิพิธภัณฑ์เสวนา 2551 การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ปัจจุบันการศึกษาวัฒนธรรมของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้เปิดกว้าง มีการศึกษาหลายมิติทั้งในด้านของผู้คนวัฒนธรรม ทำให้เห็นการลื่นไหล ความขัดแย้งและปัญหาทางวัฒนธรรม ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมรวมถึงศาสนา เป็นความขัดแย้งใหม่ที่ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ เนื่องจากความซับซ้อนของโลกาภิวัฒน์ ปัญหาความชอบธรรมสร้างวาทะกรรมใหม่ๆ และระบบกลไกทางสังคมไม่สามารถควบคุมได้ จนถึงทางออกทางวัฒนธรรมให้กับความขัดแย้งใหม่ๆ รวมพื้นฐานแนวคิดของพหุวัฒนธรรมนิยม การเสวนาเรื่องการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะกระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความรู้ความสามารถ ตระหนักถึงการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมให้สามารถคงอยู่คู่กับสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นการเปิดประตูความรู้ของผู้คนให้เห็นทางออกในการเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ การเสวนาได้เชิญองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา จำนวน 215 คนเข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 ณ อาคารส่วนหน้า อาคารพิพิธภัณฑ์ มฟล. ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ผู้ใดสนใจจะเข้าร่วมการเสวนา ติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง

ToN กล่าวว่า...

ข่าว : 'ปากน้ำโพ' คึกคักชิงถ้วยพระราชทานฯ จัดแข่งขันเรือยาวประเพณี ชมคอนเสิร์ต-ซื้อสินค้าโอทอป

ที่มา : www.dailynews.co.th/

เนื้อหาข่าว : เสียงตะโกนกึกก้องเร่งเร้าประสานเป็นจังหวะถี่กระชั้นดังกระหึ่มผ่านไมโครโฟนของโฆษกเสียงทุ้มดังลั่นคุ้งน้ำเจ้าพระยาเมื่อปีที่แล้ว ยังคงฝังอยู่ในความทรงจำและความรู้สึกคึกคักของชาวปากน้ำโพ “เทพนรสิงห์ 88 หนี ๆ ๆ ๆ ๆ บึงบอระเพ็ด จี้ จี้ ๆ ๆ ๆ ๆ” พร้อมเสียง ตุ้ม ตุ้ม ตุ้ม ของกลองที่ตีกระหน่ำอย่างสุดกำลังของกองเชียร์แต่ละกลุ่มที่มาสนับสนุนการแข่งเรือของตนด้วยหัวใจที่เต้นตึ๊กตั๊ก ในขณะที่เรือแข่งทั้ง 2 ลำ แล่นแหวกสายน้ำดังซู่ซ่าเพื่อพุ่งเข้าสู่เส้นชัยนั้น ภาพเหตุการณ์เหล่านี้จะกลับมาสู่สายตาอีกครั้งในคุ้งน้ำเจ้าพระยา ณ สนามเรือแข่งริมเขื่อนหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ชุมทางการค้าสมัยอดีตที่ผูกพันชีวิตไว้กับกระแสน้ำ

การแข่งเรือยาวเป็นกีฬาทางน้ำสำหรับชุมชน ที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ทุกแห่ง มีการจัดกันอย่างแพร่หลายเกือบทุกจังหวัดที่มีลำน้ำใหญ่ ๆ ไหลผ่าน เนื่องมาจากสัญชาตญาณของมนุษย์ที่ชอบการแข่งขันเพราะทำให้มนุษย์มีความมานะ พยายาม อดทน และสมัครสมานสามัคคีกัน การแข่งเรือจึงเป็นทั้งกีฬาและประเพณีที่ผู้คนให้ความสนใจพากันเข้าชมอย่างแน่นขนัดทุกสนาม

สำหรับจังหวัดนครสวรรค์นั้น ประเพณีการแข่งเรือยาวเป็นกีฬาทางน้ำที่ชาวนครสวรรค์ให้ความนิยมมาแต่อดีต สนามแข่งดัง ๆ ที่ผู้คนให้ความสนใจเข้าชมกันอย่างมืดฟ้ามัวดินคือ สนามแข่งหน้าวัดเกาะหงส์ และวัดตะเคียนเลื่อน ซึ่งการแข่งขันแต่ละครั้งจะมีรถยนต์จากต่างจังหวัดแห่มาเที่ยวชมกันเป็นจำนวนมากจนทำให้รถติดยาวอยู่บนถนนนับสิบกิโลเมตร แต่จะเป็นเพราะขาดการสนับสนุนจากทางจังหวัดหรืออย่างไรไม่ทราบ ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดนครสวรรค์ที่เคยโด่งดังในอดีตก็ค่อย ๆ จางหายไปจากสายตาของประชาชน เหลือเพียงแต่ภาพเหตุการณ์เก่า ๆ ที่เก็บมาเล่าขานกันเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 ในยุคสมัยของ ร.ต.พูลศักดิ์ สัตยานุรักษ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานประเพณีแข่งขันเรือยาว จึงได้จับมือกับ นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.จังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยนั้น ตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันเรือยาวขึ้นที่ริมเขื่อนแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลากลางจังหวัด พร้อมทั้งนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานถ้วยราง วัล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นถ้วยรางวัลสำหรับผู้ชนะการแข่งเรือ

สำหรับในปี พ.ศ. 2551 จังหวัดนครสวรรค์ โดย นายวิบูลชัย เกิดเพิ่มพูน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้จัดประชุมเตรียมการจัดแข่งขันกีฬาเรือยาวขนาดฝีพายต่าง ๆ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นในระหว่างวันที่ 3-12 ตุลาคม 2551 ณ บริเวณน่านน้ำเจ้าพระยา หน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยการสนับสนุนจาก นายวีระกร คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในฐานะประธานอำนวยการจัดการแข่งขัน ซึ่งในปีนี้จะจัดพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ใน วันที่ 10 ตุลาคม 2551 เวลา 18.00 น. และแข่งขันในวันที่ 11-12 ตุลาคม 2551 ตั้ง แต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป โดย การแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.เรือยาวใหญ่ 55 ฝี พาย ประเภท ก ประเภท ข 2.เรือยาว กลาง 40 ฝีพาย ประเภท ก ประเภท ข 3.เรือยาวเล็ก 30 ฝีพาย ประ เภททั่วไป และภายในจังหวัด และ 4.เรือตะเฆ้ 7 ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ลงมติให้มีกติกาการแข่งขันเรือยาวใหม่ คือ ฝีพายจะลง แข่งขันได้แค่ลำเดียวห้ามลงพายหลายลำ และเรือที่จะลงแข่งขันในนามอำเภอ ตัวเรือต้องเป็นเรือในจังหวัดเท่านั้น

นายวีระกร คำประกอบ ประธานอำนวยการจัดการแข่งขัน กล่าวว่าการแข่งขันเรือยาวปีนี้จะคึกคักมากกว่าทุก ๆ ปี เพราะมีเรือชื่อดังระดับประเทศจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก อาทิ เทพนรสิงห์ 88 เจ้าแม่ธารทิพย์ สิงห์ประทุม พลายงาม ศรสุวรรณ ชาลาวัน เจ้าแม่ประดู่ทอง เพชรจำปาทอง นางพญาผาแดง เทพหทัยยุทธ อัครนาวา ฯลฯ โดยเรือที่เข้าแข่งขันทุกลำนี้มีศักดิ์ศรีต้องสู้กันสุดฝีมือ โอกาสพลิกความคาดหมาย มีได้เสมอ และนอกจากนี้ในวันเปิดงานผู้ที่เข้าชมการแข่งขัน จะเห็น เรือแข่งทุกลำตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยแถบผ้าดอกไม้แห้ง ดอก ไม้สด ธงทิวปลิวไสว ไม้พายของฝีพายหนุ่มฉกรรจ์จะระยิบระยับเมื่อกระทบแสงแดดสาว ๆ กองเชียร์พร้อมนักดนตรีแตรวงพื้นบ้านจะตั้งวงเชียร์เรือของหมู่บ้านคนที่เข้าแข่ง โดยเฉพาะสาว ๆ ชาวปากน้ำโพ ที่ชื่นชอบกีฬาแข่งขันเรือยาวจะพากันแต่งตัวด้วย เสื้อผ้าอาภรณ์สีฉูดฉาดสวยงามเพื่อไปเชียร์เรือ รับรองว่าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาวันนั้นจะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนมากมาย ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ซึ่งจะเป็นภาพชีวิตไทย ๆ ที่ตรึงตราตรึงใจทุกคนอีกครั้ง

นอกจากจะมีการแข่งเรือยาวแล้ว ยังมีการจัดบูธแสดงและจำหน่ายสินค้าภูมิปัญญาไทย OTOP พร้อมทั้งมหกรรมคอนเสิร์ตจากนักร้องชั้นแนวหน้าของเมืองไทย และตั้งสวนสนุกชุดใหญ่ใหม่เอี่ยมนำเข้าจากต่างประเทศ มาเอาใจเด็ก ๆ ไปจนถึงวันปิดงานอีกด้วย จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้ เคียงเข้าเที่ยวชมงาน และร่วมเชียร์เรือที่เข้าแข่งขันในครั้งนี้ เพื่อร่วมสืบสานประเพณีแข่งเรือยาวของไทยต่อไป.

นำเสนอโดย : นาย ศราวุธ นามขันธ์
รหัส : 51123407001

Ji Fan กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ToN กล่าวว่า...

ข่าว : หลากสีสันจิตรกรรม...สื่อผสม

ที่มา : www.dailynews.co.th

เนื้อหาข่าว : เก็บมาเล่ากลับมาบอกกล่าวเล่าความเคลื่อนไหวในแวดวงศิลปวัฒนธรรมอีกครั้ง สัปดาห์นี้เริ่มที่ จิตรกรรมแห่งชีวิต ผลงาน ภัทรุตม์ สายะเสวี ซึ่งสร้างสรรค์ภาพสีน้ำมันบนผ้าใบถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ ภาพคนที่ดูเป็นธรรมชาติมีสีสัน เปิดให้ชมวันนี้ต่อเนื่องถึง 18 พฤศจิกายน 2551 ในพื้นที่ศิลปะหอศิลป์ริมน่าน Daily Life in Korea นิทรรศการจิตรกรรม ประติมากรรมและสื่อผสม ผลงานศิลปินชาวเกาหลีที่ร่วมกันสร้างสรรค์ถ่ายทอดผลงานศิลปะร่วมสมัยหลากหลายมุมมองอันจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้เข้าใจในวัฒนธรรม เปิดให้ชมวันนี้ถึงสิ้นเดือนตุลาคม ที่ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชิงสะพานผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง

จากนิทรรศการศิลปะมาที่ สารคดีสยามศิลปิน เชิดชูเกียรติยกย่องศิลปิน ผู้สร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมของชาติเผยแพร่ชีวประวัติศิลปินให้ศึกษาชื่นชม โดยทุกวันอาทิตย์ช่วงเวลา 13.05 น. เป็นต้นไปทางไทยพีบีเอส ส่วนสัปดาห์นี้เสนอผลงานศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ ปิดท้ายที่ภาพผลงานจิตรกรรม Spirit of Nature ผลงาน พลุตม์ มารอด ที่ยังคงแสดงให้ชมต่อเนื่องถึง 13 ตุลาคม 2551 ที่หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งหลากภาพผลงานครั้งนี้ศิลปินถ่ายทอดประสบการณ์การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศผ่านผลงานจิตรกรรมเทคนิคสีน้ำและสื่อผสมแสดงความสุข ความสงบให้ชม....สัปดาห์หน้ากลับมาติดตามความเคลื่อนไหวในแวดวงศิลปวัฒนธรรมอีกครั้ง.

นำเสนอโดย : นายกฤตยศ ปี่บัว
รหัสนักศึกษา : 51123407029

nanniiez กล่าวว่า...

นางสาววรรณนิภา บุญอำนาจ
( 51123407033 )

หัวข้อข่าว : วธ.ยกครูเอื้อ สุนทรสนานบุคคลดีเด่น
เนื้อหา : วธ.ยกครูเอื้อ สุนทรสนานบุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล เตรียมเสนอต่อยูเนสโก ในวาระโอการสครบรอบ 100 ปี พร้อมเร่งศึกษาข้อดีเสียอนุสัญญายูเนสโก คุ้มครองลักลอบขบโบราณวัตถุออกนอกประเทศ
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 นายวีระ โรจพจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก ว่า วธ.ได้ให้การสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ที่ได้เสนอพระนาม พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท (ต้นราชสกุล สนิทวงศ์) เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลอง ในปี 2551-2552 ในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสำคัญ ที่มีพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองในด้านวรรณกรรม การศึกษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การแพทย์ และการสาธารณสุข และการให้คำปรึกษาราช การแผ่นดิน ในวาระครบรอบ 200 ปีวันประสูติ ในปี พ.ศ. 2551

ปลัดวธ. กล่าวอีกว่า ในส่วนของวธ. นั้นได้เตรียมเสนอนายเอื้อ สุนทรสนาน เป็นบุคคลดีเด่นสำคัญทางวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล อันเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ในวาระครบรอบ 100 ปีครูเอื้อ ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมีผลงานด้านแต่งเพลงไทยสากลนับไม่ถ้วนกว่า 1,000 เพลง เช่น เพลงวันลอยกระทง เพลงวันสงกรานต์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาอนุสัญญาของยูเนสโก ที่เสนอมาจำนวน 3 ฉบับ ประกอบ ด้วย 1. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใต้น้ำ 2.อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมหรือจับต้องไม่ได้ และ 3.อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลาก หลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ซึ่งที่ประชุมได้หารือร่วมกันว่าจะเข้าเป็นภาคีของยูเนสโก เพื่อลงสัตยาบันในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมหรือไม่ จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อดีและข้อเสียก่อน โดยจะทำการประชาวิจารณ์และเสวนารับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ ก่อนที่จะส่งให้กระทรวงการต่างประเทศนำไปประกอบพิจารณาก่อนตัดสินใจเข้าร่วมต่อไป

ข้อดีของการลงสัตยาบันนั้น จะช่วยคุ้มครองสมบัติของชาติ อย่างกรณีสมบัติที่อยู่ใต้ทะเล ซึ่งแต่ละประเทศมีเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่จะปกป้องน่านน้ำ เมื่อเรือสินค้าของประเทศนั้นจมลงในอีกประเทศหนึ่งที่ลงสัตยาบันร่วมกันจะได้รับการคุ้มครองสมบัติในเรือ ส่วนข้อเสียเปรียบบางประเทศที่ลงสัตยาบันร่วมกันอาจเรียกร้องมรดกศิลปวัตถุของตนคืน อย่างไรก็ดีมีประเทศที่ลงสัตยาบันร่วมกันว่า 60 ประเทศจากจำนวนสมาชิกยูเนสโกกว่า 160 ประเทศ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อมริกา ไม่เข้าร่วมลงสัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวด้วย ปลัดวธ. กล่าว

ข้อมูลจาก คม ชัด ลึก

nanniiez กล่าวว่า...

นางสาวกรณิกา ทับเปี่ยม
( 51123407032 )

หัวข้อข่าว : กระทรวงวัฒนธรรม เฉลิมฉลอง ๘๐ พรรษา จัดงาน "เทศกาลวัฒนธรรมเชื่อมสัมพันธ์ ๑๒๐ ปี ไทย-ญี่ปุ่น"

เนื้อหา : กระทรวงวัฒนธรรม จัดงานเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ประกอบกับเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลอง ๑๒๐ ปี ความสัมพันธ์การทูตไทย – ญี่ปุ่น และความสัมพันธ์ระหว่างสองราชวงศ์ ปิดพารากอนจัดงาน “เทศกาลวัฒนธรรมเชื่อมสัมพันธ์ 120 ปี ไทย-ญี่ปุ่น” ขึ้นในวันที่ 14-16 ธันวาคม 2550 มีการจัดนิทรรศการความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น การประชันดนตรีไทย-ญี่ปุ่น โดยวงขุนอิน และการแข่งขันกินข้าวปั้น/กินราเม็ง/กินขนมจีน และความบันเทิงอีกมากมาย

คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ประกอบกับเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลอง ๑๒๐ ปี ความสัมพันธ์การทูตไทย – ญี่ปุ่น กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดงาน “เทศกาลวัฒนธรรมเชื่อมสัมพันธ์ ๑๒๐ ปี ไทย-ญี่ปุ่น” ขึ้นในวันที่ ๑๔–๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ ณ บริเวณลานกิจกรรม ศูนย์การค้าพารากอน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างทั้งสองประเทศ และส่งเสริมการเรียนรู้และประสบการณ์ด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน

สำหรับงาน “เทศกาลวัฒนธรรมเชื่อมสัมพันธ์ ๑๒๐ ปี ไทย-ญี่ปุ่น” จะมีขึ้นทั้งหมด ๓ วัน โดยวันแรก วันที่ ๑๔ ธ.ค. ๕๐ เวลา ๑๗.๓๐ น. เป็นวันเปิดงานและพิธีเปิดด้วยความตื่นตา ตื่นใจ ยิ่งใหญ่อลังการด้วยการแสดงชุด “ผสมผสาน วัฒนธรรมสองแผ่นดิน” การแสดงรวมสุดยอดแห่งศิลปะ และวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ ที่มีความคล้ายคลึงกันเกือบทุกด้าน การแสดงเปิดด้วยกลองสะบัดชัย และกลองไทโกะ ตามด้วยการแสดงที่สื่อถึงวัฒนธรรมที่ทั้งสองประเทศ มีความเหมือนที่แตกต่าง คือ ธนูไทยและคูโดญี่ปุ่น การแสดงจะเปรียบเสมือนอาวุธที่สองประเทศใช้เหมือนกัน ในการต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราชในอดีต การร่ายรำพัดวิชนี

วันที่ ๑๕ ธ.ค. ๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ – ๒๐.๓๐ น. ชมการประชันดนตรี ระหว่างไทย และญี่ปุ่น ซึ่งขุนอินออกโรงเอง เป็นการประชันระหว่างกลองไทโกะของญี่ปุ่น และเครื่องดนตรีไทย และในวันที่ ๑๖ ธ.ค. ๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. มีการแสดงไฮไลท์ชุด “ถักสายรัก..ทอสายใย ไทย-ญี่ปุ่น” เน้นความสวยงามประกอบกับ Multimedia แสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ยาวนาน โดยการใช้สายผ้าสีสวย พริ้วไหวเป็นสัญลักษณ์

ทั้งนี้ในแต่ละวันจะมีการแสดงต่าง ๆ มากมาย อาทิ การแสดงโปงลางเด็ก, การแสดงมวยไทยไชยา การแสดงตลีราบานา การแสดงรำสี่ภาค, การแสดงหุ่นโจ-หลุยส์, การแสดงกลองไทโกะ, การแสดงโคไทโกะ การแสดงระบำพัดมินโย การแสดงหุ่นยนต์ชาย – หญิงจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกินข้าวปั้น/กินราเม็ง/กินขนมจีนอีกด้วย

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทั้ง 2 ประเทศนั้น ในช่วง ๑๒๐ ปี นับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต พระราชวงศ์ของทั้งสองประเทศทรงแลกเปลี่ยนการเสด็จฯ เยือนอย่างสม่ำเสมอ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จฯ เยือนประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ พ.ศ.๒๔๗๔ และ พ.ศ.๒๕๐๖ ตามลำดับ โดยรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ได้ทรงปลูกต้นสนไว้ที่วัดโคโตคุอิน คามาคุระ และในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงปลูกต้นสนอีกต้นหนึ่งที่วัดแห่งนี้ ขณะนี้จึงมีต้นสนที่พระราชวงศ์ของไทยทรงปลูกที่วัดโคโตคุอินถึง ๓ ต้น

พระราชวงศ์ญี่ปุ่นเสด็จเยือนไทยอย่างสม่ำเสมอ ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙ คนไทยได้ชื่นชมพระบารมีแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิและจักรพรรดินีในระหว่างเสด็จฯ ประเทศไทย เพื่อทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติ ๖๐ ปีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมาชิกในพระราชวงศ์ทรงเยือนกันอย่างต่อเนื่องในพระราชภารกิจทางด้านการวิจัยและการศึกษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายในสถาบันต่างๆ ของญี่ปุ่นบ่อยครั้ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ก็เช่นกัน และขณะนี้ทรงดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการของอธิการบดี (President's Council) ของมหาวิทยาลัยโตเกียว การวิจัยเรื่องปลาบึกของเจ้าชายอะคิชิโนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่วงการประมงน้ำจืดในไทย และในปีฉลอง ๑๒๐ ปีแห่งความสัมพันธ์ฯ จะทรงสรุปผลการวิจัยร่วมระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในเรื่องความสัมพันธ์หลากหลายระหว่างไก่และมนุษย์ ซึ่งทรงร่วมวิจัยกับนักวิจัยไทย ภายใต้พระราชูปถัมภ์แห่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

คุณหญิงไขศรี กล่าวต่อว่า จากความสัมพันธ์อันยาวนาน ที่แสดงให้เห็นถึงความกลมกลืนทางด้านวัฒนธรรมต่างๆ เหล่านี้ จึงได้จัดให้มีกิจกรรม “เทศกาลวัฒนธรรมเชื่อมสัมพันธ์ ๑๒๐ ปี ไทย-ญี่ปุ่น” ขึ้น เพื่อบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ของทรงจำที่ดี และแสดงถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ ให้คงอยู่ตลอดไป

nut กล่าวว่า...

นายณัฐวุฒิ แฝงคด
(51123407015)


ข่าว มรดกวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามคู่ชาติ

มรดกวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามคู่ชาติ
สงกรานต์ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่โบราณ เพิ่งมาเปลี่ยนตามแบบสากล มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่และวันที่ 13,14,15 เมษายน เป็นวันสงกรานต์นับเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่แบบไทยๆ
ในวันนี้ พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัว ไหว้ผู้ใหญ่ ปล่อยนก ปล่อยปลา และ มีการละเล่นต่างๆ ประการหลังปัจจุบัน มักจะเห็นการกระทำในต่างจังหวัดมากกว่า
วันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง
เริ่มจากตอนเช้า มีการยิงปืนขับไล่เสนียดจัญไร ให้ล่วงลับไปกับสังขานต์

แต่ละบ้านมีการทำความสะอาด ตลอดจนตามถนนและตรอกซอยเข้าบ้าน จากนั้นทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย สระเกล้าดำหัวให้สะอาดมีจิตใจผ่องใส หลังจากนั้นไปเที่ยวตามหมู่บ้าน หรือในปัจจุบันนิยมไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เรียกว่า ไปแอ่วปีใหม่ วันนี้มีการเล่นรดน้ำกันแล้ว
วันที่ 14 เมษายน วันเนา หรือวันเน่า
วัน ขนทรายหรือ วันเนาว์ วันปู๋ติ วันนี้จะทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นมงคล ไม่ด่าทอ หรือทะเลาะวิวาท ตอนเช้าไปจ่ายของและอาหาร เตรียมทำบุญถวายพระ ในวันรุ่งขึ้น วันเตรียมอาหารและเครื่องไทยทานเรียกว่าวันดา (คำวันสุกดิบทางภาคอื่น) และทุกบ้านจะทำกับข้าวที่สามารถเก็บไว้ได้หลายวัน เช่น แกงเส้นร้อน แกงอ่อม ฯลฯ หรือไม่ก็จำพวกห่อนึ่ง เช่น ห่อนึ่งไก่ ห่อนึ่งปลา ฯลฯ พร้อมทั้งตระเตรียมอาหารหวาน และเครื่องไทยทานไว้ให้พร้อม
ตอนบ่ายมีการขนทรายจากแม่น้ำ นำไปไว้ที่วัดใกล้บ้าน โดยก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ทรายจะถูกประดับตกแต่งด้วยตุง (ธง) ทำด้วยกระดาษสีตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม และรูปอื่นๆ ชายธงมีการทานช่อ (ทำด้วยกระดาษสีต่างๆ) ตัดเป็นลวดลายติดปลายไม้สำหรับปักที่กองเจดีย์ทรายการทานธงและทานช่อนี้ ด้วยถือคติว่า ผู้บริจาคทานเมื่อตายไปแล้วจะได้อาศัยชายธง หอบหิ้วไห้พ้นจากนรกได้
อานิสงส์การทานตุง หรือช่อนี้มีอยู่ในพระธรรมเทศนาใบลานตามวัดทั่วไป เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น มีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย ในวันเดียวกันนี้มีการเล่นน้ำกันอย่างหนัก และเป็นที่สนุกสนานโดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาว
ทุกๆ ปี เมื่อถึงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ชาวเหนือมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติ คือ สุมาคารวะลูกหลานจะมาขอขมาลาโทษในความผิดต่างๆ ที่เคยกระทำมาต่อญาติผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อย อันมีต่อผู้ใหญ่ เรียกกันว่า การไปดำหัว หรือประเพณีดำหัว การไปดำหัวของคนไทยภาคเหนือ มักจะเริ่มกันใน วันพญาวัน (คือวันเถลิงศก)

วันที่ 15 เมษายน วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก
ตอนเช้า จัดเตรียมอาหารคาวหวานใส่สำรับไปถวายพระที่วัด และทำบุญตักบาตรและนำไปให้ผู้เฒ่า ผู้แก่ ครูอาจารย์ หรือบุคคลที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่าไปทานขันข้าว (ตานขันข้าว) การทานขันข้าวนี้ นอกจากจะทานให้พระ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือดังกล่าวแล้วก็มีการถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลถึงญาติพี่น้อง บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว โดยพระที่วัดจะแยกย้ายกันนั่งประจำที่บริเวณวัดเพื่อให้ศีลให้พร แก่ผู้ไปทานขันข้าว
เสร็จจากการทำบุญตักบาตร ก็มีการถวายทานเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา มีการสรงน้ำพระพุทธเจดีย์ มีการค้ำต้นโพธิ์ภายในวัดและหมู่บ้าน มีการสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เช่น เชียงใหม่ก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป เสตังคมณี (พระแก้วขาว) วัดเชียงมั่น พระเจ้าทองทิพย์ และ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง
ส่วนตามจังหวัดต่างๆ ก็จะมีการไปสักการะบูชาพระพุทธรูปสำคัญประจำบ้านเมืองตนเช่นเดียวกัน เช่น ลำปาง ก็ไปสรงน้ำพระแก้วมรกตที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองน่านที่วัดพระธาตุแช่แห้ง และที่แพร่ก็ไปสรงน้ำ ที่พระธาตุช่อแฮเป็นต้น
ตอนบ่าย ก็จะเริ่มการดำหัว และจะทำเรื่อยไปจนถึงวันรุ่งขึ้น หรือวันปากปี วันที่สี่ เป็นวันปากปี มีการดำหัวตามวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงและห่างไกล ซึ่งมีพระในวัดและในหมู่บ้านนั้นนำไป การไปดำหัวตามวัดนี้มักจะแบ่งแยกกันเป็นสายๆ เพราะบางวัดที่อยู่ห่างไกลก็ไม่ได้ไปกันอย่างทั่วถึงนอกจากวัดที่คนนิยมไปกันอย่างสม่ำเสมอ เรียกตามภาษาเมืองว่า ไปเติงกั๋นหรือไปวัดของเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด หรือพระเถระผู้ใหญ่
ความสำคัญของวันสงกรานต์
• 1. บอกให้เรารู้วันเดือนปีใหม่ อันเป็นเครื่องเตือนใจบอก ให้รู้ถึงอายุขัยของเราล่วงมาแล้วเท่าไร
• 2. เตือนให้ชำระล้างตัวและจิตใจให้สะอาด ทำการงานให้เสร็จลงไปในขวบปีหนึ่งแล้ว ได้เตรียมตัวทำต่อไป ได้โอกาสแก้ไข ปรับปรุงการงาน ได้แสดงความเคารพบูชาต่อพระพุทธศาสนา ได้แสดงความเคารพผู้หลัก-ผู้ใหญ่เพื่อสนองอุปการคุณของท่าน
• 3. เป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามไว้คู่ชาติ